บาลีวันละคำ

ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ (บาลีวันละคำ 3,376)

ยัง กัมมัง กะริสสันติ 

กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา  (ชุดพรหมวิหารภาวนา)

จักทำกรรมอันใดไว้ 

ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม

ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา” เขียนแบบบาลีเป็น “ยํ กมฺมํ กริสฺสนฺติ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา” อ่านว่า ยัง กำ-มัง กะ-ริด-สัน-ติ กัน-ลฺยา-นัง วา ปา-ปะ-กัง วา

มีคำบาลีที่ควรทำความรู้จักไว้ คือ “ยํ” “กมฺมํ” “กริสฺสนฺติ” “กลฺยาณํ” “วา” และ “ปาปกํ” 

(๑) “ยํ” 

อ่านว่า ยัง รูปศัพท์เดิมเป็น “” (ยะ) เป็นศัพท์จำพวก “สัพพนาม” ประเภท “วิเสสนสัพพนาม” คือเป็นคำคุณศัพท์ทำหน้าที่ขยายคำนาม

” แปลว่า “ใด, อะไร, อะไรก็ตาม” (which, what, whatever)

ในที่นี้ “” ทำหน้าที่ขยาย “กมฺมํ” จึงต้องประกอบลิงค์ วจนะ วิภัตติ ตามคำที่ตนขยาย “” จึงเปลี่ยนรูปเป็น “ยํ

(๒) “กมฺมํ” 

อ่านว่า กำ-มัง รูปคำเดิมเป็น “กมฺม” อ่านว่า กำ-มะ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม” 

กมฺม” (นปุงสกลิงค์) แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “กมฺมํ” (กำ-มัง) แปลว่า “ซึ่งกรรม

กมฺมํ” ในที่นี้เขียนแแบบคำอ่านเป็น “กัมมัง

(๓) “กริสฺสนฺติ” 

อ่านว่า กะ-ริด-สัน-ติ เป็นคำกริยาที่เรียกว่า “กริยาอาขยาต” (– อา-ขะ-หฺยาด) 

พึงทราบว่า ในหมู่นักเรียนบาลีไทย คำว่า “กริยา” จะใช้ว่า “กิริยา” ไม่ใช่ “กริยา” เพราะฉะนั้น “กริยาอาขยาต” ถ้าเขียนให้ถูกหลักนิยมนักเรียนบาลีไทยต้องเขียนว่า “กิริยาอาขยาต”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายคำว่า “อาขยาต” ไว้ดังนี้ –

อาขยาต : (คำวิเศษณ์) กล่าวแล้ว. (คำนาม) ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).”

กริสฺสนฺติ” รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + โอ ปัจจัยประจำหมวดธาตุ, ลบ โอ, ลง อิ อาคมหน้าวิภัตติ + สฺสนฺติ (วิภัตติอาขยาต หมวดภวิสสันติ บอกอนาคตกาล) พหูพจน์ ปฐมบุรุษ (ประธานในประโยคเป็นผู้ที่เราพูดถึง) กัตตุวาจก

: กรฺ + โอ = กโร > กร + อิ + สฺสนฺติ = กริสฺสนฺติ แปลตามศัพท์ว่า “(สัตว์ทั้งหลาย) จักทำ” 

(๔) “กลฺยาณํ” 

อ่านว่า กัน-ลฺยา-นัง รูปคำเดิมเป็น “กลฺยาณ” อ่านว่า กัน-ลฺยา-นะ รากศัพท์มาจาก กลฺย (เหมาะสม, ดีงาม) + อณฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ (กลฺ)- เป็น อา

: กลฺย + อณฺ = กลฺยณ + = กลฺยณณ > กลฺยณ > กลฺยาณ แปลตามศัพท์ว่า (1) “กรรมที่ถึงความปราศจากโรค” (คือไม่เจ็บไม่ป่วย แข็งแรง = ดีงาม) (2) “กรรมที่ยังบุคคลให้ถึงประโยชน์เกื้อกูล” 

กลฺยาณ” (คุณศัพท์) มีความหมายหลายอย่าง คือ –

(1) งดงาม, ดีงาม, มีเสน่ห์, เป็นศุภมงคล, เป็นอนุเคราะห์, มีประโยชน์, มีคุณธรรมดี (beautiful, charming; auspicious, helpful, morally good)

(2) สิ่งที่ดีหรือมีประโยชน์, ของดีต่างๆ (a good or useful thing, good things)

(3) ความดี, คุณธรรม, บุญกุศล, กุศลกรรม (goodness, virtue, merit, meritorious action)

(4) ความกรุณา, ความอุปการะ (kindness, good service) 

(5) ความงาม, ความสะดุดตาหรือดึงดูดใจ, ความสมบูรณ์พร้อม (beauty, attraction, perfection)

กลฺยาณ” ภาษาไทยใช้เป็น “กัลยาณ” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กัลยาณ– : (คำวิเศษณ์) งาม, ดี, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น กัลยาณคุณ = คุณอันงาม กัลยาณธรรม = ธรรมอันดี กัลยาณมิตร = มิตรดี. (ป., ส.).”

กลฺยาณ” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “กลฺยาณํ” (กัน-ลฺยา-นัง) แปลว่า “(ซึ่งกรรม) อันงาม” หมายถึง กรรมดี

กลฺยาณํ” ในที่นี้เขียนแแบบคำอ่านเป็น “กัล๎ยาณัง

(๕) “วา” 

อ่านตรงตัวว่า วา เป็นศัพท์จำพวก “นิบาต” อยู่ในกลุ่ม “นิบาตสำหรับผูกศัพท์และประโยคมีอัตถะเป็นอเนก” แปลว่า หรือ, ก็ตาม (or) ใช้ควบกับคำอื่นเสมอ ไม่ใช้เดี่ยวๆ

(๖) “ปาปกํ” 

อ่านว่า ปา-ปะ-กัง รูปคำเดิมเป็น “ปาปก” อ่านว่า ปา-ปะ-กะ รากศัพท์มาจาก ปาป + สกรรถ

(ก) “ปาป

อ่านว่า ปา-ปะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปา (ธาตุ = รักษา) + (อะ) ปัจจัย, ลง อาคม

: ปา + + = ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมเป็นแดนรักษาตนแห่งเหล่าคนดี” คือคนดีจะป้องกันตนโดยออกห่างแดนชนิดนี้

(2) ปา (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย

: ปา + = ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่รักษาอบายภูมิไว้” คือเพราะมีคนทำกรรมชนิดนี้ อบายภูมิจึงยังคงมีอยู่

(3) (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + อป (ธาตุ = ให้ถึง) + (อะ) ปัจจัย, ลบสระหน้า (คือ ที่ ป) ทีฆะสระหลัง (คือ ที่ อป เป็น อา-)

: + อป > อาป = ปาป + = ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ยังผู้ทำให้ถึงทุคติ

(4) (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + เป (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ทีฆะ (ที่ ) เป็น อา, ลบ เอ ที่ เป

: > ปา + เป > = ปาป + = ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมเป็นเหตุไปสู่อบาย

ปาป” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ความชั่ว, ความเลวร้าย, การทำผิด, (evil, sin, wrong doing); เลวร้าย, เป็นอกุศล, ชั่ว, เลวทราม, บาป (evil, bad, wicked, sinful)

ในภาษาไทยใช้ว่า “บาป” (ปา– เป็น บา-) อ่านว่า บาบ ถ้ามีคำอื่นมาสมาส อ่านว่า บาบ-ปะ- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บาป, บาป– : (คำนาม) การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามในศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง.(คำวิเศษณ์) ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).”

(ข) ปาป + สกรรถ (กะ-สะ-กัด, ลง – ข้างท้าย มีความหมายเท่าเดิม)

: ปาป + = ปาปก แปลเท่าศัพท์เดิมว่า “บาป” 

ปาปก” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “ปาปกํ” (ปา-ปะ-กัง) แปลว่า “(ซึ่งกรรม) อันเป็นบาป” หมายถึง กรรมชั่ว

ปาปกํ” ในที่นี้เขียนแแบบคำอ่านเป็น “ปาปะกัง

ขยายความ :

ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา” แปลรวมทั้งประโยคว่า “อันว่าสัตว์ทั้งหลายจักกระทำซึ่งกรรมอันใด คือกรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม” 

ข้อความประโยคนี้เป็นคำที่ใช้ในคำแผ่พรหมวิหารภาวนาในส่วนที่เรียกว่า “แผ่อุเบกขา” 

คำ “แผ่อุเบกขา” มีคำบาลีที่กำหนดไว้ดังนี้ –

…………..

สพฺเพ  สตฺตา 

กมฺมสฺสกา 

กมฺมทายาทา 

กมฺมโยนี 

กมฺมพนฺธู 

กมฺมปฏิสรณา 

ยํ  กมฺมํ  กริสฺสนฺติ 

กลฺยาณํ  วา  ปาปกํ วา 

ตสฺส  ทายาทา  ภวิสฺสนฺติ. 

…………..

เขียนแบบคำอ่านเป็นดังนี้ –

…………..

สัพเพ  สัตตา 

กัมมัสสะกา 

กัมมะทายาทา 

กัมมะโยนี 

กัมมะพันธู 

กัมมะปะฏิสะระณา 

ยัง  กัมมัง  กะริสสันติ 

กัล๎ยาณัง  วา  ปาปะกัง วา 

ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ. 

…………..

คำบาลีสลับคำแปลที่นิยมแปลกันเป็นดังนี้ –

……………

สัพเพ  สัตตา = สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น 

กัมมัสสะกา = เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน 

กัมมะทายาทา = เป็นผู้รับผลของกรรม 

กัมมะโยนี = เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด 

กัมมะพันธู = เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ 

กัมมะปะฏิสะระณา = เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย 

ยัง  กัมมัง  กะริสสันติ = จักทำกรรมอันใดไว้ 

กัล๎ยาณัง  วา  ปาปะกัง วา = ดีหรือชั่ว 

ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ. = จักเป็นผู้รับผลของกรรมอันนั้น.

…………..

อภิปราย:

เรานิยมบอกกล่าวแนะนำกันให้ “แผ่เมตตา” มีคำกล่าวแผ่เมตตาเป็นที่รู้กันทั่วไป แต่การแผ่มุทิตาเป็นเรื่องที่แทบจะไม่มีใครเอ่ยถึง ไม่มีใครนำมาเสนอแนะ ทั้งๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งในพรหมวิหารภาวนาเช่นเดียวกับแผ่เมตตานั่นเอง

แผ่เมตตา ใช้เมื่อเพื่อนมนุษย์มีชีวิตอยู่เป็นปกติสุข

แผ่กรุณา ใช้เมื่อเพื่อนมนุษย์ประสบปัญหา

แผ่มุทิตา ใช้เมื่อเพื่อนมนุษย์ประสบความสำเร็จ

แผ่อุเบกขา ใช้เมื่อไม่อยู่ในวิสัยที่จะแผ่เมตตา แผ่กรุณา หรือแผ่มุทิตาได้ 

ตัวอย่างเช่น เห็นนักโทษถูกตัดสินประหารชีวิต กรณีเช่นนี้จะแผ่เมตตาก็ไม่ได้ เพราะเขาไม่ได้มีชีวิตอยู่เป็นปกติสุข แผ่กรุณาก็ไม่ได้ เพราะไม่อยู่ในวิสัยที่เราจะช่วยอะไรเขาได้ แผ่มุทิตาเป็นอันไม่ต้องพูดถึงเพราะไม่ใช่โอกาสอันควรจะยินดีกับเขา

ถ้าไม่มีหลักหรือไม่มีวิธีคิดที่ถูกต้อง เราก็จะเป็นทุกข์ วุ่นวายใจไปด้วยประการต่างๆ กรณีเช่นนี้แหละที่ท่านแนะให้แผ่อุเบกขา

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกความหมายของ “อุเบกขา” ไว้ดังนี้ –

…………..

(1) ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง (ข้อ 4 ในพรหมวิหาร 4) 

(2) ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่า อุเบกขาเวทนา ( = อทุกขมสุข); (ข้อ 3 ในเวทนา 3)

…………..

ถ้าเข้าใจได้อย่างนี้ แทนที่จะแผ่เมตตาอย่างเดียว หรือแนะนำสั่งสอนกันให้แผ่แต่เมตตา ก็ควรสนใจที่จะแผ่กรุณา แผ่มุทิตา และแผ่อุเบกขาให้แก่กันด้วย และช่วยกันทำให้มากขึ้น อย่างน้อยที่สุดก็อย่าให้น้อยไปกว่าที่แผ่เมตตา

…………..

ดูเพิ่มเติม: 

สัพเพ สัตตา” บาลีวันละคำ (2,859) 10-4-63 

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ใครบังคับเราให้ทำดีทำชั่ว

: ถ้าไม่ใช่ตัวของเราเอง

#บาลีวันละคำ (3,376) (ชุดพรหมวิหารภาวนา)

9-9-64 

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *