บาลีวันละคำ

อัจเจกแพทย์ (บาลีวันละคำ 2,860)

อัจเจกแพทย์

แพทย์ฉุกเฉิน

อ่านว่า อัด-เจก- กะ-แพด ก็ได้

อ่านว่า อัด-เจ- กะ-แพด ก็ได้

ประกอบด้วยคำว่า อัจเจก + แพทย์

(๑) “อัจเจก

เขียนแบบบาลีเป็น “อจฺเจก” (อัด-เจ-กะ) รากศัพท์มาจาก –

(ก) อติ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, เกิน, ล่วง) + อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , แปลง ติ เป็น จฺจ (อติ > อจฺจ), แปลง อิ ธาตุเป็น

: อติ + อิ = อติอิ + = อติอิณ > อติอิ > อจฺจอิ > อจฺจย (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ล่วงเลยความปกติไป

(ข) อจฺจย + ณิก ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ (อจฺ)-– เป็น อา (อจฺจย > อจฺจาย)

: อจฺจย + ณิก = อจฺจยิก > อจฺจายิก (อัด-จา-ยิ-กะ) แปลว่า “อาการที่เป็นไปอย่างเร่งด่วน

อจฺจายิก” (คุณศัพท์) ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ผิดธรรมดา, วิสามัญ (irregular, extraordinary)

(2) เร่งด่วน, ประกอบด้วยความรีบเร่ง (urgent, pressing)

(ค) “อจฺจายิก” ออกเสียงลัดคำเป็น “อจฺเจก” (อัด-เจ-กะ) หรือกล่าวตามสูตรว่า แปลง “อจฺจายิก” เป็น “อจฺเจก” มีความหมายเท่ารูปคำเดิม

อจฺเจก” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อัจเจกะ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อัจเจกะ : (คำวิเศษณ์) ผิดปรกติ, บังเอิญเป็น; รีบร้อน; จําเป็น. (ป.).”

ในกรณีมีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย สะกดเป็น “อัจเจก-”

(๒) “แพทย์

บาลีเป็น “เวชฺช” (เวด-ชะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) วิชฺชา ( = ความรู้ทางยา) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ วิชฺ-เป็น เอ, ลบ และลบสระท้ายคำหน้า : วิชฺชา > วิชฺช

: วิชฺชา + = วิชฺชา > เวชฺชา > เวชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้วิชาทางยา

(2) วิทฺ (ธาตุ = รู้) + ณฺย ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ วิ-เป็น เอ, แปลง ทฺย เป็น ชฺช

: วิทฺ + ณฺย = วิทฺย > เวทฺย > เวชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้การเยียวยา

เวชฺช” (ปุงลิงค์) หมายถึง หมอรักษาโรค

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เวชฺช” ว่า a physician, doctor, medical man, surgeon (หมอ, แพทย์, หมอยา, ศัลยแพทย์)

เวชฺช” สันสกฤตเป็น “ไวทฺย” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ไวทฺย : (คำนาม) ‘แพทย์’ หมอยา, หมอรักษาโรค; ผู้คงแก่เรียน; ผู้คงแก่เรียนในพระเวท; a physician, a learned man; one well versed in Vedas;- (คำวิเศษณ์) อันเป็นสัมพันธินแก่ยา; medical relating to medicine.”

เวชฺช” ใช้ในภาษาไทยว่า “แพทย์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

แพทย-, แพทย์ : (คำนาม) หมอรักษาโรค. (ส. ไวทฺย).”

อัจเจก + แพทย์ = อัจเจกแพทย์ แปลตามศัพท์ว่า “หมอเร่งด่วน

อัจเจกแพทย์” เป็นคำสนุกๆ ที่มีผู้คิดขึ้นเลียนความหมายคำว่า “แพทย์ฉุกเฉิน” หรือ “หมอฉุกเฉิน” หรือคำฝรั่งว่า Emergency physicians

จะว่าเป็นคำสนุกๆ ก็ได้

หรือถ้าจะใช้เป็นศัพท์บัญญัติจริงๆ ก็ไม่เลว

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทำมาหากิน ให้นึกว่าจะอยู่ไปร้อยปี

: ทำความดี ให้นึกว่าจะตายวันตายพรุ่ง

#บาลีวันละคำ (2,860)

11-4-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย