บาลีวันละคำ

บรรลัยกัลป์ (บาลีวันละคำ 2,875)

บรรลัยกัลป์

น่าจะต้องเริ่มนับวันที่มันจะมา

อ่านว่า บัน-ไล-กัน

ประกอบด้วยคำว่า บรรลัย + กัลป์

(๑) “บรรลัย

บาลีเป็น “ปลย” (ปะ-ละ-ยะ) รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ลี (ธาตุ = สิ้นไป) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อี ที่ ลี เป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย (ลี > เล > ลย)

: + ลี = ปลี + = ปลีณ > ปลี > ปเล > ปลย (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “กาลเป็นที่สิ้นไปแห่งโลก” หมายถึง การละลายไป, กระจัดกระจายไป (dissolution, dispersion)

บาลี “ปลย” ภาษาไทยใช้เป็น “ประลัย” (ปฺระ-ไล) ก็มี “บรรลัย” (บัน-ไล) ก็มี ในที่นี้ใช้เป็น “บรรลัย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรรลัย : (คำกริยา) ฉิบหาย, วอดวาย, ย่อยยับ, มอดม้วย, ประลัย ก็ว่า.”

(๒) “กัลป์

เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “กปฺปฺ” (กับ-ปะ) รากศัพท์มาจาก กปฺปฺ (ธาตุ = กำหนด) + (อะ) ปัจจัย

: กปฺปฺ + = กปฺป (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะอันเขากำหนดขึ้น

กปฺป” ในบาลีใช้ในความหมายหลายอย่าง คือ –

(1) เหมาะสม, สมควร, ถูกต้อง, เหมาะเจาะ (fitting, suitable, proper)

(2) จุดสีดำเล็กๆ (a small black dot)

(3) ทำเลศนัย (a making-up of a trick)

(4) คำสั่ง, คำสั่งสอน, กฎ, ข้อปฏิบัติ, มรรยาท (ordinance, precept, rule; practice, manner)

(5) เวลาที่แน่นอน (a fixed time); เวลาที่กำหนดไว้ชั่วกัปหนึ่ง (time with ref. to individual and cosmic life)

บาลี “กปฺป” สันสกฤตเป็น “กลฺป

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

กลฺป …; : (คำนาม) หนึ่งทิวากับหนึ่งราตรีของพรหม, เวลามีกำหนด ๔,๓๒๑,๐๐๐,๐๐๐ สูรยนักษัตรสังวัตสรกาลบอกสถิติของโลก, และบอกอันตรกาลแห่งความประลัยของโลก; ความประลัยของโลก; … a day and night oa Brahmā, a period of 4,321,000,000 solar-sidereal years, measuring the duration of the world, and the interval of its annihilation; a destruction of the world; …”

บาลี “กปฺป” สันสกฤตเป็น “กลฺป” เราใช้อิงสันสกฤสตเป็น “กัลป-” (กัน-ละ-ปะ- มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “กัลป์” (-กัน อยู่ท้ายคำ) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กัลป-, กัลป์ : (คำนาม) กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑,๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ส.; ป. กปฺป).”

บรรลัย + กัลป์ = บรรลัยกัลป์ (บัน-ไล-กัน)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรรลัยกัลป์ : (คำนาม) เรียกไฟที่เชื่อกันว่าจะล้างโลกเมื่อสิ้นกัปว่า ไฟบรรลัยกัลป์, ไฟกัลป์ หรือ ไฟประลัยกัลป์ ก็ว่า.”

อภิปราย :

ในคัมภีร์ท่านแสดงไว้ว่า โลก-คือวัตถุธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นโลก-เรานี้เมื่อถึงคราวบรรลัยคือพินาศ ย่อมพินาศด้วยน้ำบ้าง ด้วยลมบ้าง ด้วยไฟบ้าง ตามแต่จะถึงคราวพินาศด้วยสิ่งใด แต่ไม่ได้ระบุว่า โลกจะบรรลัยด้วยโรคภัยไข้เจ็บ

โรคภัยไข้เจ็บทำให้โลกธาตุบรรลัยไม่ได้ แต่ทำให้มนุษยชาติบรรลัยได้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: กิเลสคือไฟบรรลัยจิต

: มีพิษยิ่งกว่าไฟบรรลัยกัลป์

#บาลีวันละคำ (2,875)

26-4-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย