บาลีวันละคำ

พระคาถาสรรเสริญพระคุณแม่ [1] (บาลีวันละคำ 2406)

พระคาถาสรรเสริญพระคุณแม่ [1]

หนังสือเล่มหนึ่งมีข้อความที่เรียกว่า “พระคาถาสรรเสริญพระคุณแม่” ตอนหนึ่งว่าดังนี้ (ดูภาพประกอบ) –

…………..

สุหทา มาตา มารดาเป็นผู้ใจดี

ชนยะนุตี มาตา มารดาเป็นผู้ให้เกิด

โมเสนุตี มาตา มารดาเป็นผู้เลี้ยงดู

โตเมนุตี มาตา มารดาเป็นผู้คุ้มครองรักษา

วิญญนุตี มาตา มารดาเป็นผู้ห่วงใยเดือดร้อน

…………..

คำบาลีใน “พระคาถาสรรเสริญพระคุณแม่” เป็นคำที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก คือ โสณนันทชาดก สัตตตินิบาต พระไตรปิฎกเล่ม 28 ข้อ 162 (ดูภาพประกอบ)

เมื่อเปรียบกันแล้วจะเห็นว่า คำบาลีใน “พระคาถาสรรเสริญพระคุณแม่” พิมพ์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนหลายคำ ขอนำมาอธิบายเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้ –

(๑) “ชนยะนุตี” … มารดาเป็นผู้ให้เกิด

คำที่ถูกต้องคือ “ชนยนฺตี” (มีในภาพ) อ่านว่า ชะ-นะ-ยัน-ตี แปลว่า “ผู้ยังบุตรให้เกิด

(๒) “โมเสนุตี” … มารดาเป็นผู้เลี้ยงดู

คำที่ถูกต้องคือ “โปเสนฺดี” (มีในภาพ) อ่านว่า โป-เสน-ตี แปลว่า “ผู้เลี้ยงดู

(๓) “โตเมนุตี” … มารดาเป็นผู้คุ้มครองรักษา

คำที่ถูกต้องคือ “โคเปนฺตี” (ไม่มีในภาพ) อ่านว่า โค-เปน-ตี แปลว่า “ผู้คุ้มครอง

(๔) “วิญญนุตี” … มารดาเป็นผู้ห่วงใยเดือดร้อน

คำที่ถูกต้องคือ “วิหญฺญติ” (มีในภาพ) อ่านว่า วิ-หัน-ยะ-ติ  แปลว่า “ย่อมเดือดร้อน

ขยายความว่า เมื่ออบรมสั่งสอนลูก แม่ย่อมห่วงใยเพราะเกรงลูกจะไม่รู้ไม่เข้าใจ กับอีกประการหนึ่ง ถ้าลูกประพฤติตัวเหลวไหลทำสิ่งที่เสื่อมเสีย แม่ย่อมจะเดือดร้อนใจ

…………..

คำที่ไม่มีในหนังสือ แต่มีในพระไตรปิฎก คือ “โตเสนฺตี” อ่านว่า โต-เสน-ตี

คำในหนังสือที่ใกล้เคียงคือ “โตเมนุตี” (โตเสนฺตี – โตเมนุตี)

แต่คำว่า “โตเมนุตี” ในหนังสือแปลว่า “มารดาเป็นผู้คุ้มครองรักษา” ถ้าแปลว่า “… ผู้คุ้มครองรักษา” คำบาลีจะต้องเป็น “โคเปนฺตี” ไม่ใช่ “โตเมนุตี”

ข้อนี้อาจอธิบายได้ว่า เกิดจากความคล้ายกันของตัวอักษร คือ

ควาย กับ เต่า คล้ายกัน ในอักษรขอม กับ แทบแยกความแตกต่างไม่ออก ในแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ อักษร 2 ตัวนี้อยู่ติดกันซึ่งมีโอกาสที่จะกดแป้นผิดได้ง่ายมาก

ปลา กับ ม้า คล้ายกัน โดยเฉพาะในอักษรขอม กับ โครงรูปเหมือนกันทุกอย่าง ต่างกันตรงขีดไส้กลาง (โปรดนึกเทียบเหมือน ใบไม้ กับ ฤๅษี ของเรา)

คำว่า “โตเสนฺตี” แปลว่า “ผู้ปลอบโยน” มีคำขยายความในพระไตรปิฎกว่า “โรทนฺตํ ปุตฺตํ โตเสติ โตเสนฺตี เตน วุจฺจติ.” (ดูภาพประกอบ) แปลว่า “เมื่อบุตรร้องไห้ มารดาย่อมปลอบโยน เหตุนั้นจึงเรียกว่า โตเสนฺตีผู้ปลอบโยน

ข้อสังเกต :

ขอให้สังเกตว่า คำบาลีที่ลงท้าย “–นฺตี” (มีจุดใต้ ) ซึ่งเป็นคำที่ถูกต้อง ในหนังสือจะสะกดเป็น –นุตี คือใต้ เป็น สระ อุ ไม่ใช่จุด เช่น “ชนยนฺตี” (คำที่ถูกต้อง) อ่านว่า ชะ-นะ-ยัน-ตี แต่สะกดผิดเป็น “ชนยะนุตี” ซึ่งจะต้องมีคนอ่านว่า ชนะ-ยะ-นุ-ตี หรือไม่ก็ ชน-ยะ-นุ-ตี กลายเป็นภาษาอะไรก็ไม่ทราบได้ แต่ก็จะต้องมีคนเข้าใจว่านี่แหละคือภาษาบาลี

ทั้งนี้น่าจะเกิดจากผู้คัดลอกต้นฉบับไม่เข้าใจวิธีเขียนคำบาลี คือไม่รู้ว่าจุดใต้ตัวอักษรทำหน้าที่อะไร และอาจประกอบกับเข้าใจไปว่า จุดนั่นคือสระ อุ จึงคัดลอกออกมาตามความเข้าใจผิด เป็นเหตุให้เกิดคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนดังที่ปรากฏ

คาถาอาคมที่มีถ้อยคำแปลกๆ แผลงๆ ก็เกิดมาจากสาเหตุเช่นนี้ คืออ่านผิด คัดลอกผิด แล้วก็เผยแพร่ออกไปแบบผิดๆ

ลองนึกดูว่า เมื่อหนังสือเผยแพร่ออกไป ผู้สนใจอ่านก็จะอ่านตามไปแบบผิดๆ ถ้าสนใจที่จะท่องจำเอาไว้สวดท่อง ก็จะท่องจำคำที่ผิดติดตัวตลอดไป จะเกิดโทษสักเพียงไร

ยิ่งถ้าภาษาบาลีนั้นเป็นข้อความแสดงหลักคำสอน แล้วมีถ้อยคำที่วิปลาสคลาดเคลื่อนเช่นนี้ ลองตรองดูเถิดว่าความหมายของคำสอนจะผิดเพี้ยนไปเช่นไร และจะเกิดโทษต่อพระศาสนาสักเพียงไร

ในเมืองไทย เราภูมิใจกันว่าการศึกษาบาลีเจริญรุ่งเรือง ผู้เรียนบาลี-จบบาลีมีเป็นจำนวนมาก แต่น่าเสียดายที่จะหาผู้ที่เจ็บร้อนเกี่ยวกับความวิปลาสของภาษาบาลีแทบจะไม่ได้เลย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เรียนบาลี แต่ไม่ช่วยกันชี้ถูกผิด

: ก็เหมือนเรียนหมอแต่ไม่คิด-ที่จะรักษาพยาบาล

#บาลีวันละคำ (2,406)

13-1-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *