บาลีวันละคำ

จักกวาฬทีปนี (บาลีวันละคำ 2,978)

จักกวาฬทีปนี

ไตรภูมิพระร่วงฉบับภาษาบาลี

อ่านว่า จัก-กะ-วา-ละ-ที-ปะ-นี

ประกอบด้วยคำว่า จักก + วาฬ + ทีปนี

(๑) “จักก

เขียนแบบบาลีเป็น “จกฺก” (จัก-กะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (แทนศัพท์ว่า “คมน” = การไป) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ, ซ้อน กฺ

: + กฺ + กรฺ = จกฺกรฺ + กฺวิ = จกฺกรกฺวิ > จกฺกร > จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องทำให้เคลื่อนไปได้” = ล้อรถ (a wheel (of a carriage)

(2) จกฺกฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + (อะ) ปัจจัย

: จกฺกฺ + = จกฺก แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่เบียดเบียน คือบดแผ่นดิน” = ล้อรถ (2) “วัตถุเป็นเครื่องเบียดเบียน” = กงจักร, วงจักร (a discus used as a missile weapon)

(3) กรฺ (ธาตุ = ทำ) + (อะ) ปัจจัย, แผลง ที่ -(รฺ) เป็น กฺก (กรฺ > กกรฺ) (ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “ทเวภาวะ” = การทำให้เป็นสอง) แล้วแปลง ตัวหน้าเป็น , แปลง ตัวหลังเป็น กฺก, ลบที่สุดธาตุ

: กรฺ + = กร > กกฺร > จกฺร > จกฺกร > จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นเหตุให้ทำการยึดครองได้” = กองทัพ, กองพล (an array of troops)

จกฺก” ในที่นี้ใช้ในความหมายว่า ล้อรถ (a wheel (of a carriage)

(๒) “วาฬ

อ่านว่า วา-ละ รากศัพท์มาจาก วา (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อล ปัจจัย, แปลง เป็น

: วา + อล = วาล > วาฬ แปลตามศัพท์ว่า “โอกาสในที่ว่างที่หมุนไป

(๓) “ทีปนี

อ่านว่า ที-ปะ-นี รากศัพท์มาจาก ทีปฺ (ธาตุ = ประกาศ, แสดง) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ทีปฺ + ยุ > อน = ทีปน + อี = ทีปนี แปลตามศัพท์ว่า “วาจาเป็นเครื่องประกาศ” หมายถึง ยกตัวอย่าง, อธิบาย; การอธิบาย, อรรถกถา (illustrating, explaining; explanation, commentary)

การประสมคำ :

จกฺก + วาฬ = จกฺกวาฬ (จัก-กะ-วา-ละ) แปลว่า “โอกาสในที่ว่างที่หมุนไปดุจล้อรถ” หมายถึง จักรวาล, วงกลม, โลก, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูเขาซึ่งล้อมรอบโลกไว้ (a circle, a sphere, esp. a mythical range of mountains supposed to encircle the world)

จกฺกวาฬ” ในภาษาไทยใช้เป็น “จักรวาล” (จัก-กฺระ-วาน) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จักรวาล : (คำนาม) ปริมณฑล; ประชุม, หมู่; เทือกเขาในนิยาย เป็นกําแพงล้อมรอบโลกและเป็นเขตกั้นแสงสว่างกับความมืด, บริเวณโดยรอบของโลก, ทั่วโลก. (ส.; ป. จกฺกวาล).”

จกฺกวาฬ + ทีปนี = จกฺกวาฬทีปนี (จัก-กะ-วา-ละ-ที-ปะ-นี) แปลว่า “คำอธิบายว่าด้วยจักรวาล

จกฺกวาฬทีปนี” ในภาษาไทยเขียนรักษารูปคำเดิมเป็น “จักกวาฬทีปนี

ขยายความ :

จักกวาฬทีปนี” เป็นคัมภีร์ในหมวดโลกศาสตร์ ว่าด้วยโลกและจักรวาล ท่านผู้รจนาปกรณ์ฉบับนี้คือ พระสิริมังคลาจารย์ เป็นพระเถระนักปราชญ์ชาวลานนา รจนา “จักกวาฬทีปนี” ที่เมืองเชียงใหม่ เมื่อปีมะโรง โทศก จุลศักราช 882 ตรงกับพุทธศักราช 2063 นอกจาก “จักกวาฬทีปนี” แล้วท่านยังได้รจนาปกรณ์อื่นๆ อีก คือ “มงฺคลตฺถทีปนี” อธิบายความในมงคลสูตร “เวสฺสนฺตรทีปนี” อธิบายความในเวสสันดรชาดก “สงฺขฺยาปกาสกฏีกา” อธิบายความในปกรณ์ชื่อสังขยาปกาสก

ใครที่เคยอ่านหนังสือไตรภูมิพระร่วง และเคยคิดว่าเรื่องนรกสวรรค์เป็นนิยายที่คนโบราณแต่งขึ้นขู่คนไม่ให้ทำความชั่วและล่อใจให้คนทำความดี หรือเห็นว่าความเชื่อเรื่องโลกเรื่องภพภูมิต่างๆ ในไตรภูมิพระร่วงเป็นเรื่องเลื่อนลอย ถ้าได้อ่าน “จักกวาฬทีปนี” เล่มนี้ บางทีอาจจะคิดเห็นแตกต่างไปจากเดิม อย่างน้อยก็จะได้ความรู้ว่าเรื่องเหล่านั้นมีที่มาที่ไป ไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย

อาจกล่าวได้ว่า “จักกวาฬทีปนี” ก็คือไตรภูมิพระร่วงฉบับภาษาบาลีนั่นเอง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อย่าเกณฑ์ความจริงให้ตรงกับความเชื่อ

: แต่จงปรับแก้ความเชื่อให้ตรงกับความจริง

#บาลีวันละคำ (2,978)

7-8-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *