บาลีวันละคำ

อายุกฺขย (บาลีวันละคำ 48)

อายุกฺขย

อ่านว่า อา-ยุก-ขะ-ยะ

“อายุ” แปลทับศัพท์ว่า อายุ “ขย” แปลว่า “ความสิ้นไป”

อายุกฺขย = ความสิ้นอายุ หรือ “หมดอายุ” ภาษาไทยเอามาใช้ว่า “อายุขัย”

อายุขัย หมายถึงอัตรากำหนดอายุเฉลี่ยของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย

ยุคหนึ่ง มนุษย์มีอายุเฉลี่ยสองหมื่นปี ปัจจุบันมนุษย์อายุเฉลี่ยหนึ่งร้อยปี

อายุขัย = หมดอายุ คู่กับ บุญขัย (บุน-ยะ-ขัย) = หมดบุญ

เปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย เหมือนรถคันหนึ่งบริษัทผู้ผลิตกำหนดอายุการใช้งานไว้ 40 ปี ถ้ารถคันนี้ถูกใช้งานไปตามปกติก็จะวิ่งอยู่ได้ 40 ปี ต่อจากนั้นก็วิ่งไม่ได้ นี่คือ “อายุขัย” = หมดอายุ

แต่ในระหว่าง 40 ปีนั้น รถอาจเกิดอุบัติเหตุจนวิ่งไม่ได้ พังไปเสียก่อนทั้งๆ ที่ยังไม่ถึง 40 ปี นี่คือ “บุญขัย” = หมดบุญ

เมื่อเห็นคนตาย เรามักจะพูดว่า “อายุขัยเขามีเพียงแค่นี้”

ถ้าตายอายุไม่ถึงร้อยปี ก็ไม่ใช่ “อายุขัย” แต่เป็น “บุญขัย”

อายุขัย มีเท่ากันทุกคน แต่บุญขัย ทำไว้ไม่เท่ากัน

อายุขัยทำเพิ่มไม่ได้ แต่บุญขัย ทำเพิ่มอีกได้

บาลีวันละคำ (48)

20-6-55

อายุขัย  น. การสิ้นอายุ, ความตาย; อัตรากําหนดอายุจนสิ้นอายุ. (ป.; ส. อายุกฺษย).

อายุ life, vitality, duration of life, longevity

อายุ, ความสามารถดำรงชีวิต, การกำหนดอายุ, ความมีอายุยืน

อายุขย ความเสื่อมสิ้นไปของอายุ decay of life

เอนฺติ ปวตฺตนฺติ สตฺตา เอเตนาติ อายุ สิ่งเป็นเหตุเป็นไปแห่งสัตวโลก (อิ ธาตุ ในความหมายว่า ไป, เป็นไป ณุ ปัจจัย, พฤทธิ์ อิ เป็น อา, แปลง ณุ เป็น อย)

เอนฺติ อทฺธานํ คจฺฉนฺติ เยนาติ อายุ สิ่งเป็นเหตุดำเนินไปตลอดกาลยาวนานแห่งสัตวโลก

ขย waste, destruction, consumption; decay, ruin, loss

ความสูญเสียหรือหมดสิ้นไป, ความเสื่อมหรือทรุดโทรมลง, ความหมดไป; การกินกร่อน, ความเสื่อมลง, ความสูญไป

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย