บาลีวันละคำ

ภยาคติ (บาลีวันละคำ 2,562)

ภยาคติ

ลำเอียงเพราะกลัวอะไร

อ่านว่า พะ-ยา-คะ-ติ

ภาษาไทยเป็นรูปคำเดียวกันกับบาลี แยกศัพท์เป็น ภย + อคติ

(๑) “ภย

บาลีอ่านว่า พะ-ยะ รากศัพท์มาจาก ภี (ธาตุ = กลัว) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อี (ที่ ภี) เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย

: ภี + = ภีณ > ภี > เภ > ภย แปลตามศัพท์ว่า “ความกลัว

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภย” เป็นอังกฤษว่า fear, fright, dread (ความกลัว, ความหวาดหวั่น, สิ่งที่น่ากลัว)

ภย” ใช้ทับศัพท์ในภาษาไทยว่า “ภัย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภัย : (คำนาม) สิ่งที่น่ากลัว, อันตราย, เช่น อัคคีภัย คือ ภัยที่เกิดจากไฟ อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดจากน้ำ. (ป., ส. ภย).”

ความหมายของ “ภย” ในบาลีคือ “ความกลัว” (fear) หรือ “สิ่งที่น่ากลัว” (fright) แต่ “ภัย” ในภาษาไทยน้ำหนักของความหมายอยู่ที่ “อันตราย” (danger, dangerous)

โปรดสังเกตว่า พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ที่ฝรั่งเป็นผู้ทำไม่ได้แปล “ภย” ว่า danger หรือ dangerous

(๒) “อคติ

บาลีอ่านว่า อะ-คะ-ติ รากศัพท์มาจาก + คติ

(ก) “” (นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่

เมื่อไปสมาสกับคำอื่น :

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น (อะ)

ในที่นี้ “คติ” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงแปลง เป็น

(ข) “คติ” รากศัพท์มาจาก คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ติ ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ

: คมฺ + ติ = คมติ > คติ แปลตามศัพท์ว่า “กิริยาอันบุคคลพึงดำเนิน

คติ” (อิตถีลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การไป (going)

(2) การจากไป, การผ่านไป (going away, passing on)

(3) ทางไป, โดยเฉพาะหลังจากตายไป, ชะตากรรม, ที่เกี่ยวกับภพอื่น (course, esp after death, destiny, as regards another existence)

(4) ความประพฤติ, ภาวะหรือฐานะของความเป็นอยู่, ขอบเขตของภพ, ความเป็นอยู่, ธาตุ (behaviour, state or condition of life, sphere of existence, element)

(5) แดนแห่งความเป็นอยู่ 5 อย่างของสัตว์โลก (the five realms of existence) (คือ นรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรต มนุษย์ และเทพ = คติ 5)

: + คติ = นคติ > อคติ แปลตามศัพท์ว่า (1) “กิริยาอันบุคคลไม่พึงดำเนิน” (2) “การดำเนินอันไม่สมควร

อคติ” ขบความตามศัพท์เท่าที่ตาเห็น –

1 ไม่ไป, ไม่ถึง, ไม่อยู่

2 ไปไม่ได้, ไปไม่ถึง, เข้าไม่ได้, อยู่ไม่ได้

ความหมายในเชิงปฏิบัติของ “อคติ” คือ –

1 ไปในที่ไม่ควรไป, อยู่ในที่ไม่ควรอยู่, เข้าไปในที่ไม่ควรเข้า, ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ

2 ไม่ไปในที่ที่ควรไป, ไม่อยู่ในที่ที่ควรอยู่, ไม่เข้าไปในที่ที่ควรเข้า, ไม่ทำสิ่งที่ควรทำ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อคติ” ว่า –

(1) no course, no access (ไม่มีวิถีทาง, ไม่มีทางเข้า)

(2) a wrong course (ทางที่ผิด)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต แปล “อคติ” ว่า wrong course of behaviour; prejudice

อคติ” เรามักพูดทับศัพท์ว่า อคติ หมายถึง ความลำเอียง, ความไม่เที่ยงธรรม, ความไม่ยุติธรรม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อคติ : (คำนาม) ความลําเอียง มี ๔ อย่าง คือ ฉันทาคติ = ความลําเอียงเพราะรัก โทสาคติ = ความลําเอียงเพราะโกรธ ภยาคติ = ความลําเอียงเพราะกลัว โมหาคติ = ความลําเอียงเพราะเขลา. (ป.).”

ภย + อคติ = ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัว (prejudice caused by fear)

ขยายความ :

ภยาคติลำเอียงเพราะกลัว หมายความว่าอย่างไร

หนังสือ อธิบายธรรมวิภาคปริเฉทที่ 1 ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย ขยายความไว้ดังนี้ –

…………..

ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ เช่น ผู้มีอำนาจทำผิด ผู้พิพากษาไม่กล้าตัดสินลงโทษเพราะกลัวเขาจะทำร้ายตอบ หรือผู้น้อยที่อยู่ในความปกครองทำผิด ผู้ปกครองไม่กล้าลงโทษเพราะเกรงจะขาดเมตตากรุณา หรือกลัวว่าเขาจะเดือดร้อน นี้จัดเป็นการไม่ยุติธรรมประการหนึ่ง

…………..

ขอขยายความเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย

ทหาร มีหน้าที่รบ การตายในสนามรบเป็นเกียรติของทหาร ไม่มีใครตำหนิเลย

คราวหนึ่งเกิดสถานการณ์ชายแดน มีเสียงเรียกร้องให้ทางราชการส่งทหารเข้าไปปฏิบัติการ แม่ทัพใหญ่ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ถามกลับมาว่า ส่งทหารเข้าไป ถ้าลูกเขาตาย (ลูก คือชายฉกรรจ์ที่เข้ามาเป็นทหาร) ใครจะรับผิดชอบ?!

อ้าว!

ตำแหน่งในทางราชการย่อมมี “หน้าที่” กำกับอยู่ด้วย หน้าที่สำคัญก็คือ ทำสิ่งที่ถูกต้อง อะไรที่ไม่ถูกต้องก็จงทำให้ถูกต้อง ที่เขายังคงให้นั่งอยู่ในตำแหน่งนั้นๆ ก็เพื่อจะให้ทำสิ่งถูกต้องนี่แหละ

มีข้าราชการไม่น้อยที่ไม่กล้าทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องให้ถูกต้อง เหตุผลสำคัญมีข้อเดียว คือ กลัวว่าทำแล้วตัวเองจะหลุดจากตำแหน่ง!

อ้าว!

ผู้บริหารบ้านเมืองและผู้บริหารการพระศาสนาในบ้านเรามีลักษณะที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ เมื่อมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น มักไม่ชอบแก้ พอใจที่จะอยู่อย่างสงบเงียบ ปล่อยให้ปัญหานั้นฟักตัว ขยายตัว และลงรากลึกไปเรื่อยๆ

เหตุผลสำคัญมีข้อเดียว คือ กลัวว่าถ้าไปทำอะไรเข้าเดี๋ยวจะเกิดปัญหา!

อ้าว!

ดูก่อนภราดา!

วันนี้พูดได้คำเดียว

อ้าว!

#บาลีวันละคำ (2,562)

18-6-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *