บาลีวันละคำ

กังสดาล (บาลีวันละคำ 2,307)

กังสดาล

ไม่ใช่ระฆัง

อ่านว่า กัง-สะ-ดาน

กังสดาล” บาลีเป็น “กํสตาล” (กัง-สะ-ตา-ละ) ประกอบด้วยคำว่า กํส + ตาล

(๑) “กํส” (กัง-สะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) กนฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + ปัจจัย, แปลง นฺ ที่สุดธาตุเป็นนิคหิต (กนฺ > กํ)

: กนฺ + = กนฺส > กํส แปลตามศัพท์ว่า “วัตถุที่แวววาว

(2) กมฺ (ธาตุ = ต้องการ) + ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็นนิคหิต (กมฺ > กํ)

: กมฺ + = กมฺส > กํส แปลตามศัพท์ว่า “วัตถุอันคนต้องการ

กํส” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ทองบรอนซ์ (สัมฤทธิ์) (bronze).

(2) ฆ้องทองสัมฤทธิ์ (a bronze gong)

(3) จานทองสัมฤทธิ์, ถ้วยทองสัมฤทธิ์สำหรับดื่มเหล้า (a bronze dish, a bronze drinking cup, goblet)

(4) “เหรียญบรอนซ์”, คือเหรียญกษาปณ์มีราคา 4 กหาปณะ (a “bronze”, i. e. a bronze coin worth 4 kahāpaṇas)

ในภาษาไทยใช้เป็น “กังสะ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กังสะ : (คำแบบ) (คำนาม) โลหะสัมฤทธิ์ เช่น บางช้างเชื้อดามพดำรี พื้นภาพหัสดี ดั่งดามพกังส กล่อมเกลา (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).”

(๒) “ตาล” (ตา-ละ) รากศัพท์มาจาก ตฬฺ (ธาตุ = ทุบ, ตี, ฆ่า) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นธาตุ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (ตฬฺ > ตาฬ), แปลง เป็น

: ตฬ + = ตฬณ > ตฬ > ตาฬ > ตาล (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “วัตถุเป็นเครื่องตี” หมายถึง การตี, สิ่งที่ถูกตีหรือประโคม, คือ เครื่องดนตรีชนิดสำหรับตีให้กระทบกัน เช่น ฉิ่ง, ฆ้องหรือกลอง (beating, striking, the thing beaten or struck, i. e. a musical instrument which is beaten, an instr. of percussion, as a cymbal, gong, or tambourine)

กํส + ตาล = กํสตาล แปลว่า “เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีอันทำด้วยสัมฤทธิ์

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กํสตาล” ว่า bronze gong or cymbals (ฆ้องสัมฤทธิ์ หรือฉิ่ง, ฉาบ)

กํสตาล” ใช้ในภาษาไทยเป็น “กังสดาล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กังสดาล : (คำนาม) เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง เป็นแผ่นโลหะหล่อจากสัมฤทธิ์หรือทองเหลือง รูปร่างคล้ายพัดที่คลี่ออก ด้านบนเจาะรูแขวน ด้านล่างเป็นวงโค้งคล้ายวงเดือน เช่น แว่วสำเนียงเสียงระฆังกังสดาล (อิเหนา). (ป. กงฺสตาล).”

แม้พจนานุกรมฯ จะยกตัวอย่างถ้อยคำในวรรณคดีว่า “แว่วสำเนียงเสียงระฆังกังสดาล” ซึ่งชวนให้เข้าใจว่า “กังสดาล” กับ “ระฆัง” เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเหมือนกัน แต่ตามความหมายของศัพท์และตามความเป็นจริง “กังสดาล” กับ “ระฆัง” เป็นคนละอย่างกัน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ผู้มีเพลงในหัวใจได้ยินเสียงดนตรี ย่อมรู้ว่ามีคุณ

: ผู้มีธรรมในหัวใจได้ยินสัญญาณบุญ ย่อมรู้ว่ามีโอกาสทำดี

—————–

(ตอบคำถามของ วัดทุ่งสวน ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร)

#บาลีวันละคำ (2,307)

6-10-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย