บาลีวันละคำ

บรรพชิต (บาลีวันละคำ 2,174)

บรรพชิต

อ่านว่า บัน-พะ-ชิด

บาลีเป็น “ปพฺพชิต” อ่านว่า ปับ-พะ-ชิ-ตะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปพฺพชฺชา (การออกบวช) + อิต ปัจจัย, ลบสระหน้า คือ อา ที่ ปพฺพชฺชา และลบ (ปพฺพชฺชา > ปพฺพชฺช > ปพฺพช)

: ปพฺพชฺชา > ปพฺพชฺช + อิต = ปพฺพชฺชิต > ปพฺพชิต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีบรรพชาเกิดขึ้นแล้ว

หมายเหตุ : คำว่า “ปพฺพชฺชา”หรือ “บรรพชา” แปลตามศัพท์ว่า “เว้นทั่ว” หมายถึง การออกบรรพชา, การถือเพศเป็นนักพรต, การถือเพศเป็นภิกษุ, การทรงเพศสมณะ, การออกบวช (ฝรั่งแปลว่า leaving the world, adopting the ascetic life; state of being a Buddhist friar, taking the (yellow) robe, ordination)

(2) (แทนศัพท์ “ปสฏฺฐ” = ประเสริฐ) + วชฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ลง อิ อาคมหน้าปัจจัย, ซ้อน วฺ หน้าธาตุแล้วแปลง วฺว เป็น พฺพ (วช > ววชฺ > พพช)

: + + วชฺ > ปววชฺ> ปพฺพช + อิ + = ปพฺพชิต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไปสู่ความเป็นผู้ประเสริฐที่สุด

ปพฺพชิต” หมายถึง ผู้ออกบวช, บรรพชิต, ผู้บวชเป็นพระหรือเป็นฤๅษีหรือนักพรต (one who has gone out from home, one who has given up worldly life & undertaken the life of a bhikkhu recluse or ascetic)

ปพฺพชิต” ในบาลีใช้เป็นคำคุณศัพท์และเป็นคำกริยาได้ด้วย

บาลี “ปพฺพชิต” ภาษาไทยใช้เป็น “บรรพชิต

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรรพชิต : (คำนาม) นักบวชในพระพุทธศาสนา. (ป. ปพฺพชิต; ส. ปฺรวฺรชิต).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความไว้ว่า –

บรรพชิต : ผู้บวช, นักบวช เช่น ภิกษุ สมณะ ดาบส ฤษี เป็นต้น แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ภิกษุและสามเณร (และภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี) มักใช้คู่กับ คฤหัสถ์ (ในภาษาไทยปัจจุบันให้ใช้หมายเฉพาะนักบวชในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในฝ่ายเถรวาท หรือฝ่ายมหายาน).”

…………..

เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วและทรงแสดงธรรมประกาศพระศาสนา มีผู้ที่ฟังธรรมแล้วมีศรัทธาเลื่อมใสสละบ้านเรือนออกบวชเป็น “บรรพชิต” ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ผู้นับถือพระพุทธศาสนาจึงมี 2 กลุ่มใหญ่ คือ

(1) ผู้ยังครองเรือน เรียกว่า “คฤหัสถ์

(2) ผู้สละบ้านเรือนออกบวช เรียกว่า “บรรพชิต

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ยอดบรรพชิต คือผู้สละชีวิตเพื่อพระศาสนา

: ยอดคนมิจฉา คือผู้สละพระศาสนาเพื่อชีวิต

#บาลีวันละคำ (2,174)

26-5-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *