บาลีวันละคำ

จุณณียบท (บาลีวันละคำ 2,650)

จุณณียบท

อ่านว่า จุน-นี-ยะ-บด

ประกอบด้วยคำว่า จุณณีย + บท

(๑) “จุณณีย

เขียนแบบบาลีเป็น “จุณฺณีย” (มีจุดใต้ ตัวหน้า) อ่านว่า จุน-นี-ยะ รากศัพท์มาจาก จุณฺณ + อีย ปัจจัย

จุณฺณ” รากศัพท์มาจาก จุณฺณฺ (ธาตุ = บด) + ปัจจัย

: ปทฺ + = ปท แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาบด

จุณฺณ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เป็นคำกริยา หมายถึง ทำให้แตกละเอียด, เป็นผง (broken up, powdered)

(2) เป็นคำนาม (ปุงลิงค์) หมายถึง ของที่ป่น, ของแข็งที่บดเป็นผง, ฝุ่น, ทราย (any hard substance ground into a powder; dust, sand)

จุณฺณ” ในภาษาไทยเก่าใช้เป็น “จุณ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

จุณ : (คำโบราณ) (คำนาม) จุรณ, จูรณ, ของที่ป่น, ของที่ละเอียด, ผง. (ป. จุณฺณ; ส. จูรฺณ).”

จุณฺณ + อีย = จุณฺณีย แปลตามศัพท์ว่า “อันเป็นที่ตั้งแห่งฝุ่นผง” หมายถึง เล็กน้อย, ย่อๆ (petty, abridgment, abstract)

(๒) “บท

บาลีเป็น “ปท” (ปะ-ทะ) รากศัพท์มาจาก ปทฺ (ธาตุ = บรรลุ, ถึง) + ปัจจัย

: ปทฺ + = ปท แปลตามศัพท์ว่า (1) “สภาวะอันพระอริยะบรรลุ” = นิพพาน (2) “สิ่งเป็นเหตุเป็นไปแห่งผล” = เหตุ, เค้ามูล, ปัจจัย (3) “อวัยวะเป็นเครื่องเดินไป” = เท้า

ปท” ในบาลีใช้ในความหมายอะไรบ้าง :

(1) เท้า (foot)

(2) การก้าว, รอยเท้า, ทาง (step, footstep, track)

(3) หนทาง, ช่องทาง (way, path)

(4) ตำแหน่ง, สถานที่ position, place

(5) กรณี, โชคชะตา, หลักการ, ส่วน, องค์ประกอบ, ลักษณะ, ส่วนประกอบ, รายการ, สิ่งของ, มูลฐาน (case, lot, principle, part, constituent, characteristic, ingredient, item, thing, element)

(6) ในบทร้อยกรองหมายถึง คำ, ฉันท์ (หรือหนึ่งในสี่ของฉันท์), โศลก, บท, ประโยค (a word, verse (or a quarter of a verse), stanza, line, sentence)

ในที่นี้ “ปท” ใช้ในความหมายตามข้อ (6)

ปท” ในภาษาไทยมักใช้ทับศัพท์ว่า “บท

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “บท” ในภาษาไทยไว้ดังนี้ –

(1) ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒.

(2) กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท

(3) คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท.

(4) คําประพันธ์ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท.

(5) คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไปก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน.

จุณณีย + ปท = จุณณียปท (จุน-นี-ยะ-ปะ-ทะ) แปลตามศัพท์ว่า “บทอันเล็กน้อย” ในภาษาไทยใช้เป็น “จุณณียบท

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จุณณียบท : (คำแบบ) (คำนาม) บทบาลีเล็กน้อย ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ. (ป.).”

ขยายความ :

ในการแสดงพระธรรมเทศนา มีหลักอยู่ว่า พระธรรมกถึก (พระผู้แสดงธรรม) มีหน้าที่แสดงคำสอนของพระพุทธเจ้ารวมทั้งคำสอนอันมีมาในพระไตรปิฎก (ไม่ใช่แสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของตัวพระธรรมกถึกเอง)

ดังนั้น จะแสดงธรรมข้อไหน ก็ยกหัวข้อธรรมนั้น ซึ่งอาจเป็นคาถา (บทร้อยกรอง) หรือข้อความร้อยแก้วที่กล่าวด้วยข้อธรรมนั้นขึ้นมาตั้งไว้เป็นเบื้องต้น เป็นการบอกให้ผู้ฟังทราบว่าจะแสดงธรรมะข้อนั้น ข้อความที่ยกมาตั้งไว้นี้ เรียกว่า “จุณณียบท” หรือบางทีก็เรียกว่า “นิกเขปบท

โดยเฉพาะในสำนวนเทศน์มหาชาติ (ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก) แต่ละกัณฑ์ ท่านผู้รจนานิยมยกคำบาลีในคัมภีร์ขึ้นมานำก่อน เมื่อตั้ง “นะโม” จบแล้ว พระธรรมกถึกก็จะว่าคำบาลีนั้นติดต่อกันไป เรียกว่า “เดินจุณณียบท” (สำนวนเทศน์มหาชาติไม่นิยมเรียก “นิกเขปบท”) เช่น มหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์ทศพร ขึ้นต้นว่า –

…………..

ผุสตี วรวณฺณาเภติ อิทํ สตฺถา กปิลวตฺถุสฺมึ อุปนิสฺสาย นิโคฺรธาราเม วิหรนฺโต โปกฺขรวสฺสํ อารพฺภ กเถสิ ฯ

…………..

คำขึ้นต้นเช่นนี้นี่แลเรียกว่า “จุณณียบท

ดูเพิ่มเติม: “นิกเขปบท” บาลีวันละคำ (2,294) 23-9-61

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แต่งเครื่องแบบของพระพุทธเจ้า

: ประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า

#บาลีวันละคำ (2,650)

14-9-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย