บาลีวันละคำ

ยกนํ (บาลีวันละคำ 2024)

ยกนํ = ตับ

ลำดับ 12 ในอาการสามสิบสอง

อ่านว่า ยะ-กะ-นัง

ยกนํ” รูปคำเดิมเป็น “ยกน” (ยะ-กะ-นะ) รากศัพท์ (คัมภีร์โถมนิธิ, คัมภีร์โกตฺถุภ ฉบับพม่า อ้างมาจากคัมภีร์สันสกฤต) มาจาก (แทนศัพท์ “สํยม” = ระวัง สำรวม) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (กรฺ > )

: + กรฺ = ยกรฺ + ยุ > อน = ยกรน > ยกน (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่กระทำการควบคุม” หมายถึง ตับ (the liver)

ยกน” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “ยกนํ

ยกนํ” หรือ “ยกน” ในภาษาไทยใช้เป็น “ยกนะ” (ยะ-กะ-นะ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

ยกนะ : (คำนาม) ตับ. (ป.; ส. ยกนฺ, ยกฺฤต).”

…………..

ขยายความ :

คัมภีร์วิสุทธิมรรคบรรยายลักษณะของ “ยกนํตับ” ไว้ดังนี้ –

ยกนนฺติ  ยมกมํสปฏลํ.

คำว่า ยกนํตับ ได้แก่แผ่นเนื้อสองแฉก

ตํ  วณฺณโต  รตฺตํ  ปณฺฑุกธาตุกํ  นาติรตฺตํ  กุมุทสฺส  ปตฺตปิฏฺฐิวณฺณํ.

ตับนั้นสีแดงอมเหลือง จึงไม่แดงจัด คือคล้ายกับสีด้านหลังของกลีบบัวแดง

สณฺฐานโต  มูเล  เอกํ  อคฺเค  ยมกํ  โกวิฬารปตฺตสณฺฐานํ.

ลักษณะของตับ ที่โคนเป็นแผ่นเดียว ที่ปลายเป็นสองแฉก รูปร่างคล้ายใบทองหลาง

ตญฺจ  ทนฺธานํ  เอกเมว  โหติ  มหนฺตํ.

ตับของคนหัวทึบ เป็นแผ่นโตชิ้นเดียว

ปญฺญวนฺตานํ  เทฺว  วา  ตีณิ  วา  ขุทฺทกานิ.

ตับของคนหัวไว เป็นแผ่นย่อมๆ 2 หรือ 3 ชิ้นก็มี

โอกาสโต  ทฺวินฺนํ  ถนานํ  อพฺภนฺตเร  ทกฺขิณปสฺสํ  นิสฺสาย  ฐิตํ.

ตับนั้นตั้งอยู่หว่างนมทั้งสองค่อนไปทางขวา

(คัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค 2 อนุสสติกัมมัฏฐานนิทเทส หน้า 38-39)

……….

ในบทสวด “พระอาการสามสิบสอง” กล่าวถึง “ยกนํ” ไว้ดังนี้ –

๏ ยะกะนังคือตับ………ที่จะรองรับ……….อยู่กับหัวใจ

ตับนั้นแขวนห้อย………ย้อยอยู่ภายใน…..รับรองหฤทัย

ไม่เป็นแก่นสาร๚ะ๛

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สุราที่ทำให้ตับแข็ง ทำให้ตายได้หนึ่งชาติ

: แต่สุราที่ทำให้สติวิปลาส ทำให้ตกนรกเป็นอเนกอนันตัง

—————-

(ตามคำอาราธนาของคุณครูอนันต์ นาควิจิตร)

ภาพประกอบ: จาก google

ขอบคุณท่านอาจารย์ Sompob Sanguanpanich และท่านอาจารย์ หนุ่มสุรินทร์ ธรรมะไม่มีวันตาย ที่กรุณาช่วยสืบค้นที่มาของรากศัพท์

ควรตามไปดูคำว่า “อาการ 32” ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ด้วย:

#บาลีวันละคำ (2,024)

27-12-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย