บาลีวันละคำ

มายาการ (บาลีวันละคำ 2,769)

มายาการ

อ่านว่า มา-ยา-กาน

ประกอบด้วยคำว่า มายา + การ

(๑) “มายา

ในภาษาบาลีรากศัพท์มาจาก –

(1) มย (อสูร) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ -(ย) เป็น อา (มย > มาย) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: มย + = มยณ > มย > มาย + อา = มายา แปลตามศัพท์ว่า “กลลวงของอสูร (ที่ใช้เพื่อลวงเทวดา)

ความหมายนี้สืบเนื่องมาจากตำนาน “เทวาสุรสงคราม” (การรบระหว่างเทวดากับอสูร) ซึ่งพวกอสูรใช้เล่ห์กลต่างๆ เพื่อจะเอาชนะเทวดา

เผ่าพวกอสูร มีคำเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มย” (มะ-ยะ) กลลวงของอสูรจึงมีชื่อเรียกว่า “มายา

(2) มา (ธาตุ = กะ, ประมาณ) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: มา + = มาย + อา = มายา แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่เทียบความดีของตนกับความดีเยี่ยมอื่น” หมายความว่า เอาความดีของตนซึ่งมีเล็กน้อยหรือไม่มีเลยไปแสดงอาการให้เข้าใจว่ามีความดีมาก = ลวงเขาให้เข้าใจผิด

มายา” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ :

(1) รูปลวง, การล่อลวง, การหลอกลวง, การโกง, การหน้าไหว้หลังหลอก (deceptive appearance, fraud, deceit, hypocrisy)

(2) สูตรลึกลับ, กลวิเศษ, มายา, เล่ห์กระเท่ห์ (mystic formula, magic, trick)

(3) การตบตา, การเล่นกล (jugglery, conjuring)

โปรดสังเกตคำแปลเป็นอังกฤษคำหนึ่ง คือ magic

นักภาษาบอกว่า magic กับ มายา เป็นคำเดียวกัน (ภาษาบาลีกับภาษาอังกฤษอยู่ในตระกูลเดียวกัน)

ถ้าถอดรูปคำ ก็จะเห็นได้ชัดขึ้น :

ma = มา

gic = ยิก

magic = มายิก

: มายา + อิก = มายิก = ผู้มีมายา

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มายา : (คำนาม) มารยา, การลวง, การแสร้งทํา, เล่ห์กล. (ป., ส.).”

(๒) “การ

บาลีอ่านว่า กา-ระ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (กรฺ > การ)

: กรฺ + = กรณ > กร > การ แปลตามศัพท์ว่า “การทำ

การ” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การกระทำ, กิริยาอาการ, วิธีทำ (doing, manner, way)

(2) กรรม, การบริการ, การกระทำที่แสดงความเมตตา หรือความเคารพ หรือความนับถือ (deed, service, act of mercy or worship, homage)

(3) ผู้ทำ หรือผู้จัดการ หรือผู้ค้า (one who does, handles or deals)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) การ ๑ : (คำนาม) งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทํากริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.

(2) –การ ๓ : คําประกอบท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.

มายา + การ = มายาการ บาลีอ่านว่า มา-ยา-กา-ระ แปลว่า “ผู้กระทำมายา” หมายถึง นักมายากล, นักเล่นกล (a conjurer, magician)

แต่ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มายาการ : (คำนาม) ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดผลด้วยการใช้พลังหรืออํานาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือหลักลี้ลับ บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ.”

อภิปราย :

จะเห็นได้ว่า “มายาการ” ในบาลีกับ “มายาการ” ในภาษาไทยความหมายไม่ตรงกัน

“-การ” ในคำว่า “มายาการ” บาลีหมายถึง “ผู้ทำ” คือบุคคล

จริงอยู่ “-การ” ในบาลีหมายถึง “การกระทำ” ก็ได้ (ดูความหมายข้างต้น) แต่ในคำว่า “มายาการ” นี้ “-การ” หมายถึง “ผู้ทำ

เทียบ “-การ” ในบาลีที่หมายถึง “ผู้ทำ” เช่น –

มาลาการ” หมายถึง ช่างร้อยมาลัย, คนขายดอกไม้, คนสวน (garland-maker, florist, gardener)

สุวณฺณการ” หมายถึง ช่างทอง (goldsmith)

อยการ” หมายถึง ช่างเหล็ก (iron-smith)

แต่ภาษาไทย “-การ” ในคำว่า “มายาการ” ไม่ได้หมายถึง “ผู้ทำ” คือบุคคล แต่หมายถึง “ความเชื่อถือและการปฏิบัติ” (ดูความหมายตามพจนานุกรมฯ ข้างต้น) เป็นความหมายของ “-การ” ที่หมายถึง “การกระทำ

ถ้าเช่นนั้น “มายาการ” ในภาษาไทยมาจาก มายา + อาการ (มายา + อาการ = มายาการ) ได้หรือไม่?

คำว่า “อาการ” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาการ, อาการ– : (คำนาม) สภาพที่เป็นอยู่หรือที่เป็นไป เช่น อาการซึมเศร้า; กิริยาท่าทาง เช่น อาการตื่นเต้น; ความรู้สึก สิ่งที่ปรากฏ หรือภาวะผิดปรกติในร่างกายที่บ่งบอกความมีโรค เช่น อาการเจ็บคอ อาการเจ็บหน้าอก อาการชักกระตุก; ลักษณะเดียวกัน เช่น โดยอาการนั้น; ส่วนของร่างกายรวมทั้งอวัยวะภายนอก อวัยวะภายใน และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องภายในร่างกายซึ่งทางพระพุทธศาสนานิยมว่ามี ๓๒ อย่าง เรียกว่า อาการ ๓๒ เช่น ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก จนถึงน้ำมูตร (น้ำปัสสาวะ) และเยื่อในสมอง. (ป., ส.).”

ถ้า “มายาการ” ในภาษาไทยมาจาก มายา + อาการ ก็ต้องแปลว่า “สภาพที่เป็นอยู่หรือที่เป็นไปแห่งมายา” ซึ่งก็ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไรอย่างไร

ความอร่อยของภาษาอยู่ที่การช่วยกันขบคิดปริศนาที่ซ่อนแฝงอยู่ในคำนั้นๆ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ชีวิตคือมายาการ

: จนกว่าจะบรรลุพระนฤพานจึงจะเห็นความจริง

#บาลีวันละคำ (2,769)

11-1-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *