บาลีวันละคำ

เมตตา (บาลีวันละคำ 981)

เมตตา

หนึ่งในพรหมวิหารธรรม

อ่านว่า เมด-ตา

เขียนแบบบาลีเป็น “เมตฺตา” มีจดใต้ ตฺ ตัวแรก

เขียนแบบบาลีถ้าไม่มีจุด = “เมตตา” ต้องอ่านว่า เม-ตะ-ตา ซึ่งไม่ใช่คำนี้

เมตฺตา” รากศัพท์มาจาก –

(1) มิทฺ (ธาตุ = รักใคร่) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ มิ– เป็น เอ, ลบ ซ้อน + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: มิทฺ > เมท > เม + = เมต + = เมตฺต + อา = เมตฺตา แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่รักใคร่

(2) มิตฺต (มิตร, เพื่อน) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ มิ– เป็น เอ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: มิตฺต > เมตฺต + = เมตฺต + อา = เมตฺตา แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่มีอยู่ในมิตร” หรือ “ธรรมชาติของมิตร

แล้ว มิตฺต = มิตร, เพื่อน รากศัพท์มาอย่างไร ?

(๑) มิทฺ (ธาตุ = รักใคร่, ผูก) + ปัจจัย (ตามสูตรบาลีไวยากรณ์ต้องพูดต่อไปว่า “ลบสระที่สุดธาตุ”), แปลง ทฺ (ที่ มิทฺ) เป็น ตฺ

: มิทฺ > มิต + = มิตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ผู้รักใคร่กัน

(2) “ผู้ผูกคนอื่นไว้ในตน” (รักชอบคนไหน ก็เอาคนนั้นมาผูกไว้ในตน)

(๒) มิ (ธาตุ = ใส่เข้า) + ปัจจัย, ซ้อน

: มิ + = มิต + = มิตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ผู้ใส่เข้าข้างใน” (คือเก็บความลับของเพื่อนไว้ได้-เป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของมิตรแท้)

(2) “ผู้อันเพื่อนใส่เข้าไปในความลับทุกอย่าง” (หมายถึงคนที่เพื่อนบอกความลับให้รู้ และเก็บความลับของเพื่อนไว้ได้)

เมตฺตา” (“ธรรมชาติที่รักใคร่” “ธรรมชาติที่มีอยู่ในมิตร” หรือ “ธรรมชาติของมิตร”) หมายถึง ความรัก, ความเป็นเพื่อน, ความเห็นอกเห็นใจกัน, ความเป็นมิตร, การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้อื่น (love, amity, sympathy, friendliness, active interest in others)

เมตตา” เป็นธรรมข้อที่ 1 ในพรหมวิหาร 4

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

(1) เมตตา : ความรัก, ความปรารถนาให้เขามีความสุข, แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า

(2) แผ่เมตตา : ตั้งจิตปรารถนาดีขอให้ผู้อื่นมีความสุข;

คำแผ่เมตตาที่ใช้เป็นหลักว่า

“สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ”

แปลว่า “ขอสัตว์ทั้งหลาย, (ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน) หมดทั้งสิ้น,

(จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด), อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย,

(จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด), อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย,

(จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด), อย่าได้มีทุกข์กายทุกข์ใจเลย, จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตน (ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น) เถิด.”

[ข้อความในวงเล็บเป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาในคำแปลเป็นไทย]

ผู้เจริญเมตตาธรรมอยู่เสมอ จนจิตมั่นในเมตตา มีเมตตาเป็นคุณสมบัติประจำใจ จะได้รับอานิสงส์ คือผลดี 11 ประการ คือ –

(1) หลับก็เป็นสุข

(2) ตื่นก็เป็นสุข

(3) ไม่ฝันร้าย

(4) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

(5) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย

(6) เทวดาย่อมรักษา

(7) ไม่ต้องภัยจากไฟ ยาพิษ หรือศัสตราอาวุธ

(8) จิตเป็นสมาธิง่าย

(9) สีหน้าผ่องใส

(10) เมื่อจะตาย ใจก็สงบ ไม่หลงใหลไร้สติ

(11) ถ้ายังไม่บรรลุคุณพิเศษที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

(ดูเพิ่มเติม : “พรหมวิหาร” บาลีวันละคำ (980) 23-1-58)

———-

ข้อควรเข้าใจ :

(๑) “เมตตา” เป็นคุณธรรมที่สำเร็จได้ด้วยใจ หรือวัดกันที่ใจ

แม้ปากจะกล่าวคำแผ่เมตตา ถ้าใจไม่มีเมตตาจริง ก็ไม่สำเร็จเป็นเมตตา

แต่ถ้าใจมีเมตตาจริง แม้ไม่ได้กล่าวอะไรเลยก็สำเร็จเป็นเมตตาได้

(๒) วิธีฝึกให้ใจมีเมตตาจริงทางหนึ่งก็คือ เมื่อเห็นสัตว์บุคคลใดๆ ก็ตามให้ตั้งความรู้สึกว่า “นี่คือเพื่อนรักที่สุดของเรา” แล้วปฏิบัติต่อสัตว์บุคคลนั้นๆ ในฐานเป็นเพื่อนรักที่สุด – ถ้าทำได้ นั่นแหละคือ “เมตตา”

: เมตตาต่อมิตร เป็นครู

: เมตตาต่อศัตรู เป็นปรมาจารย์

—————–

(Jasmiine Montra รบกวนขอความรู้มา “เมตตา” ตอบไป)

#บาลีวันละคำ (981)

24-1-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *