บาลีวันละคำ

ทวารบาล (บาลีวันละคำ 2,176)

ทวารบาล

อย่าอ่านแบบรักง่าย

อ่านว่า ทะ-วา-ระ-บาน

ประกอบด้วยคำว่า ทวาร + บาล

(๑) “ทวาร

บาลีเป็น “ทฺวาร” (มีจุดใต้ ทฺ) อ่านว่า ทัว-อา-ระ (เสียง ทัว- รวบกับ อา-) รากศัพท์มาจาก –

(1) ทฺวิ (สอง) + อรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ อิ ที่ (ทฺ)-วิ แล้วทีฆะ อะ ที่ เป็น อา (ทฺวิ > ทฺว > ทฺวา)

: ทฺวิ + อรฺ = ทฺวิร + = ทฺวิร > ทฺวร > ทฺวาร แปลตามศัพท์ว่า (1) “ช่องเป็นที่คนสองคนเข้าออก” (คือเข้าคนออกคน) (2) “ช่องเป็นที่เป็นไปแห่งบานสองบาน

(2) ทฺวิ (สอง) + อรฺ ปัจจัย ลบ อิ ที่ (ทฺ)-วิ แล้วทีฆะ อะ ที่ เป็น อา (ทฺวิ > ทฺว > ทฺวา)

: ทฺวิ + อรฺ = ทฺวิร > ทฺวร > ทฺวาร แปลตามศัพท์ว่า “ช่องเป็นที่มีกิจสองอย่าง” (คือเข้าและออก)

(3) ทฺวรฺ (ธาตุ = ระวังรักษา) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ (ทฺ)--(ร) เป็น อา (ทฺวรฺ > ทฺวาร)

: ทฺวรฺ + = ทฺวรณ > ทฺวร > ทฺวาร แปลตามศัพท์ว่า “ช่องเป็นเครื่องระวังรักษา

ทฺวาร” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ประตูนอก, ทวาร, ประตู, ทางเข้าออก (an outer door, a gate, entrance)

(2) ทวาร = ทางเข้าและทางออกของจิตใจ, กล่าวคือ อายตนะ (the doors = inlets & outlets of the mind, viz. the sense organs)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

ทวาร, ทวาร– : (คำนาม) ประตู เช่น นายทวาร; ช่อง ในคํา เช่น ทวารหนัก ทวารเบา ใช้เป็นคําสุภาพ หมายถึง รูขี้ รูเยี่ยว, ทาง เช่น กายทวาร. (ป., ส.).”

(๒) “บาล

บาลีเป็น “ปาล” (ปา-ละ) รากศัพท์มาจาก ปาลฺ (ธาตุ = ดูแล, รักษา) + ปัจจัย

: ปาลฺ + = ปาล แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดูแล” หมายถึง ยาม, ผู้รักษา, ผู้คุ้มครอง, ผู้ป้องกัน (a guard, keeper, guardian, protector)

ปาล” ใช้ในภาษาไทยว่า “บาล” (บาน)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บาล : (คำกริยา) เลี้ยง, รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง, เช่น บาลเมือง, โดยมากใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น โลกบาล รัฐบาล นครบาล โคบาล นิรยบาล. (ป., ส. ปาล).”

ทฺวาร + ปาล = ทฺวารปาล (ทัว-อา-ระ-ปา-ละ) แปลว่า “ผู้รักษาประตู” หมายถึง คนรักษาประตู, คนเฝ้าประตู (gatekeeper, janitor)

บาลี “ทฺวารปาล” ภาษาไทยใช้ทับศัพท์เป็น “ทวารบาล” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทวารบาล : (คำนาม) ผู้เฝ้าประตู, นายประตู. (ป.).”

ทวารบาล” ภาษาไทยอ่านว่า ทะ-วา-ระ-บาน

ไม่ใช่ ทะ-วาน-บาน

…………..

ดูก่อนภราดา!

ใจเหมือนประเทศ

กิเลสเหมือนโจร

: มหาโจรเต็มประเทศ

: ถ้าใช้ให้กิเลสเฝ้าประตู

————-

ภาพประกอบ: จาก google

#บาลีวันละคำ (2,176)

28-5-61

ทวารบาล

อย่าอ่านแบบรักง่าย

อ่านว่า ทะ-วา-ระ-บาน

ประกอบด้วยคำว่า ทวาร + บาล

(๑) “ทวาร

บาลีเป็น “ทฺวาร” (มีจุดใต้ ทฺ) อ่านว่า ทัว-อา-ระ (เสียง ทัว- รวบกับ อา-) รากศัพท์มาจาก –

(1) ทฺวิ (สอง) + อรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ อิ ที่ (ทฺ)-วิ แล้วทีฆะ อะ ที่ เป็น อา (ทฺวิ > ทฺว > ทฺวา)

: ทฺวิ + อรฺ = ทฺวิร + = ทฺวิร > ทฺวร > ทฺวาร แปลตามศัพท์ว่า (1) “ช่องเป็นที่คนสองคนเข้าออก” (คือเข้าคนออกคน) (2) “ช่องเป็นที่เป็นไปแห่งบานสองบาน

(2) ทฺวิ (สอง) + อรฺ ปัจจัย ลบ อิ ที่ (ทฺ)-วิ แล้วทีฆะ อะ ที่ เป็น อา (ทฺวิ > ทฺว > ทฺวา)

: ทฺวิ + อรฺ = ทฺวิร > ทฺวร > ทฺวาร แปลตามศัพท์ว่า “ช่องเป็นที่มีกิจสองอย่าง” (คือเข้าและออก)

(3) ทฺวรฺ (ธาตุ = ระวังรักษา) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ (ทฺ)--(ร) เป็น อา (ทฺวรฺ > ทฺวาร)

: ทฺวรฺ + = ทฺวรณ > ทฺวร > ทฺวาร แปลตามศัพท์ว่า “ช่องเป็นเครื่องระวังรักษา

ทฺวาร” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ประตูนอก, ทวาร, ประตู, ทางเข้าออก (an outer door, a gate, entrance)

(2) ทวาร = ทางเข้าและทางออกของจิตใจ, กล่าวคือ อายตนะ (the doors = inlets & outlets of the mind, viz. the sense organs)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

ทวาร, ทวาร– : (คำนาม) ประตู เช่น นายทวาร; ช่อง ในคํา เช่น ทวารหนัก ทวารเบา ใช้เป็นคําสุภาพ หมายถึง รูขี้ รูเยี่ยว, ทาง เช่น กายทวาร. (ป., ส.).”

(๒) “บาล

บาลีเป็น “ปาล” (ปา-ละ) รากศัพท์มาจาก ปาลฺ (ธาตุ = ดูแล, รักษา) + ปัจจัย

: ปาลฺ + = ปาล แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดูแล” หมายถึง ยาม, ผู้รักษา, ผู้คุ้มครอง, ผู้ป้องกัน (a guard, keeper, guardian, protector)

ปาล” ใช้ในภาษาไทยว่า “บาล” (บาน)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บาล : (คำกริยา) เลี้ยง, รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง, เช่น บาลเมือง, โดยมากใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น โลกบาล รัฐบาล นครบาล โคบาล นิรยบาล. (ป., ส. ปาล).”

ทฺวาร + ปาล = ทฺวารปาล (ทัว-อา-ระ-ปา-ละ) แปลว่า “ผู้รักษาประตู” หมายถึง คนรักษาประตู, คนเฝ้าประตู (gatekeeper, janitor)

บาลี “ทฺวารปาล” ภาษาไทยใช้ทับศัพท์เป็น “ทวารบาล” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทวารบาล : (คำนาม) ผู้เฝ้าประตู, นายประตู. (ป.).”

ทวารบาล” ภาษาไทยอ่านว่า ทะ-วา-ระ-บาน

ไม่ใช่ ทะ-วาน-บาน

…………..

ดูก่อนภราดา!

ใจเหมือนประเทศ

กิเลสเหมือนโจร

: มหาโจรเต็มประเทศ

: ถ้าใช้ให้กิเลสเฝ้าประตู

————-

ภาพประกอบ: จาก google

#บาลีวันละคำ (2,176)

28-5-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *