บาลีวันละคำ

ไพร่สถุล (บาลีวันละคำ 3,088)

ไพร่สถุล

แปลว่า “เลวอย่างไพร่”

อ่านว่า ไพฺร่-สะ-ถุน

ประกอบด้วยคำว่า ไพร่ + สถุล

(๑) “ไพร่

เป็นคำไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

ไพร่ : (คำโบราณ) (คำนาม) ชาวเมือง, พลเมืองสามัญ; คนเลว. (คำวิเศษณ์) สามัญ.”

ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ปรับแก้คำนิยามเป็นดังนี้ –

ไพร่ : (คำโบราณ) (คำนาม) พลเมือง, ประชาชน, ราษฎรสามัญ.”

(๒) “สถุล

เป็นรูปคำสันสกฤตเขียนแบบไทย สันสกฤตเป็น “สฺถูล” บาลีเป็น “ถูล” (ถู-ละ) และ “ถุลฺล” (ถุน-ละ)

สังเกต :

ถ้าเป็น ถู– (สระ อู) : ลิง ตัวเดียว

ถ้าเป็น ถุ– (สระ อุ) : ลิง 2 ตัว (ตัวสะกดและตัวตาม)

แบบเดียวกับ “จูฬ” (สระ อู จุฬา ตัวเดียว) และ “จุลฺล” (สระ อุ ลิง 2 ตัว)

ถุลฺล” รากศัพท์มาจาก ถูลฺ (ธาตุ = เติบโต) + ปัจจัย, รัสสะ อู ที่ ถู-(ลฺ)เป็น อุ (ถูลฺ > ถุล)

: ถูลฺ + = ถูลฺล > ถุลฺล แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่เติบโต

ลบที่สุดธาตุ (ถูลฺ > ถู)ได้รูปเป็น “ถูล” ก็มี –

: ถูลฺ + = ถูลฺล > ถูล

ถุลฺลถูล” (คุณศัพท์) ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) กระชับ, ใหญ่โต (compact, massive)

(2) หยาบ, ใหญ่เทอะทะ (coarse, gross)

(3) เบ้อเร่อ, แข็งแรง, เกะกะงุ่มง่าม (big, strong, clumsy)

(4) (มีคุณภาพ) ต่ำ, (กิริยาวาจา) หยาบ (low, unrefined, rough)

(5) (รูปร่าง) อ้วน, ล่ำ (stout, fat)

(6) สามัญ (common)

บาลี “ถูล” และ “ถุลฺล” สันสกฤตเป็น “สฺถูล

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

สฺถูล : (คำวิเศษณ์) อ้วน, มีเนื้อ, ใหญ่; โง่, เขลา, โต, ใหญ่; หยาบ, ขี้เหร่, ขี้ริ้ว; fat, corpulent, bulky; stupid, dull; large, great; coarse; clumsy, ill-made or awkward.”

ไทยเอา “สฺ-(ถูล)” แบบสันสกฤต มาต่อ “-ถุลฺ-(ล)” แบบบาลี เป็น “สถุล” แบบไทย นับเป็นอัจฉริยะทางภาษาของเรา!

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สถุล : (คำวิเศษณ์) หยาบ, ตํ่าช้า, เลวทราม, (ใช้เป็นคำด่า), เช่น เลวสถุล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่สถุล. (ส. สฺถูล ว่า อ้วน, หยาบ; ป. ถูล).”

อภิปรายขยายความ :

พจนานุกรมฯ บอกว่า “มักใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่สถุล” และพจนานุกรมฯ เก็บคำว่า “ไพร่” และคำว่า “สถุล” ไว้ แต่พจนานุกรมฯ ก็ไม่ได้เก็บคำว่า “ไพร่สถุล” ไว้

หากไม่ใช่เพราะเป็นคำที่ยังตกหล่นอยู่ พจนานุกรมฯ อาจเห็นว่า บอกความหมายไว้ที่คำ “สถุล” แห่งเดียวก็เพียงพอแล้ว

คำที่เอ่ยถึงในบทนิยาม แต่ไม่ได้เก็บไว้เป็นคำตั้งหรือลูกคำในพจนานุกรมฯ เช่นนี้มีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย

ในสำนวนบาลีมีข้อควรสังเกต :

ถูล” มาคู่กับ “อณุ” (อณุํ ถูลํ) หมายถึง ใหญ่ (คู่กับเล็ก), มาก (คู่กับน้อย)

ถูล” มาคู่กับ “กิส” (กีส) หมายถึง อ้วน (คู่กับผอม)

ถูล” หรือ “ถุลฺล” จะใช้ในความหมายอย่างไรจึงต้องดูบริบทด้วย

ในทางพระวินัย มีอาบัติชื่อ “ถุลลัจจัย” ก็มาจาก “ถุลฺล” คำนี้

: ถุลฺล (หยาบ) + อจฺจย (การล่วงละเมิด) = ถุลฺลจฺจย > ถุลลัจจัย แปลว่า “ความล่วงละเมิดที่หยาบ” หมายถึง การกระทำที่คนปกติ หรือภิกษุที่มีสภาพจิตใจเป็นปกติ จะไม่ทำเช่นนั้น ท่านจัดเป็นความผิดขั้นรองลงมาจากอาบัติสังฆาทิเสส เช่น ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ภิกษุชักสื่อบัณเฑาะก์ (กะเทย) ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุนุ่งห่มหนังเสืออย่างเดียรถีย์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เป็นต้น

…………..

และโปรดสังเกต “สถุล ลิง สะกด

ไม่ใช่ “สถุ” (น หนู สะกด)

หรือ “สถุ” (ณ เณร สะกด)

หรือ “สถุ” (ร เรือ สะกด)

และไม่ใช่ “สถุล” (มีสระ อะ)

เสือ ถุง สระ อุ ลิง = สถุล

สะกดเป็นอย่างอื่นแม้จะออกเสียงเหมือนกัน หรือแม้จะอ้างว่าสื่อสารเข้าใจได้ตรงกันก็ใช้ได้ ก็พึงทราบเถิดว่า หาใช้ได้ไม่

ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ชาติที่เจริญแล้วย่อมไม่สะกดคำตามใจชอบ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้ากิริยาวาจาจะเป็นไพร่

: ก็ขอให้หัวใจจงเป็นพระ

#บาลีวันละคำ (3,088)

25-11-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย