บาลีวันละคำ

เอกาทศรถ (บาลีวันละคำ 3,144)

เอกาทศรถ

มีความหมายว่าอย่างไร

อ่านว่า เอ-กา-ทด-ทะ-รด

แยกคำตามที่ตาเห็นเป็น เอกาทศ + รถ

(๑) “เอกาทศ

บาลีเป็น “เอกาทส” (เอ-กา-ทะ-สะ) เป็นศัพท์สังขยา คือคำบอกจำนวน (number) แปลว่า สิบเอ็ด (จำนวน 11) ในที่นี้เขียนตามรูปสันสกฤตเป็น “เอกาทศ” (-ทศ บาลี เสือ, สันสกฤต ศลา)

(๒) “รถ

บาลีอ่านว่า ระ-ถะ รากศัพท์มาจาก –

(1) รมฺ (ธาตุ = เล่น) + ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (รมฺ > )

: รมฺ + = รมถ > รถ แปลตามศัพท์ว่า “ยานที่ยังให้เกิดสุขารมณ์ ความสนุกเพลิดเพลิน ความดีใจ” แรกที่มนุษย์ประดิษฐ์รถขึ้นมาน่าจะเพื่อการเล่นสนุก นักภาษาจึงให้ความหมายเช่นนี้ ต่อมาจึงใช้รถเพื่อการอื่นๆ เช่นการเดินทาง การขนส่ง และการรบ

(2) รหฺ (ธาตุ = ยึดถือ) + ปัจจัย, ลบ หฺ ที่สุดธาตุ (รหฺ > )

: รหฺ + = รหถ > รถ แปลตามศัพท์ว่า “ยานอันเขายึดเป็นเจ้าของ

รถ” (ปุงลิงค์) ความหมายเดิม คือ รถมี 2 ล้อ, รถแข่งหรือรถออกศึก (a two-wheeled carriage, chariot [for riding, driving or fighting])

เอกาทส + รถ = เอกาทสรถ > เอกาทศรถ แปลตามศัพท์ว่า “รถสิบเอ็ดคัน” ถ้าเป็นคุณศัพท์เช่นเป็นชื่อคนก็หมายถึง “ผู้มีรถสิบเอ็ดคัน” โดยนัยหมายถึงผู้มีพลังอำนาจมากกว่าคนธรรมดา

เอกาทศรถ” ที่เราคุ้นกัน เป็นพระนามของพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งสมัยอยุธยา เป็นพระราชอนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

อภิปราย :

มีผู้แสดงความสงสัยว่า พระนาม “เอกาทศรถ” มีความหมายอย่างไรกันแน่ เพราะมีเค้าอยู่ในคำว่า “รุทระ

รุทระ” ในภาษาไทยอ่านว่า รุด-ทฺระ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

รุทระ : (คำวิเศษณ์) น่ากลัวยิ่งนัก. (คำนาม) เทวดาหมู่หนึ่งมี ๑๑ องค์ รวมเรียกว่า เอกาทศรุทร, ชื่อเทพสําคัญองค์หนึ่งในพระเวท ซึ่งพวกฮินดูถือว่าเป็นองค์เดียวกับพระศิวะ. (ส.; ป. รุทฺท).”

คำนิยามที่ว่า “เทวดาหมู่หนึ่งมี ๑๑ องค์ รวมเรียกว่า เอกาทศรุทร” น่าจะเป็นที่มาของ “เอกาทศรถ” นั่นคือ “เอกาทศรุทร” เราเอามาแผลง (หรือเรียกเพี้ยนเขียนพลาด) เป็น “เอกาทศรถ

คำว่า “รุทระ” บาลีเป็น “รุทฺท” (รุด-ทะ) รากศัพท์มาจาก รุสฺ (ธาตุ = โกรธ) + ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (รุสฺ > รุ), แปลง เป็น ทฺท

: รุสฺ + = รุสท > รุท > รุทฺท แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่โกรธ” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ดุร้าย, ร้ายกาจ, น่ากลัว (fierce, awful, terrible)

บาลี “รุทฺท” สันสกฤตเป็น “รุทฺร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน เก็บคำว่า “รุทฺร” ไว้ 2 คำ บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

(1) รุทฺร : (คำนาม) ‘รุทร์,’ นามพระศิวะ

(2) รุทฺร : (คำนาม) ‘รุทร์,’ นรเทพ [นับได้สิบเอ็ดองค์, คือ อไชกปท, อหิวรัธน, วิรูปากษ, สุเรศวร, ชยันต, พหุรูป, ตระยัมพก, อปราชิต, สวิตร, และหร]; a demi-god [eleven are enumerated, viz. Ajikapada, Ahivaradhna, Virūpāksha, Sureśwara, Jayanta, Bahurūpa, Trayambaka, Aparājita, Savitra, and Hara].

หมายเหตุ : คำนิยามบอกว่า “นับได้สิบเอ็ดองค์” แต่นับแล้วมี 10 องค์

อย่างไรก็ตาม คำว่า “เอกาทศรถ” ก็ยังมีน้ำหนักอยู่เมื่อเทียบกับคำว่า “ทศรถ” ซึ่งก็เป็นคำที่เราพอจะรู้จักกันอยู่ คือ “ทศรถ” ในเรื่องรามเกียรติ์

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “ทศรถ” บอกไว้ดังนี้ –

ทศรถ : (คำนาม) ท้าวทศรถ, นฤบดีอโยธยา, พระชนกของรามจันทร์ (คือพระราม) [ท้าวเธอได้นามดั่งนี้ เพราะเหตุว่าราชรถของท้าวเธอได้พาท้าวเธอไปสู่สิบทิศแห่งภูมณฑล]; Daśaratha, sovereign of Ayodhayā or Oudh, and father of Rāma Chandra [he had this so-called appellation because his car bore him to the ten quarters of the universe].”

ถ้า “ทศรถ” มีได้ “เอกาทศรถ” ก็น่าจะมีได้เช่นกัน โดยมุ่งให้มีความหมายว่าเป็นผู้มีพลังอำนาจสูงกว่า “ทศรถ

เรื่องนี้คงไม่ยุติง่ายๆ ผู้สนใจพึงศึกษาสืบสวนกันต่อไป

คติจากคำนี้ก็คือ จะมีรถสักกี่รถ จะชนะมาสักกี่ทิศ ในที่สุดก็ต้องถูกพิชิตด้วยกฎธรรมชาติธรรมดา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ชนะอื่นหมื่นแสนทั้งแดนไตร

: ยังแพ้ได้ ไม่เหมือนพระชนะมาร

#บาลีวันละคำ (3,144)

20-1-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย