บาลีวันละคำ

อตัมมยตา (บาลีวันละคำ 2,311)

อตัมมยตา

ตามที่ท่านว่าไว้ในพระคัมภีร์

อ่านว่า อะ-ตำ-มะ-ยะ-ตา

อตัมมยตา” บาลีสะกด “อตมฺมยตา

แยกเป็น + ตมฺ + มย + ตา ปัจจัย

(๑) “” (อะ) คำเดิมเป็น “” (นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ –

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ แปลง เป็น อน– เช่น

: + อาคต (มาแล้ว) : > อน + อาคต = อนาคต (ไม่มาแล้ว = ยังไม่มา)

ในที่นี้ + ตมฺตมฺ ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ คือ – จึงต้องแปลง เป็น

(๒) “ตมฺ” (ตำ) คำเดิมเป็น “” (ตะ ศัพท์) แปลว่า “นั้น” เป็นคำที่บาลีไวยากรณ์เรียกว่า “วิเสสนสรรพนาม” (วิ-เส-สะ-นะ-สับ-พะ-นาม) ใช้แทนคำที่พูดถึงมาแล้วข้างต้น

คำที่พูดถึงมาแล้วข้างต้น” ในที่นี้ก็คือ “ตัณหา มานะ ทิฏฐิ” เมื่อจะเอ่ยถึง “ตัณหา มานะ ทิฏฐิ” อีก แทนที่จะพูดซ้ำคำเดิมว่า “ตัณหา มานะ ทิฏฐิ” ก็ใช้เสสนสรรพนาม คือ “” แทน

: = ตณฺหามานทิฏฺฐิ (หรือ ตณฺหาทิฏฺฐิมานา) (ตัณหา มานะ ทิฏฐิ)

” ลงนิคหิตเป็น “ตํ” (ตัง) แล้วแปลงนิคหิตเป็น มฺ : ตํ > ตมฺ

(๓) “มย” (มะ-ยะ) นักภาษาวิเคราะห์ความหมายของศัพท์ไว้ดังนี้ –

(1) มีความหมายว่า “มยํ” (มะ-ยัง) = ข้าพเจ้าเอง (“myself”)

(2) มีความหมายว่า “ปญฺญตฺติ” (บัญญัติ) = รับรู้กันว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ (“regulation”)

(3) มีความหมายว่า “นิพฺพตฺติ” = บังเกิด (“origin”, arising from)

(4) มีความหมายว่า “มโนมย” = ทางใจ (“spiritually”)

(5) มีความหมายว่า “วิการ” = ทำให้แปลกไปจากสภาพเดิมของสิ่งนั้น (“alteration”) เช่น เอาทองมาทำเป็นสร้อยคอ (ทอง = สภาพเดิม, สร้อยคอ = สิ่งที่ถูกทำให้แปลกจากเดิม)

(6) มีความหมายว่า “ปทปูรณ” (บทบูรณ์) = ทำบทให้เต็ม เช่น ทานมัย ก็คือทานนั่นเอง สีลมัย ก็คือศีลนั่นเอง เติม “มัย” เข้ามาก็มีความหมายเท่าเดิม (to make up a foot of the verse)

ความหมายของ “มย” ที่เข้าใจกันทั่วไปคือ : สำเร็จมาจาก, ทำด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

กฎของการใช้คำว่า “มย” ก็คือ ไม่ใช้เดี่ยวๆ แต่จะเป็นส่วนท้ายของคำอื่นเสมอ ในที่นี้ก็คือ ตํ + มย = ตํมย > ตมฺมย

(๔) “ตา” ปัจจัย แปลว่า การ-, ความ

การประสมคำ :

(1) ตํ + มย = ตํมย > ตมฺมย แปลตามศัพท์ว่า “กิเลสอันสำเร็จมาจากตัณหามานะทิฏฐิ

(2) + ตมมย + ตา = นตมมยตา > อตมมยตา แปลตามศัพท์ว่า “ความไม่มีกิเลสที่สำเร็จมาจากตัณหามานะทิฏฐิ

รากศัพท์นี้แสดงตามที่สันนิษฐานได้ในเวลานี้เท่านั้น ถ้ามีหลักฐานที่มาเป็นอย่างอื่น ขอท่านผู้รู้ได้โปรดช่วยกันนำมาแสดงเพื่อเป็นองค์ความรู้ร่วมกัน

ความหมายตามพระคัมภีร์ :

(๑) ตณฺหาทิฏฺฐิมานา  ตมฺมยาติ  วุจฺจนฺติ  ฯ  เตสํ  อภาโว  อตมฺมยตา  ฯ 

ตัณหาทิฏฐิมานะ ท่านเรียกว่า ตมฺมยา. ความไม่มีแห่งตัณหาทิฏฐิมานะเหล่านั้น ชื่อว่า อตมฺมยตา.

ที่มา: คัมภีร์สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส กามสุตตนิทเทสวัณณนา หน้า 126

(๒) อตมฺมยตาติ  ตมฺมยตา  วุจฺจติ  ตณฺหา  นิตฺตณฺหาติ  อตฺโถ  ฯ 

ตัณหาท่านเรียกว่า ตมฺมยตา คำว่า อตมฺมยตา หมายความว่า ความเป็นผู้ไม่มีตัณหา.

ที่มา: คัมภีร์ปปัญจสูทนี ภาค 3 อรรถกถามัชฌิมนิกาย สัปปุริสธัมมสุตตวัณณนา หน้า 612

(๓) เย  โลกิเย  สงฺขาเร  อารพฺภ  อนุโลมปริโยสานา  วุฏฺฐานคามินี  วิปสฺสนา  ปวตฺตติ  ตํสนฺนิสฺสิตา  ตปฺปฏิพทฺธา  ตณฺหา  เตหิ  วินา  อวตฺตนโต  ตมฺมยา  นาม  ฯ  ตมฺมยาว  ตมฺมยตา  ฯ   ตมฺมยา  วา  ตณฺหาสมฺปยุตฺตา  ขนฺธา  เตสํ  ภาโว  ตมฺมยตา  สาเอว  ตณฺหา  ฯ  ตปฺปฏิปกฺขา  วุฏฺฐานคามินี  วิปสฺสนา  อตมฺมยตา  ฯ  เตน  วุตฺตํ  อฏฺฐกถายํ  ตมฺมยตา  นาม  ตณฺหา  ตสฺสา  ปริยาทิยนโต  วุฏฺฐานคามินี  วิปสฺสนา  อตมฺมยตาติ  วุจฺจตีติ  ฯ

วุฏฐานคามินีวิปัสสนาอันมีอนุโลมญาณเป็นที่สุด ปรารภสังขารทั้งหลายอันเป็นโลกิยะเหล่าใดย่อมเป็นไป ตัณหาอันอาศัยสังขารเหล่านั้น เนื่องด้วยสังขารเหล่านั้น ชื่อว่า ตัมมยา เพราะเว้นจากสังขารเหล่านั้นก็ไม่เป็นไป.

ตมฺมยา นั่นแหละเป็น ตมฺมยตา.

อีกอย่างหนึ่ง ตมฺมยา ก็คือขันธ์ทั้งหลายอันสัมปยุตด้วยตัณหา.

ภาวะแห่งตัมมยะเหล่านั้น ชื่อว่า ตมฺมยตา.

ตมฺมยา นั่นเองคือตัณหา.

วุฏฐานคามินีวิปัสสนาอันเป็นปฏิปักษ์ต่อตัณหานั้น ชื่อว่า อตมฺมยตา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า ตัณหาชื่อว่า ตัมมยตา. วุฏฐานคามินีวิปัสสนาเรียกว่า อตัมมยตา เพราะทำลายตัณหานั้น.

ที่มา: คัมภีร์ปรมัตถมัญชุสา ภาค 3 มหาฎีกาแห่งคัมภีร์วิสุทธิมรรค หน้า 586

อัญเชิญมาแสดงไว้ในที่นี้พอเป็นนิทัศนะ ผู้รักพระศาสนาพึงช่วยกันศึกษาค้นคว้าต่อไปเถิด

…………..

บาลีวันละคำชุด:-

: ช่วยกันสืบทอดพระศาสนา

: ช่วยกันรู้ภาษาพระธรรมวินัย

…………..

ดูก่อนภราดา!

อย่าพอใจเพียงคำอธิบายของอาจารย์

แต่ควรศึกษาสืบสานไปให้ถึงตัวพระคัมภีร์

: ถ้าไม่เริ่มต้นที่พระคัมภีร์

: ก็คือยังไม่ได้เริ่มวิธีรักษาพระศาสนา

#บาลีวันละคำ (2,311)

10-10-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย