บาลีวันละคำ

อากาศคงคา [2] (บาลีวันละคำ 3,253)

อากาศคงคา [2]

คืออะไร?

อ่านว่า อา-กาด-สะ-คง-คา

ประกอบด้วยคำว่า อากาศ + คงคา

(๑) “อากาศ

บาลีเป็น “อากาส” ( เสือ สะกด) อ่านว่า อา-กา-สะ รากศัพท์มาจาก (คำนิบาตบอกความปฏิเสธ = ไม่, ไม่ได้, ไม่ใช่) + กส (ธาตุ = ไถ, เขียน) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น (อะ) แล้วทีฆะ เป็น อา, ทีฆะ อะ ที่ -(สฺ) เป็น อา (กสฺ > กาส)

: + กสฺ = นกสฺ + = นกสณ > นกส > อกส > อากส > อากาส (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สภาพอันใครไถไม่ได้” (2) “สภาพอันใครเขียนไม่ได้” หมายถึง อากาศ, ท้องฟ้า, บรรยากาศ, ช่องว่าง (air, sky, atmosphere; space)

บาลี “อากาส” ใช้ในในภาษาไทยเขียนตามสันสกฤตเป็น “อากาศ” ( ศาลา สะกด) อ่านว่า อา-กาด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายในภาษาไทยไว้ดังนี้ –

(1) แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น

(2) (ความหมายเชิงปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง 1 ใน 6 คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้)

(3) ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ

(4) บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง

ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป “อากาศ” คือ ที่ว่างเปล่า ไม่มีอะไร

(๒) “คงคา

เขียนแบบบาลีเป็น “คงฺคา” อ่านว่า คัง-คา รากศัพท์มาจาก –

(1) คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง มฺ ที่ (ค)-มฺ เป็นนิคหิตแล้วแปลงเป็น งฺ (คมฺ > คํ > คงฺ) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: คมฺ + = คมค > คํค > คงฺค + อา = คงฺคา แปลตามศัพท์ว่า “ห้วงน้ำที่เป็นไปทุกแห่ง

(2) คํ (ห้วงน้ำใหญ่) + คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + กฺวิ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ คํ เป็น งฺ (คํ > คงฺ), ลบ มฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: คํ + คมฺ = คํคมฺ + กฺวิ = คํคมฺกฺวิ > คงฺคมกฺวิ > คงฺค + อา = คงฺคา แปลตามศัพท์ว่า “แม่น้ำที่ไหลมาทำให้ห้วงน้ำใหญ่เป็นไป” (คือเมื่อไหลมาก็รวมเอาน้ำในลำน้ำแหล่งน้ำน้อยใหญ่มาด้วย ก่อให้เกิดปริมาณน้ำมากมายมหาศาล)

คงฺคา” ในบาลี ใช้ในความหมาย 2 อย่าง คือ –

(1) แม่น้ำทั่วไป

(2) แม่น้ำสำคัญที่ชื่อ “คงฺคา

ในภาษาไทย ใช้เป็น “คงคา” อ่านว่า คง-คา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

คงคา ๑ : (คำนาม) นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจํานํ้า, ชื่อแม่นํ้าสําคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว); เรียกส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่นว่า ท่อคงคา.”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บรรยายเรื่องแม่น้ำ “คงคา” ในประเทศอินเดียไว้ ดังนี้ –

คงคา : แม่น้ำใหญ่สายสำคัญลำดับที่ 1 ในมหานที 5 ของชมพูทวีป (คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี) และเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์อันดับที่ 1 ในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งศาสนิกปรารถนาอย่างยิ่งที่จะได้ไปอาบน้ำล้างบาป อีกทั้งในพิธีราชาภิเษกกษัตริย์ในชมพูทวีป และกษัตริย์แห่งลังกาทวีป ก็ใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์ในแม่น้ำคงคานี้ด้วย, แม่น้ำคงคามีความยาวประมาณ 2,510 กม. ตามที่บันทึกไว้ในอรรถกถาว่า มีต้นกำเนิดจากสระอโนดาต ในแดนหิมพานต์ ไหลไปสู่มหาสมุทร จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ผ่านเมืองสำคัญมากแห่ง เช่น สังกัสสะ ปยาคะ (เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ประยาค ปัจจุบันคือ เมือง Allahabad เป็นที่บรรจบของแม่น้ำคงคา กับยมุนา) พาราณสี อุกกาเวลา (อุกกเจลา ก็ว่า) ปาตลีบุตร (เมืองหลวงของมคธ ยุคหลังราชคฤห์) จัมปา (เมืองหลวงของแคว้นอังคะ) และในที่สุดออกทะเลที่อ่าวเบงกอล (Bay of Bengal), ปัจจุบัน คนทั่วไปรู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า Ganges.”

อากาส + คงฺคา = อากาสคงฺคา (อา-กา-สะ-คัง-คา) แปลตามศัพท์ว่า “แม่น้ำ (คงคา) (ที่ไหลลงมา) ทางอากาศ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อากาสคงฺคา” ว่า N. of the celestial river (ชื่อของแม่น้ำที่ไหลมาจากสวรรค์)

อภิปรายขยายความเพื่อนักเรียนบาลีโดยเฉพาะ :

คำว่า “อากาสคงฺคา” ที่จะยกมาอภิปรายในที่นี้ท่านใช้เป็นคำเปรียบเทียบถึงลีลาการแสดงธรรม โดยเฉพาะเป็นคำบรรยายตอนสรุปจบแห่งการแสดงธรรมว่าเป็นการแสดงธรรมที่ยอดเยี่ยมมาก อุปมาด้วยกิริยาอาการหรือการกระทำต่างๆ ดังที่ได้แสดงไว้แล้วใน “อากาศคงคา [1]” บาลีวันละคำ (3,252) 8-5-64

ใน “อากาศคงคา [1]” ได้ตั้งคำถามว่า “อากาศคงคา” หมายถึงอะไรกันแน่ และได้ยกข้อความในคัมภีร์ที่กล่าวถึงศัพท์ว่า “อากาสคงฺคา” พร้อมทั้งคำแปลในภาษาไทยที่ท่านแปลกันไว้มาเสนอไว้บ้างแล้ว

ในตอนนี้ จะขอเสนอคำบรรยายในอรรถกถาที่วาดภาพให้เห็นเด่นชัดว่า “อากาสคงฺคา” คืออะไร

คำบรรยายนี้ค่อนข้างยาว และผู้เขียนบาลีวันละคำตั้งใจยกคำบาลีมากำกับไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่นักเรียนบาลี พึงมีอุตสาหะในการอ่านเถิด ในที่นี้ใส่หมายเลขแต่ละตอนไว้ด้วยเพื่อกำหนดได้ง่ายขึ้น

…………..

(๑) ปุรตฺถิมทิสโต  นิกฺขนฺตนที  อโนตตฺตํ  ติกฺขตฺตุํ  ปทกฺขิณํ  กตฺวา  อิตรา  ติสฺโส  นทิโย  อนุปคมฺม  ปาจีนหิมวนฺเตเนว  อมนุสฺสปถํ  คนฺตฺวา  มหาสมุทฺทํ  ปวิสติ.

แม่น้ำที่ไหลออกจากทิศตะวันออกทำประทักษิณสระอโนดาต 3 รอบ ไม่ปนกับแม่น้ำ 3 สายนอกนี้ ไปสู่ถิ่นอมนุษย์ทางป่าหิมพานต์ด้านตะวันออกแล้วเข้าไปสู่มหาสมุทร.

(๒) ปจฺฉิมทิสโต  จ  อุตฺตรทิสโต  จ  นิกฺขนฺตนทิโยปิ  ตเถว  ปทกฺขิณํ  กตฺวา  ปจฺฉิมหิมวนฺเตเนว  อุตฺตรหิมวนฺเตเนว  จ  อมนุสฺสปถํ  คนฺตฺวา  มหาสมุทฺทํ  ปวิสนฺติ. 

แม้แม่น้ำที่ออกจากทิศตะวันตกและจากทิศเหนือก็ทำประทักษิณสระอโนดาต 3 รอบเช่นเดียวกัน ไปสู่ถิ่นอมนุษย์ทางป่าหิมพานต์ด้านตะวันตกและด้านเหนือตามด้านของตนแล้วเข้าไปสู่มหาสมุทร.

(๓) ทกฺขิณทิสโต  นิกฺขนฺต  นที  ปน  ตํ  ติกฺขตฺตุํ  ปทกฺขิณํ  กตฺวา  ทกฺขิเณน  อุชุกํ  ปาสาณปิฏฺเฐเนว  สฏฺฐิโยชนานิ  คนฺตฺวา  ปพฺพตํ  ปหริตฺวา  วุฏฺฐาย  ปริกฺเขเปน  ติคาวุตปฺปมาณา  อุทกธาร  หุตฺวา  อากาเสน  สฏฺฐิโยชนานิ  คนฺตฺวา  ติยคฺคเฬ  นาม  ปาสาเณ  ปติตา,

ส่วนแม่น้ำที่ไหลออกจากทิศใต้ทำประทักษิณสระอโนดาต 3 รอบ แล้วไหลไปตามหลังแผ่นหินตรงไปทางเหนือได้ 60 โยชน์ แล้วปะทะภูเขาผันออกเป็นธารน้ำประมาณ ๓ คาวุต โดยวัดรอบวงกลม ไปโดยอากาศ 60 โยชน์ แล้วตกลงบนแผ่นหินชื่อ ติยัคคฬะ.

(๔) ปาสาโณ  อุทกธาราเวเคน  ภินฺโน,  ตตฺถ  ปญฺญาสโยชนปฺปมาณา ติยคฺคฬา  นาม  โปกฺขรณี  ชาตา, 

แผ่นหินนั้นแตกด้วยกำลังธารน้ำ เกิดเป็นสระโบกขรณีใหญ่ประมาณ 50 โยชน์ ชื่อ ติยัคคฬะ.

(๕) โปกฺขรณิยา  กูลํ  ภินฺทิตฺวา  ปาสาณํ  ปวิสิตฺวา  สฏฺฐิโยชนานิ  คตา.

น้ำทำลายฝั่งสระโบกขรณีเข้าไปสู่แผ่นหิน ไหลไปได้ 60 โยชน์.

(๖) ตโต  ฆนปฐวึ  ภินฺทิตฺวา  อุมฺมงฺเคน  สฏฺฐิโยชนานิ  คนฺตฺวา  วิชฺฌํ  นาม  ติรจฺฉานปพฺพตํ  ปหริตฺวา  หตฺถตเล  ปญฺจงฺคุลิสทิสา  ปญฺจธารา  หุตฺวา  ปวตฺตนฺติ. 

แต่นั้น ทำลายแผ่นดินทึบไปได้ 60 โยชน์ทางอุโมงค์ ปะทะภูเขาขวางชื่อ วิชฌะ แตกเป็นลำธาร 5 สายไหลไปเหมือนกับนิ้วมือทั้ง 5 บนฝ่ามือ.

(๗) สา  ติกฺขตฺตุํ  อโนตตฺตํ  ปทกฺขิณํ  กตฺวา  คตฏฺฐาเน  อาวฏฺฏคงฺคาติ  วุจฺจติ.

แม่น้ำนั้นตอนที่ทำประทักษิณสระอโนดาต 3 รอบ เรียกว่า “อาวัฏคงคา” (คงคาวน)

(๘) อุชุกํ  ปาสาณปิฏฺเฐน  สฏฺฐิโยชนานิ  คตฏฺฐาเน  กณฺหคงฺคาติ,

ตอนที่ไหลไปตามหลังแผ่นหินตรงไปได้ 60 โยชน์ เรียกว่า “กัณหคงคา” (คงคาดำ)

(๙) อากาเสน  สฏฺฐิโยชนานิ  คตฏฺฐาเน  อากาสคงฺคาติ.

ตอนที่ไปโดยอากาศ ๖๐ โยชน์ เรียกว่า “อากาศคงคา” (คงคาตกสวรรค์)

(๑๐) ติยคฺคฬปาสาเณ  ปญฺญาสโยชโนกาเส  ฐิตา  ติยคฺคฬโปกฺขรณีติ.

ตอนที่ขังอยู่ในที่ว่างประมาณ ๕๐ โยชน์บนแผ่นหินชื่อ ติยัคคฬะ เรียกว่า “ติยัคคฬโบกขรณี” (สระโบกขรณีสามลิ่ม)

(๑๑) กูลํ  ภินฺทิตฺวา  ปาสาณํ  ปวิสิตฺวา  สฏฺฐิโยชนานิ  คตฏฺฐาเน  พหลคงฺคาติ. 

ตอนที่ทำลายฝั่ง (สระโบกขรณี) เข้าไปสู่แผ่นหินไหลไป ๖๐ โยชน์ เรียกว่า “พหลคงคา” (คงคาน้ำแน่น)

(๑๒) อุมฺมงฺเคน  สฏฺฐิโยชนานิ  คตฏฺฐาเน  อุมฺมงฺคคงฺคาติ  วุจฺจติ.

ตอนที่ไปทางอุโมงค์ ๖๐ โยชน์ เรียกว่า “อุมมังคคงคา” (คงคาผ่าอุโมงค์)

(๑๓) วิชฺฌํ  นาม  ติรจฺฉานปพฺพตํ  ปหริตฺวา  ปญฺจธารา  หุตฺวา  ปวตฺตฏฺฐาเน  ปน  คงฺคา  ยมุนา  อจิรวตี  สรภู  มหีติ  ปญฺจธา  สงฺขํ  คตา,

ส่วนตอนที่ปะทะภูเขาขวางชื่อ วิชฌะ แตกเป็นลำธาร ๕ สายไหลไป ได้ชื่อแยกตามสายเป็น ๕ ชื่อ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิ.

(๑๔) เอวเมตา  ปญฺจ  มหานทิโย  หิมวนฺตโต  ปภวนฺติ.

มหานที 5 สายเหล่านี้พึงทราบว่า มีต้นกำเนิดมาจากภูเขาหิมพานต์ ด้วยประการฉะนี้.

ที่มาบาลี: ปปัญจสูทนี ภาค 3 อรรถกถามัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (โปตลิยสูตร) หน้า 42-43

คำแปล: ผู้เขียนบาลีวันละคำแปลโดยประสงค์

…………..

ตามคำอธิบายในอรรถกถาที่ยกมานี้ และจากการตรวจสอบในที่อื่นๆ อีก ผู้เขียนบาลีวันละคำขอสันนิษฐานแบบ “ฟันธง” ว่า “อากาสคงฺคา” ในบาลีในที่ทั่วไปหมายถึง “น้ำตก” (a waterfall)

ลักษณะตามธรรมชาติของน้ำตกก็คือ ในช่วงที่ไหลหลุดพ้นจากหน้าผาจนกว่าจะถึงพื้นนั้น จะไหลหลั่งพรั่งพรูลงไปโดยไม่มีอะไรหยุดยั้งได้ เนื่องจากอากาศเป็นที่ว่าง

ท่านเอาลักษณะตามธรรมชาตินี้มาเทียบกับการแสดงธรรมโดยท่านผู้มีความเชี่ยวชาญในธรรมว่า เมื่อแสดงออกไปแล้วก็ราบรื่นไหลหลั่งพรั่งพรูไม่มีติดขัดเลย

…………..

อากาสคงฺคํ  โอตาเรนฺโต  วิย

อุปมาดั่งทำให้น้ำตกไหลหลั่งพรั่งพรูลงมาฉะนั้น

…………..

แต่น้ำตกนั่นเอง มองจากข้างบนอาจไม่รู้สึกอะไรมากนัก แต่เมื่อใดที่ไปอยู่ใต้น้ำตกแล้วมองจากข้างล่างขึ้นไป จะเห็นแต่สายน้ำที่ไหลลงมา เมื่อนั้นแลจะรู้สึกได้ว่า-ช่างเหมือนแม่คงคาที่ตกลงมาจากสวรรค์เสียนี่กระไร

เพราะฉะนั้น ที่ท่านแปลกันมาหรือเข้าใจกันมาว่า “อากาสคงฺคา” คือแม่น้ำที่ไหลมาจากสวรรค์ จะว่าผิดเสียทีเดียวก็มิใช่ มองในแง่หนึ่งก็เท่ากับว่าท่านแปลด้วยจินตนาการบรรเจิด-ซึ่งก็นับว่าอลังการไปอีกแบบหนึ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เห็นผิดท่าพากันทักหนักเป็นเบา

: * “นักเลงเขาไม่หาญราญนักเลง” *

*-*วรรคหนึ่งของเพลงยาวอิศรญาณ หรืออิศรญาณภาษิต

#บาลีวันละคำ (3,253)

9-5-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *