บาลีวันละคำ

เชาว์ – เชาวน์ (บาลีวันละคำ 2,977)

เชาว์เชาวน์

เชาว์” อ่านว่า เชา

เชาวน์” (มี – การันต์) อ่านว่า เชา

ได้ความตามพจนานุกรมฯ ว่า –

เชาว์” บาลีเป็น “ชว

เชาวน์” บาลีเป็น “ชวน

(๑) “ชว” (ไทยแผลงเป็น “เชาว์”) บาลีอ่านว่า ชะ-วะ รากศัพท์มาจาก ชุ (ธาตุ = ไปเร็ว) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ ชุ เป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อว (ชุ > โช > ชว)

: ชุ + = ชุณ > ชุ > โช > ชว แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะเป็นเครื่องไปได้เร็ว

ชว” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เป็นคำนาม (ปุงลิงค์) หมายถึง ความเร็ว (speed)

(2) เป็นคุณศัพท์ หมายถึง รวดเร็ว, รีบเร่ง (swift, quick)

(๒) “ชวน” (ไทยแผลงเป็น “เชาวน์”) บาลีอ่านว่า ชะ-วะ-นะ รากศัพท์มาจาก ชวฺ (ธาตุ = ไปเร็ว) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ชวฺ + ยุ > อน = ชวน (คุณศัพท์) แปลตามศัพท์ว่า “(คนหรือม้า) ที่ยิ่งกว่า (คนหรือม้า) ทั้งปวงทางความเร็ว

ชวน” ในบาลี ถ้าใช้เป็นคำนาม (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ความกระตือรือร้น, ความพร้อม; การกระตุ้น, การกระเพื่อม (alacrity, readiness; impulse, shock) ถ้าสมาสกับคำอื่น ใช้ในฐานะเป็นคุณศัพท์ หมายถึง -มีคุณสมบัติเช่นนั้น เช่น “ชวนปญฺญ” (ชะ-วะ-นะ-ปัน-ยะ) = มีปัญญาเฉียบแหลม, มีความเข้าใจรวดเร็ว (of alert intellection, of swift understanding)

อภิปรายขยายความ :

ชว” และ “ชวน” เมื่อเอามาใช้ในภาษาไทย ความหมายถูกปรับปรุงให้เป็นไปตามความประสงค์ของเรา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ชว– [ชะวะ-] : (คำแบบ คือคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป) (คำวิเศษณ์) เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.

(2) ชวน– [ชะวะนะ-] : (คำแบบ) (คำนาม) ความเร็ว, ความไว, ความเร็วของปัญญาหรือความคิด, แผลงเป็น เชาวน์ ก็มี. (ป., ส.).

ชว” แผลงเป็น “เชาว์” อ่านว่า เชา และ “ชวน” แผลงเป็น “เชาวน์” (มี – การันต์) อ่านว่า เชา เหมือนกัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) เชาว์ : (คำวิเศษณ์) เร็ว. (แผลงมาจาก ป., ส. ชว).

(2) เชาวน์ : (คำนาม) ปัญญาหรือความคิดฉับไว, ปฏิภาณ, ไหวพริบ. (แผลงมาจาก ป., ส. ชวน).

โปรดสังเกตว่า ในภาษาไทย –

ถ้าเขียนเป็น “เชาว์” เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เร็ว (speed)

ถ้าเขียนเป็น “เชาวน์” (มี – การันต์) เป็นคำนาม หมายถึง ความคิดฉับไว, ปฏิภาณ (alert intellection, swift understanding)

– มีเชาวน์ปฏิภาณดี

ไม่ใช่ – มีเชาว์ปฏิภาณดี

ระวังอย่าใช้ผิด

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เชาว์-ความเร็ว อาจช่วยให้รอดตายได้คราวหนึ่ง

เท่าๆ กับที่อาจเร่งให้ตายเร็วขึ้น

: แต่เชาวน์-ปัญญาดี

ช่วยให้หลุดพ้นจากการเวียนเกิดเวียนตาย

#บาลีวันละคำ (2,977)

6-8-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *