บาลีวันละคำ

อนาถา (บาลีวันละคำ 2,846)

อนาถา

อ่านว่า อะ-นา-ถา

มาจากคำบาลีว่า “อนาถ” (อะ-นา-ถะ) รูปคำประกอบขึ้นจาก + นาถ

(๑) “” (นะ)

แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี

” เป็นศัพท์จำพวกที่เรียกว่า “นิบาต” ศัพท์จำพวกนี้ไม่แจกรูปด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ แต่อาจเปลี่ยนแปลงโดยหลักเกณฑ์อื่นได้

(๒) “นาถ” (นา-ถะ)

รากศัพท์มาจาก นาถฺ (ธาตุ = ประกอบ, ขอร้อง, ปรารถนา, เป็นใหญ่, ทำให้ร้อน) + ปัจจัย

: นาถฺ + = นาถ แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ผู้กอปรประโยชน์แก่ผู้อื่น

(2) “ผู้ขอร้องคนอื่นให้บำเพ็ญประโยชน์นั้นๆ

(3) “ผู้ปรารถนาประโยชน์สุขแก่ผู้ที่ควรช่วยเหลือ

(4) “ผู้เป็นใหญ่กว่าผู้ที่ควรช่วยเหลือ” (ผู้ช่วยเหลือย่อมอยู่เหนือผู้รับการช่วยเหลือ)

(5) “ผู้ยังกิเลสให้ร้อน” (เมื่อจะช่วยเหลือคนอื่น ความตระหนี่ ความเกียจคร้านเป็นต้นจะถูกแผดเผาจนทนนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้)

นาถ” ความหมายที่เข้าใจกันคือ ที่พึ่ง, ผู้ปกป้อง, การช่วยเหลือ (protector, refuge, help)

บาลี “นาถ” สันสกฤตก็เป็น “นาถ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

นาถ : (คำนาม) อธิบดี, สวามิน, เจ้า, นาย; นามพระศิวะ; เชือกสนตะพายวัวเทียมลาก; a lord, a master; the name of Śiva; a rope passed through the nose of a draft-ox.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นาถ : (คำนาม) ที่พึ่ง, ผู้เป็นที่พึ่ง, เช่น โลกนาถ. (ป., ส.).”

การประกอบศัพท์ :

+ นาถ น่าจะเป็น “นนาถ

แต่กฎบาลีไวยากรณ์บอกว่า “” เมื่อประสมข้างหน้าคำอื่น = + :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ- อา- อิ- อี- อุ- อู- เอ- โอ-) แปลง เป็น อน– เช่น :

+ อามัย = อนามัย

+ เอก = อเนก

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น :

+ นิจจัง = อนิจจัง

+ มนุษย์ = อมนุษย์

+ นาถ

นาถ” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ (-) ตามกฎจึงต้องแปลง “” เป็น “

: + นาถ = นนาถ > อนาถ

อนาถ” แปลว่า ไม่ใช่ที่พึ่ง, ไม่เป็นที่พึ่ง, ไร้ที่พึ่ง, ไม่มีผู้ปกป้อง, ยากจน (helpless, unprotected, poor)

อภิปราย :

อนาถ” ในบาลีมีความหมายคงที่ แต่เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เราใส่อารมณ์หรือความรู้สึกลงไปในคำ ทำให้ความหมายเคลื่อนที่ไปบ้าง เช่น –

ใช้เป็น “อนาถ” คำเดียว พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อนาถ : (คำกริยา) สงสาร, สังเวช, สลดใจ. (ป., ส. อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง).”

ใช่ร่วมกับ “อนิจ” แผลงรูปเป็น “อเนจอนาถ” (อะ-เหฺน็ด-อะ-หฺนาด) พจนานุกรมฯ บอกไว้ว่า –

อเนจอนาถ : (คำกริยา) สลดใจเป็นอย่างยิ่ง. (ป. อนิจฺจ ว่า ไม่เที่ยง + อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง).”

ใช้ “อนาถ” คำเดียว แต่ลากเสียงท้ายคำเป็น “อนาถา” เช่น คนไข้อนาถา ผู้ป่วยอนาถา สถานสงเคราะห์คนอนาถา

หรือเมื่อเห็นใครควรมีควรได้ควรใช้สิ่งของเครื่องใช้ที่สมควรแก่ฐานะหรือควรแก่หน้าที่การงานที่กำลังปฏิบัติอยู่ แต่กลับไม่มีไม่ได้ไม่ใช้สิ่งนั้น จะด้วยความจำเป็นหรือขัดข้องอย่างใดๆ ก็ตาม เช่นแพทย์สนาม ขาดแคลนเครื่องมือทางการแพทย์ ต้องใช้เครื่องมือตามมีตามได้ ก็มีผู้เรียกว่า “แพทย์อนาถา” เป็นต้น

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อนาถา : (คำวิเศษณ์) ไม่มีที่พึ่ง, กําพร้า, ยากจน, เข็ญใจ. (ป., ส. อนาถ).”

ธรรมบรรณาการ :

ในทางคดีโลก พึงแก้ปัญญาภาวะอนาถาไปตามเหตุตามปัจจัย

ส่วนในทางคดีธรรม พึงแก้ปัญญาภาวะอนาถาทางใจด้วยการบำเพ็ญ “นาถกรณธรรม” (นา-ถะ-กะ-ระ-นะ-ทำ) แปลว่า “ธรรมอันกระทำที่พึ่ง” ดังจะขอยกข้อความจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [324] มาเสนอเป็นธรรมบรรณาการ ดังนี้ –

…………..

นาถกรณธรรม 10: ธรรมอันกระทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้ตนเป็นที่พึ่งของตนได้ (Nāthakaraṇa-dhamma: virtues which make for protection)

1. สีล: ความประพฤติดีงามสุจริต รักษาระเบียบวินัย มีอาชีวะบริสุทธิ์ (Sīla: good conduct; keeping moral habits)

2. พาหุสจฺจ: ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก มีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้ง (Bāhusacca: great learning)

3. กลฺยาณมิตฺตตา: ความมีกัลยาณมิตร, การคบคนดี ได้ที่ปรึกษา และผู้แนะนำสั่งสอนที่ดี (Kalyāṇamittatā: good company; association with good people)

4. โสวจสฺสตา: ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รับฟังเหตุผล (Sovacassatā: amenability to correction; meekness; easy admonishability)

5. กิงฺกรณีเยสุ ทกฺขตา: ความเอาใจใส่ช่วยขวนขวายในกิจใหญ่น้อยทุกอย่างของเพื่อนร่วมหมู่คณะ รู้จักพิจารณาไตร่ตรอง สามารถจัดทำให้สำเร็จเรียบร้อย (Kiŋkaraṇīyesu dakkhatā: willingness to give a helping hand; diligence and skill in managing all affairs of

one’s fellows in the community)

6. ธมฺมกามตา: ความเป็นผู้ใคร่ธรรม คือ รักธรรม ใฝ่ความรู้ใฝ่ความจริง รู้จักพูดรู้จักรับฟัง ทำให้เกิดความพอใจ น่าร่วมปรึกษาสนทนา ชอบศึกษา ยินดีปรีดาในหลักธรรมหลักวินัยที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป (Dhammakāmatā: love of truth; to love the Dhamma, be pleasant to consult and converse with and rejoice in the advanced teaching of both the Doctrine and the Discipline)

7. วิริยารมฺภ: ความขยันหมั่นเพียร คือ เพียรละความชั่ว ประกอบความดี มีใจแกล้วกล้า บากบั่น ก้าวหน้า ไม่ย่อท้อ ไม่ทอดทิ้งธุระ (Viriyārambha: energy; effort; energetic exertion)

8. สนฺตุฏฺฐี: ความสันโดษ คือ ยินดี มีความสุขความพอใจด้วยปัจจัยสี่ที่หามาได้ด้วยความเพียรอันชอบธรรมของตน (Santuṭṭhī: contentment)

9. สติ: ความมีสติ รู้จักกำหนดจดจำ ระลึกการที่ทำคำที่พูดไว้ได้ เป็นอยู่อย่างไม่ประมาท (Sati: mindfulness; ability to remember what one has done and spoken)

10. ปญฺญา: ความมีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล รู้จักคิดพิจารณา เข้าใจภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง (Paññā: wisdom; insight)

นาถกรณธรรมนี้ ท่านเรียกว่าเป็น พหุการธรรม หรือ ธรรมมีอุปการะมาก เพราะเป็นกำลังหนุนในการบำเพ็ญคุณความดีทั้งหลาย ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จได้อย่างกว้างขวางไพบูลย์

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อนาถาเป็นที่สุด

: คืออุตส่าห์ได้เกิดเป็นมนุษย์ แต่ไม่มีน้ำใจ

—————-

(ตามคำขอของ Pranee Nangkaew Rapa)

#บาลีวันละคำ (2,846)

28-3-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย