ชาติ

บาลีวันละคำ

ชาติ (บาลีวันละคำ 588)

ชาติ

บาลีอ่านว่า ชา-ติ
ภาษาไทยอ่านว่า ชาด

“ชาติ” รากศัพท์มาจาก ชน (ธาตุ = เกิด) + ติ ปัจจัย
กระบวนการทางไวยากรณ์ –
1 แปลง ชน (ชะ-นะ) เป็น ชา : ชน > ชา + ติ = ชาติ
2 แปลง “น” (ที่ ชน) เป็น อา : (ช)น > อา (> ช + อา) = ชา + ติ = ชาติ

“ชาติ” แปลตามศัพท์ว่า “การเกิด” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังต่อไปนี้ –

1 การเกิด, การเกิดใหม่, กำเนิด (birth, rebirth, possibility of rebirth)

2 ชาติกำเนิด, เชื้อชาติ, ชั้น, วงศ์วาน (descent, race, rank, genealogy)

3 จำพวก, ชนิด (a sort of, kind of)

4 ตามธรรมชาติ (ตรงข้ามกับของที่ตกแต่งขึ้น); แท้จริง, บริสุทธิ์, วิเศษ (ตรงกันขามกับปนเจือ เลว) (by birth or nature, natural (opp. artificial); genuine, pure, excellent (opp. adulterated, inferior))

Read More