บาลีวันละคำ

ขัยวัย (บาลีวันละคำ 2028)

ขัยวัย

รู้จักหรือไม่รู้จัก มันก็พรากเอาไป

อ่านว่า ไข-ไว

ประกอบด้วยคำว่า ขัย + วัย

(๑) “ขัย

บาลีเป็น “ขย” (ขะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก ขี (ธาตุ = เสื่อม, สิ้น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อี ที่ ขี เป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย (ขี > เข > ขย)

: ขี + = ขีณ > ขี > เข > ขย (ปุงลิงค์) (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่สิ้นไป” หมายถึง ความสูญเสียหรือหมดสิ้นไป, ความเสื่อมหรือทรุดโทรมลง, ความหมดไป; การกินกร่อน, ความเสื่อมลง, ความสูญไป (waste, destruction, consumption; decay, ruin, loss)

บาลี “ขย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ขัย” (ไข)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า

ขัย : (คำนาม) ความสิ้นไป, เขตอายุของคนที่นิยมกันว่าสูงสุด เรียกว่า อายุขัย. (ป. ขย; ส. กฺษย).”

(๒) “วัย

บาลีเป็น “วย” (วะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก วยฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย

: วยฺ + = วย (ปุงลิงค์) (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ถึงความเสื่อมไป” หมายถึง อายุ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัยรุ่น, วัยฉกรรจ์, วัยหนุ่ม (age, especially young age, prime, youth)

บาลี “วย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วัย” (ไว)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า

วัย, วัย– : (คำนาม) เขตอายุ, ระยะของอายุ, เช่น วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยชรา. (ป., ส. วย).”

ในทางธรรม แบ่ง “วัย” ออกเป็น 3 ช่วง คือ –

(1) ปฐมวัย = วัยแรก (youth)

(2) มัชฌิมวัย = วัยกลาง (middle age)

(3) ปัจฉิมวัย = วัยหลังหรือวัยท้าย (old age)

ขย + วย = ขยวย > ขัยวัย แปลว่า “ความสิ้นไปและความเสื่อมไป

ขยายความ :

คำว่า “ขย” (ขัย) กับ “วย” (วัย) โดยหลักภาษาในภาษาบาลี มีสถานะเท่ากันเหมือนกัน แต่ในภาษาไทย คำว่า “ขัย” ไม่ค่อยพบที่ใช้เดี่ยวๆ เหมือน “วัย” กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในภาษาไทยเราคุ้นกับคำว่า “วัย” มากกว่า “ขัย

ในภาษาไทยคำว่า “ขัย” ที่พอจะคุ้นตาก็มีคำว่า “อายุขัย” (เขตอายุของคนที่นิยมกันว่าสูงสุด)

แต่ในภาษาบาลี คำว่า “ขยวย” (ขะ-ยะ-วะ-ยะ) หรือ “ขัยวัย” แปลว่า “ความสิ้นไปและความเสื่อมไป” พบว่ามีใช้ทั่วไป และมักเป็นบทสมาสควบกับ “-ธมฺม” เป็น “ขยวยธมฺมา” หรือ “ขยวยธมฺมิโน” ใช้เป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า “สิ่งที่มีความสิ้นไปและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา” เช่น –

ขยวยธมฺมา สงฺขารา” = สังขารทั้งหลายมีความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา

คำว่า “ขัยวัย” ในภาษาไทยใช้ในเทศนาโวหาร เมื่อพูดถึงชีวิตที่ร่วงโรยเสื่อมโทรมลงไปตามกาลเวลา เช่น –

… คืนวันล่วงไปมิได้ล่วงไปเปล่า หากแต่พาเอาขัยวัยแห่งชีวิตให้ล่วงลับไปด้วย …

… อย่าปล่อยให้ขัยวัยล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ …

… ชีวิตที่ล่วงขัยวัยไปแล้วจะทำให้หวนคืนหลังดังเดิมนั้นหาได้ไม่ …

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทำมาหากิน ให้นึกว่าจะอยู่ไปร้อยปี

: สร้างคุณงามความดี ให้นึกว่าจะตายวันตายพรุ่ง

#บาลีวันละคำ (2,028)

31-12-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย