บาลีวันละคำ

มูลภัณฑ์กันชน (บาลีวันละคำ 3,260)

มูลภัณฑ์กันชน

อ่านว่า มูน-ละ-พัน-กัน-ชน

ประกอบด้วยคำว่า มูลภัณฑ์ + กันชน

มูลภัณฑ์” เป็นคำบาลี “กันชน” เป็นคำไทย

มูลภัณฑ์” แยกศัพท์เป็น มูล + ภัณฑ์

(๑) “มูล

บาลีอ่านว่า มู-ละ รากศัพท์มาจาก มูลฺ (ธาตุ = ตั้งอยู่, งอกขึ้น) + (อะ) ปัจจัย

: มูลฺ + = มูล แปลตามศัพท์ว่า “ที่ตั้ง” “ที่งอกขึ้น

มูล” (นปุงสกลิงค์) ในภาษาลีมีความหมายหลายหลาก ดังนี้ –

(1) รากไม้ (root)

(2) โคน, ก้น (foot, bottom)

(3) หลักฐาน, เหตุผล, สาเหตุ, เงื่อนไข (ground for, reason, cause, condition)

(4) กำเนิด, บ่อเกิด, พื้นฐาน, รากฐาน (origin, source, foundation, root)

(5) ปฐม, เริ่มแรก, ฐาน, เค้าความเดิม, เรื่องเดิม (beginning, base)

(6) แก่นสาร, มูลฐาน, ค่า, เงิน, ต้นทุน, ราคา, สินจ้าง (substance, foundation, worth, money, capital, price, remuneration)

ในที่นี้ “มูล” มีความหมายนัยแห่งข้อ (4) และข้อ (5)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “มูล” ไว้ 4 คำ ที่มีความหมายตามนัยที่ประสงค์ในที่นี้คือ มูล ๑ บอกไว้ดังนี้ –

มูล ๑, มูล– : (คำนาม) โคน เช่น รุกขมูล; ราก, รากเหง้า, เช่น มีโทสะเป็นมูล, เค้า เช่น คดีมีมูล, ต้น เช่น ชั้นมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).”

(๒) “ภัณฑ์

เขียนแบบบาลีเป็น “ภณฺฑ” อ่านว่า พัน-ดะ รากศัพท์มาจาก ภฑิ (ธาตุ = ห่อ, เก็บ) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุ (ภฑิ > ภํฑิ) แล้วแปลงเป็น , ลบ และสระที่สุดธาตุ

: ภฑิ > ภํฑิ > ภณฺฑิ + = ภณฺฑิก > ภณฺฑิ > ภณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันบุคคลพึงห่อเก็บ” เดิมหมายถึงสิ่งซึ่งสามารถห่อแล้วเก็บไว้ได้ ต่อมาความหมายขยายไปถึงสิ่งของทั่วไป

ภณฺฑ” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง (1) ของค้าขาย; สินค้า, สิ่งของ, ทรัพย์สมบัติ (stock in trade; collectively goods, wares, property, possessions) (2) เครื่องใช้, วัตถุ, เครื่องมือ (implement, article, instrument)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภัณฑ-, ภัณฑ์ : (คำนาม) สิ่งของ, เครื่องใช้. (ป.; ส. ภาณฺฑ).”

มูล + ภัณฑ์ = มูลภัณฑ์ แปลว่า “สิ่งของที่มีราคาเดิม” คือเดิมซื้อมาด้วยราคาเท่าไร ต่อมาแม้ของสิ่งนั้นจะซื้อขายกันด้วยราคาที่สูงขึ้น เมื่อจะขายของสิ่งนั้นก็ยังคงขายในเท่ากับเมื่อตอนซื้อมา

คำว่า “มูลภัณฑ์” คำเดียว พจนานุกรมฯ ไม่ได้เก็บไว้ แต่เก็บเป็นคำว่า “มูลภัณฑ์กันชน

คำว่า “กันชน” เป็นคำไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กันชน : (คำนาม) เครื่องป้องกันการกระทบกระแทกด้านหน้าและด้านหลังรถยนต์, เรียกประเทศที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ว่า ประเทศกันชน.”

มูลภัณฑ์ + กันชน = มูลภัณฑ์กันชน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มูลภัณฑ์กันชน : (คำนาม) ของที่ซื้อสะสมไว้เมื่อมีราคาตํ่า และนําออกขายเมื่อของนั้นมีราคาสูงเกินควร เพื่อรักษาระดับราคาของนั้นให้มีเสถียรภาพ. (อ. buffer stock).”

มูลภัณฑ์กันชน” เป็นคำที่บัญญัติเทียบคำอังกฤษว่า buffer stock

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล buffer เป็นบาลีดังนี้:

paṭighātanivāraka ปฏิฆาตนิวารก (ปะ-ติ-คา-ตะ-นิ-วา-ระ-กะ) = เครื่องกันกระแทก

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ซื้อขายระดับชาติต้องมีมูลภัณฑ์กันชน

: ระดับสติของแต่ละคนเป็นเครื่องกันชนชีวิต

#บาลีวันละคำ (3,260)

16-5-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *