บาลีวันละคำ

อรุณาจัลประเทศ (บาลีวันละคำ 3,157)

อรุณาจัลประเทศ

ถึงอยู่กันคนละที่ ถ้ารู้บาลีก็รู้ความหมาย

อ่านว่า อะ-รุ-นา-จัน-ปฺระ-เทด

“อรุณาจัลประเทศ” เป็นชื่อรัฐหนึ่งของอินเดีย ชื่อนี้สะกดเป็นอักษรโรมันว่า Arunachal Pradesh (ภาษาฮินดี: अरुणाचल प्रदेश)

ถอดชื่อเป็นอักษรไทยว่า “อรุณาจัลประเทศ” แยกศัพท์เป็น อรุณ + อจัล + ประเทศ

(๑) “อรุณ

บาลีอ่านว่า อะ-รุ-นะ รากศัพท์มาจาก อรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อุณ ปัจจัย

: อรฺ + อุณ = อรุณ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “แสงที่เป็นไปโดยมีแสงแดงอ่อนๆ” “มีแสงแดงอ่อนๆ” “แสงที่เป็นไปโดยเป็นสีทอง

อรุณ” มีความหมาย 2 อย่างคือ (1) ดวงอาทิตย์ (the sun) (2) รุ่งอรุณ (the dawn)

บาลี “อรุณ” สันสกฤตก็เป็น “อรุณ” เช่นกัน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

อรุณ : (คำนาม) นามพระอาทิตย์; เช้า; สีหรือแสงอรุณ; ชายใบ้; name of the sun; the dawn; the colour of the sun; a dumb man.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อรุณ : (คำนาม) เวลาใกล้พระอาทิตย์จะขึ้น มี ๒ ระยะ คือ มีแสงขาวเรื่อ ๆ (แสงเงิน) และแสงแดงเรื่อ ๆ (แสงทอง), เวลายํ่ารุ่ง. (ป., ส.).”

(๒) “อจัล

เขียนแบบบาลีเป็น “อจล” อ่านว่า อะ-จะ-ละ รากศัพท์มาจาก (ไม่, ไม่ใช่) + จลฺ (ธาตุ = สั่น, ไหว) + (อะ) ปัจจัย, แปลง เป็น

: > + จลฺ = อจลฺ + = อจล แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่เคลื่อนไหว

อจล” ในบาลี :

(1) ใช้เป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน (steadfast, immovable)

(2) ใช้เป็นคำนาม (ปุงลิงค์) หมายถึง ภูเขา (a mountain)

(๓) “ประเทศ

บาลีเป็น “ปเทส” อ่านว่า ปะ-เท-สะ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ทิส (ธาตุ = แสดง, ชี้แจง) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส)

: + ทิสฺ = ปทิสฺ + = ปทิสณ > ปทิส > ปเทส แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนเป็นเหตุปรากฏแห่งหมู่” หมายถึง เครื่องแสดง, ที่ตั้ง, ขอบเขต, แถบ; แดน, จุด, สถานที่ (indication, location, range, district; region, spot, place)

บาลี “ปเทส” สันสกฤตเป็น “ปฺรเทศ” ภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ประเทศ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประเทศ : (คำนาม) บ้านเมือง, แว่นแคว้น, ถิ่นที่อยู่; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส. ปฺรเทศ; ป. ปเทส).”

การประสมคำ :

อาจประสมได้ 2 นัยคือ –

(1) อรุณ + อจล = อรุณาจล (อะ-รุ-นา-จะ-ละ) แปลว่า “ภูเขาทางทิศที่อรุณขึ้น” = ภูเขาตะวันออก

(2) อจล + ปเทส = อจลปเทส > อจลประเทศ (อะ-จะ-ละ-ปฺระ-เทด) แปลว่า “ดินแดนที่มีภูเขา” = เมืองภูเขา

เอานัยทั้งสองมารวมกันเป็น อรุณ + อจล + ปเทส = อรุณาจลปเทส (อะ-รุ-นา-จะ-ละ-ปะ-เท-สะ) > อรุณาจัลประเทศ แปลว่า “ดินแดนที่มีภูเขาทางทิศที่อรุณขึ้น” = เมืองภูเขารุ่งอรุณ

ขยายความ :

“ประกอบ คุปรัตน์” แปลชื่อรัฐ “อรุณาจัลประเทศ” ว่า “ดินแดนแห่งขุนเขายามรุ่งอรุณ” (land of the dawn-lit mountains)

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ที่คำว่า “รัฐอรุณาจัลประเทศ” บอกคำแปลชื่อรัฐไว้ว่า “ดินแดนแห่งเทือกเขาอรุณทอแสง”

มีหลักฐานขยายความไว้ว่า –

…………..

รัฐอรุณาจัลประเทศ คือ ดินแดนใต้การปกครองของประเทศอินเดีย แต่ถูกเรียกร้องจากทางการจีนว่าเป็นดินแดนของตนในชื่อว่า ทิเบตใต้ (藏南 ซั่นหนาน) รัฐอรุณาจัลประเทศมีเขตติดต่อกับรัฐอัสสัม (Assam) และรัฐนาคาแลนด์ (Nagaland) ทางใต้ รัฐกะฉิ่น ประเทศพม่า ทางตะวันออก ประเทศภูฏาน (Bhutan) ทางตะวันตก และเขตปกครองตนเองทิเบต (Tibet) ประเทศจีนทางทิศเหนือ

ที่มา: ประกอบ คุปรัตน์

http://pracob.blogspot.com/2012/02/blog-post_05.html

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ใช้ภาษาเป็นลื่อบอกชื่อบ้าน

: ถึงต่างฐานต่างถิ่นแผ่นดินไหน

: พอรู้ชื่อรู้หน้าก็พาไป

: ให้รู้ใจรู้จักรู้รักกัน

#บาลีวันละคำ (3,157)

2-2-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย