บาลีวันละคำ

กุสโลโฉเก (บาลีวันละคำ 2,996)

กุสโลโฉเก

คำคะนองของนักเลงบาลี

อ่านว่า กุ-สะ-โล-โฉ-เก

ประกอบด้วยคำว่า กุสโล + โฉเก

(๑) “กุสโล

รูปคำเดิมเป็น “กุสล” (กุ-สะ-ละ) รากศัพท์มาจาก –

(1) กุส (กิเลส; หญ้าคา; โรค) + ลุ (ธาตุ = ตัด) + ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือลบ อุ ที่ ลุ (ลุ > )

: กุส + ลุ = กุสลุ > กุสล + = กุสล แปลตามศัพท์ว่า (1) “กรรมดีที่ตัดกิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน” (2) “กรรมที่ตัดบาปธรรมได้เหมือนหญ้าคา” (“ธรรมที่ตัดความชั่วอันเป็นดุจหญ้าคา”) (3) “ภาวะที่ตัดโรคอันนอนเนื่องอยู่ในร่างกายออกไปได้” (ตามข้อ (3) นี้หมายถึงความไม่มีโรค)

(2) กุ (แทนศัพท์ “กุจฺฉิต” = น่าเกลียด, น่ารังเกียจ) + สลฺ (ธาตุ = หวั่นไหว; ปิด, ป้องกัน) + ปัจจัย

: กุ + สลฺ = กุสล + = กุสล แปลตามศัพท์ว่า (1) “กรรมที่ยังบาปธรรมอันน่ารังเกียจให้หวั่นไหว” (2) “กรรมเป็นเครื่องปิดประตูอบายที่น่ารังเกียจ

(3) กุส (ญาณ, ความรู้) + ลา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือลบ อา ที่ ลา (ลา > )

: กุส + ลา = กุสลา > กุสล + = กุสล แปลตามศัพท์ว่า (1) “กรรมที่พึงถือเอาได้ด้วยญาณที่ทำให้บาปเบาบาง” (“ความรู้ที่ทำความชั่วร้ายให้เบาบาง”) (2) “ผู้ถือเอากิจทั้งปวงด้วยปัญญา

กุสล” ถ้าเป็นคำนาม (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ความดีงาม, กรรมดี, สิ่งที่ดี, กุศลกรรม, บุญ (good thing, good deeds, virtue, merit, good consciousness)

กุสล” ถ้าเป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า ฉลาด, เฉียบแหลม, สันทัด, ชำนาญ; ดีงาม, ถูกต้อง, เป็นกุศล (clever, skilful, expert; good, right, meritorious)

บาลี “กุสล” ในภาษาไทย เราใช้อิงสันสกฤตเป็น “กุศล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กุศล : (คำนาม) สิ่งที่ดีที่ชอบ, บุญ. (คำวิเศษณ์) ฉลาด. (ส.; ป. กุสล).”

กุสล” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) ปุงลิงค์ เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “กุสโล

(๒) “โฉเก

เป็นคำผวนของ “เฉโก” (เฉโก > โฉเก) รูปคำเดิมเป็น “เฉก” (เฉ-กะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ฉิทิ (ธาตุ = แตก, แบ่ง) + (อะ) ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ฉิ-(ทิ) เป็น เอ (ฉิทิ > เฉทิ), ลบสระหน้า คือ อิ ที่ (ฉิ)-ทิ (ฉิทิ > ฉิท), แปลง เป็น

: ฉิทิ > เฉทิ > เฉท + = เฉท > เฉก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้แตกฉาน

(2) เฉทฺ (ธาตุ = ตัด) + (อะ) ปัจจัย, แปลง เป็น

: เฉทฺ + = เฉท > เฉก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ตัด” (ขยายความว่า ตัดความขัดข้องให้ลุล่วงไปได้ด้วยปัญญา คือแก้ปัญหาได้)

เฉก” (คุณศัพท์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ฉลาด, เฉียบแหลม, สุขุม; สันทัด (clever, skilful, shrewd; skilled)

(2) แท้, จริง (genuine)

เฉก” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) ปุงลิงค์ เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “เฉโก

เฉก” ที่แจกวิภัตติเป็น “เฉโก” บางทีจะพบในคัมภีร์มากกว่ารูปอื่น เป็นเหตุให้เป็นคำพูดติดปาก

ในภาษาไทย “เฉโก” มักถูกผวนเป็น “โฉเก” จนเข้าใจผิดว่า “โฉเก” เป็นคำเดิม ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว “โฉเก” ผวนมากจาก “เฉโก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “เฉโก” และ “โฉเก” บอกไว้ดังนี้ –

(1) เฉโก : (คำวิเศษณ์) ฉลาดแกมโกง, ไม่ตรงไปตรงมา, โฉเก ก็ว่า. (ป. เฉโก ว่า ฉลาด).

(2) โฉเก : (คำวิเศษณ์) ฉลาดแกมโกง, ไม่ตรงไปตรงมา, เฉโก ก็ว่า.

อภิปรายขยายความ :

กุสโล” กับ “เฉโก” เป็นคำที่อยู่ในชุดเดียวเพราะมีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน

แต่ถ้าจะแยกให้เห็นความแตกต่าง อาจกล่าวตามอัตโนมัตยาธิบายได้ว่า

กุสโล” ฉลาดแบบตรงไปตรงมา มุ่งทำกิจให้สำเร็จเป็นผลดีโดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมพลิกแพลงกับใครหรือทำให้ใครเสียหาย กล่าวคือใช้สติปัญญาไปในทางที่ถูกต้องดีงามล้วนๆ

ส่วน “เฉโก” เน้นความฉลาดในเชิงปฏิบัติการ คือสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้งานสำเร็จบรรลุเป้าหมายด้วยวิธีการที่ชาญฉลาด โดยอาจใช้วิธีการทุกรูปแบบเพื่อให้ภารกิจบรรลุเป้าหมายเป็นสำคัญ

วิธีการบางอย่างของ “เฉโก” จึงอาจถูกมองว่าไม่ตรงไปตรงมา หรือฉลาดแกมโกง แต่ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะความหมายอีกอย่างหนึ่งของ “เฉโก” คือ “แท้, แท้จริง, จริงๆ” (genuine) ซึ่งตรงกันข้ามกับความเท็จ, ความหลอกลวง

กุสโล” กับ “เฉโก” พูดควบกันเป็นคำติดปากว่า “กุสโล เฉโก

นักเรียนบาลีที่มีอารมณ์ครึกครื้น เห็นว่า “กุสโล” กับ “เฉโก” เมื่อพูดควบกันเป็น “กุสโล เฉโก” ไม่มีสัมผัสตามลีลาภาษาไทย จึงผวน “เฉโก” เป็น “โฉเก” พูดควบกันเป็นคำคล้องจองว่า “กุสโลโฉเก” และใช้เรียกคนที่มีลูกเล่นเล่ห์เหลี่ยมพลิกแพลงแบบไม่สู้จะซื่อตรงนัก แต่ก็ไม่ถึงกับคดโกงหรือทุจริตกันตรงๆ ว่าเป็นพวก “กุสโลโฉเก

นักเลงบาลีรุ่นเก่าจะรู้จักคำว่า “กุสโลโฉเก” กันดี แต่นักเรียนบาลีรุ่นใหม่อาจไม่เคยได้ยิน จึงขอฝากไว้เป็นสมบัติในวงการบาลีอีกคำหนึ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คนฉลาด เมื่อถึงคราวจำเป็น อาจโกงเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง

: แต่คนฉลาดที่แท้จริง จำเป็นขนาดไหนก็จะไม่โกงบ้านเมือง

—————–

(ตามคำขอของพระคุณท่าน Sunant Ruchiwet Phramaha บัณฑิตจากอยุธยาที่กล้าข้ามถิ่นมาคบหากับนักเลงบาลีปากท่อ)

#บาลีวันละคำ (2,996)

25-8-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *