บาลีวันละคำ

สาละ (บาลีวันละคำ 2,885)

สาละ

เนื่องในวันวิสาขปุรณีบูชา

อ่านตรงตัวว่า สา-ละ

สาล” บาลีอ่านว่า สา-ละ รากศัพท์มาจาก –

(1) สลฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ต้นธาตุเป็น อา (สลฺ > สาล)

: สลฺ + = สลณ > สล > สาล แปลตามศัพท์ว่า “ต้นไม้ที่เป็นไปปกติ

(2) สาร (แก่น) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น (สาร > สาล)

: สาร + = สารณ > สาร > สาล แปลตามศัพท์ว่า “ต้นไม้ที่มีแก่น

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สาล” ว่า a Sal tree (ต้นสาละ) และบอกชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Shorea robusta

สาล” เป็นชื่อต้นไม้ในพุทธประวัติ เราเรียกทับศัพท์ว่า “ต้นสาละ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สาละ : (คำนาม) ชื่อไม้ต้นชนิด Shorea robusta C.F. Gaertn. ในวงศ์ Dipterocarpaceae. (ป., ส.).”

เป็นอันว่าพจนานุกรมฯ ไม่ได้ให้ความกระจ่างใดๆ นอกจากบอกว่าเป็นชื่อต้นไม้

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยว่า –

สาละ : ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งของอินเดีย พระพุทธเจ้าประสูติและปรินิพพานใต้ร่มไม้สาละ (เคยแปลกันว่า ต้นรัง).”

สาละ” ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติตอนสำคัญ มี 2 แห่ง คือ –

๑ เป็นต้นไม้ในอุทยานอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ พระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรส คือสิทธัตถราชกุมาร ที่ใต้ต้นสาละในอุทยานแห่งนี้

๒ เป็นต้นไม้ในอุทยานอยู่นอกกำแพงเมืองกุสินาราทางทิศใต้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับระหว่างต้นสาละสองต้นเสด็จดับขันธปรินิพพานที่อุทยานแห่งนี้

อนึ่ง พึงทราบว่า ไม้ยืนต้นที่นิยมปลูกตามวัดหลายแห่ง มีลูกเป็นผลกลมขนาดขนาดเขื่องสีน้ำตาล และเรียกกันว่า สาละลังกา นั้น ไม่ใช่สาละที่กล่าวถึงในพุทธประวัติ เป็นไม้คนละชนิดกัน มีคนไทยจำนวนมากที่ยังเข้าใจผิด จึงขอบอกกล่าวไว้ ณ ที่นี้อีกทางหนึ่ง

สาละที่กล่าวถึงในพุทธประวัติหน้าตาเป็นอย่างไร โปรดดูภาพประกอบ

เว็บไซต์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตราด (อ่านเมื่อ 6 พฤษภาคม 2563 เวลา 20:30 น.) อธิบายลักษณะของ “สาละ” อินเดียซึ่งเป็นต้นไม้ในพุทธประวัติ มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ขอนำมาเสนอในที่นี้

…………..

สาละ : ถิ่นกำเนิด พบในประเทศเนปาล และพื้นที่ทางเหนือของประเทศอินเดีย มักขึ้นเป็นกลุ่ม ในบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น เป็นไม้ที่อยู่ในวงศ์ยาง พบมากในลุ่มน้ำยมุนา แถบแคว้นเบงกอลตะวันตก และแคว้นอัสสัม ลักษณะพืช เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทา แตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ปลายกิ่งมักจะลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ใบเดี่ยว ดกหนาทึบ รูปไข่กว้าง โคนใบเว้าเข้า ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ ผิวใบเป็นมัน ขอบใบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลชนิดแห้ง แข็ง มีปีก 5 ปีก ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก บนแต่ละปีกมีเส้นตามความยาวของปีก 10-15 เส้น

สาละเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย

สรรพคุณด้านสมุนไพรของต้นสาละ พบว่ายางสามารถใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น ผลใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น

…………..

ข้อมูลที่กล่าวถึงนี้ หากท่านผู้ใดเห็นว่าผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือยังบกพร่อง ขอได้โปรดทักท้วง และถ้าท่านมีข้อมูลที่ยืนยันได้ว่าถูกต้องดีกว่า ขอได้โปรดนำเสนอ เพื่อเป็นองค์ความรู้ร่วมกัน

…………..

6 พฤษภาคม 2563

ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6)

เป็นวันวิสาขปุรณมีบูชา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: วิสาขปุรณมีบูชาปีนี้ท่านอาจไม่มีโอกาสกระทำประทักษิณร่วมกันเป็นหมู่คณะ เป็นพุทธบูชา

: แต่ท่านก็ยังมีสิทธิ์ปฏิบัติธรรมได้ทุกวันเวลา

: พระบรมศาสดาของพวกเราตรัสไว้แล้วมิใช่หรือว่า ปฏิบัติบูชาเป็นการบูชาที่ประเสริฐสุด

#บาลีวันละคำ (2,885)

6-5-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย