บรรพชา-อุปสมบท

บาลีวันละคำ

บรรพชา-อุปสมบท (บาลีวันละคำ 742)

บรรพชา-อุปสมบท
บรรพชา อ่านว่า บัน-พะ-ชา ก็ได้, บับ-พะ-ชา ก็ได้
อุปสมบท อ่านว่า อุ-ปะ-สม-บด ก็ได้, อุบ-ปะ-สม-บด ก็ได้
(ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554)
“บรรพชา” บาลีเป็น “ปพฺพชฺชา” อ่านว่า ปับ-พัด-ชา
“อุปสมบท” บาลีเป็น “อุปสมฺปทา” อ่านว่า อุ-ปะ-สำ-ปะ-ทา
(1) ปพฺพชฺชา รากศัพท์มาจาก ป ( = ทั่ว, ข้างหน้า) + วชฺช (ธาตุ = เว้น) + อ ปัจจัย + อา (ปัจจัยที่ทำให้เป็นอิตถีลิงค์), แผลง ว เป็น พ, ซ้อน พ
: ป > ปพฺ + วชฺช > พชฺช + อ = ปพฺพชฺช + อา = ปพฺพชฺชา
ปพฺพชฺชา แปลตามศัพท์ว่า “เว้นทั่ว” หมายถึง การออกบรรพชา, การถือเพศเป็นนักพรต, การถือเพศเป็นภิกษุ, การทรงเพศสมณะ, การออกบวช (ฝรั่งแปลว่า leaving the world, adopting the ascetic life; state of being a Buddhist friar, taking the (yellow) robe, ordination)
ปพฺพชฺชา สันสกฤตเป็น “ปฺรวฺรชฺยา” ใช้ในภาษาไทยว่า “บรรพชา”

Read More