บาลีวันละคำ

บวรพระพุทธศาสนา (บาลีวันละคำ 456)

บวรพระพุทธศาสนา

(คำผิด)

คำที่ถูกต้องคือ “พระบวรพุทธศาสนา

อ่านว่า พฺระ-บอ-วอ-ระ-พุด-ทะ-สาด-สะ-หฺนา

ประกอบด้วยคำว่า พระ + บวร + พุทธศาสนา

คำว่า “พระ” มีผู้ให้ความเห็นว่าน่าจะมาจาก “วร” (วะ-ระ) ในบาลีสันสกฤต แปลว่า “ผู้ประเสริฐ” แปลง เป็น ออกเสียงว่า พะ-ระ แล้วกลายเสียงเป็น พฺระ (ร กล้ำ)

พจน.42 บอกความหมายของ “พระ” ไว้หลายอย่าง ในที่นี้ใช้ประกอบหน้าคำอื่นเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น

ไตรปิฎก เป็น พระไตรปิฎก

วิหาร เป็น พระวิหาร

อุโบสถ เป็น พระอุโบสถ

พุทธศาสนา เป็น พระพุทธศาสนา

บวร” บาลีเป็น “ปวร” (ปะ-วะ-ระ) แปลว่า ประสริฐ, เลิศ, สูงสุด, ประสริฐสุด, เด่นหรือมีชื่อเสียงพิเศษ

พุทธศาสนา” บาลีเป็น “พุทฺธสาสน” (พุด-ทะ-สา-สะ-นะ) แปลว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

(พจน.42 ไม่ได้เก็บคำว่า “พุทธศาสนา” ไว้)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ไขความไว้ดังนี้ –

พุทธศาสนา : คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า, อย่างกว้างในบัดนี้ หมายถึง ความเชื่อถือ การประพฤติปฏิบัติและกิจการทั้งหมดของหมู่ชนผู้กล่าวว่าตนนับถือพระพุทธศาสนา

คำว่า “พระบวรพุทธศาสนา” มีความหมายว่า “พระพุทธศาสนาที่ประเสริฐ

คำนี้ไม่มีปัญหาในแง่ความหมาย แต่มีปัญหาในการนำถ้อยคำมาพูดหรือเขียน เพราะปัจจุบันนี้มักพูดผิด เขียนผิด เป็น “บวรพระพุทธศาสนา” อันเกิดจากความไม่รู้ไม่เข้าใจ และไม่ใส่ใจถึงหลักเกณฑ์การเรียงลำดับคำ

สาเหตุน่าจะเกิดจาก –

1. “พระบวรพุทธศาสนา” อ่านว่า พฺระ-บอ-วอ-ระ-พุด-ทะ-สาด-สะ-หฺนา ซึ่งเป็นคำอ่านที่ถูกต้อง

2. คนฟังจับคำว่า “บอ-วอ-ระ-พุด” มาเป็นหลัก (เริ่มทิ้งคำว่า “พระ” ข้างหน้า)

3. เข้าใจไปว่า “บอ-วอ-ระ-พุด” คือ “บอ-วอน-ระ-พุด” (นึกว่า “บวร” ในที่นี้อ่านว่า “บอ-วอน”)

4. เสียง “ระ-พุด” ใกล้กับ “พระ-พุด” จึงเชื่อสนิทว่า “ระ-พุด” คือ “พระ-พุด”

5. “พระบวรพุทธศาสนา” จึงกลายเป็น “บวรพระพุทธศาสนา

วิธีสังเกตหลักเกณฑ์ง่ายๆ มีดังนี้ –

1. คำหลักในคำนี้คือ “พุทธศาสนา

2. คำว่า “พระ” ที่อยู่ข้างหน้าใช้ประกอบเพื่อแสดงความยกย่อง = “พระพุทธศาสนา

3. คำว่า “บวร” (ประเสริฐ) ขยายคำหลัก คือ “พุทธศาสนา” = “พุทธศาสนาที่ประเสริฐ” ไม่ใช่ขยาย “พระ” = “พระที่ประเสริฐ

4. เพราะฉะนั้น “บวร” จึงต้องอยู่ติดกับ “พุทธศาสนา” = “บวรพุทธศาสนา” ไม่ใช่ไปอยู่หน้า “พระ” = “บวรพระ

: ถ้าจะพูดหรือเขียนคำนี้ นึกถึงคำว่า “พระบรมมหาราชวัง” ไว้ก็ได้

(“บวร” กับ “บรม” มีฐานะเป็นคำขยายเหมือนกัน)

พระบรมมหาราชวัง” มี, “บรมพระมหาราชวัง” ไม่มี ฉันใด

พระบวรพุทธศาสนา” มี, “บวรพระพุทธศาสนา” ไม่มี ก็ฉันนั้น

—————

(คำนี้ลัดคิวอันเนื่องมาจากโพสต์ของท่านอาจารย์ Up jaya)

บาลีวันละคำ (456)

13-8-56

วร = พร ประเสริฐ สูงสุด (ศัพท์วิเคราะห์)

วริตพฺโพ อิจฺฉิตพฺโพติ วโร ภาวะอันบุคคลปรารถนา

วร ธาตุ ในความหมายว่าปรารถนา อ ปัจจัย

วร (บาลี-อังกฤษ)

ประเสริฐ, วิเศษ, เลิศ, อริยะ

วร ค.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ประเสริฐ, ยอดเยี่ยม

ป.

พร.

ปวร ค.

ประสริฐ, เลิศ, สูงสุด.

พุทฺธสาสน ป. (นปุง.?)

พระพุทธศาสนา, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า.

ปวร (ป + วร) (บาลี-อังกฤษ)

บวร, ประเสริฐสุด, เด่นหรือมีชื่อเสียงพิเศษ

most excellent, noble, distinguished

ปวรปจฺจตฺถรณ

ปวราสน

ปวรพุทฺธาสน

ปวรธมฺม

ปวรธมฺมจกฺก

ปวรจกฺกวตฺติ

พุทธศาสนา (ประมวลศัพท์)

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า, อย่างกว้างในบัดนี้ หมายถึง ความเชื่อถือ การประพฤติปฏิบัติและกิจการทั้งหมดของหมู่ชนผู้กล่าวว่าตนนับถือพระพุทธศาสนา

พระ

  [พฺระ] น. (1) คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, (2) พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, (3) พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, (4) ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; (5) พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; (6) นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทย พระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; (7) ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; (8) ใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; (9) อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; (10) บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, (11) ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; (12) โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก.(13) ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

บวร, บวร-

  [บอวอน, บอวอระ-] (แบบ) ว. ประเสริฐ, ลํ้าเลิศ, ราชาศัพท์ใช้นําหน้าคํานามที่เกี่ยวกับวังหน้า เช่น บวรวงศ์ คู่กับ บรม ซึ่งใช้กับวังหลวง เช่น บรมวงศ์. (ป. ปวร; ส. ปฺรวร).

พุทธ, พุทธ-, พุทธะ

  [พุด, พุดทะ-] น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็นพระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญว่า พระพุทธเจ้า. (ป.).

ศาสน-, ศาสนา

  [สาสะนะ-, สาดสะนะ-, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คําสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย