บาลีวันละคำ

อัตภาพ (บาลีวันละคำ 3,178)

อัตภาพ

เป็นมากกว่าของใกล้ตัว

อ่านว่า อัด-ตะ-พาบ

ประกอบด้วยคำว่า อัต + ภาพ

(๑) “อัต

รูปคำเดิมในบาลีเป็น “อตฺต” อ่านว่า อัด-ตะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อตฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไปต่อเนื่อง) + ปัจจัย

: อตฺ + = อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(๑) “ผู้ทำให้ชีวิตดำเนินต่อเนื่องไปได้” (คือเมื่ออัตตายังมีอยู่ ชีวิตก็ยังดำเนินต่อไปได้)

(๒) “ผู้ถึงทุกข์ต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็มีทุกข์เข้ามาอย่างไม่รู้จบ)

(๓) “ผู้เป็นไปเพื่ออาพาธต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็ยังต้องเจ็บป่วย ถูกบีบคั้นด้วยโรคภัยไม่รู้จบ)

(2) อทฺ (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย, แปลง ทฺ เป็น ตฺ

: อทฺ + = อทฺต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(๑) “ผู้เสวยสุขและทุกข์” (คือต้องพบทั้งสุขและทุกข์ควบคู่กันไป จะเลือกเสวยแต่สุขอย่างเดียวหาได้ไม่)

(๒) “ผู้ถูกกิน” (คือถูกความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันกินเอา)

(3) อา (แทนศัพท์ว่า “อาหิต” = ตั้งลง, หยั่งลง) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + ปัจจัย, ลบ อา ที่ อา (อา > ) และ อา ที่ ธา (ธา > ) , แปลง ธฺ เป็น ตฺ

: อา + ธา = อาธา + = อาธาต > อธาต > อธต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความถือตัวว่าเป็นเรา” (เพราะมีอัตตา จึงมีการยึดถือว่าตัวกูของกู)

อตฺต” เรามักคุ้นในรูป “อตฺตา” ซึ่งเป็นรูปที่แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เขียนแบบไทยเป็น “อัตตา

ในที่นี้คงเป็น “อตฺต” เขียนแบบไทยเป็น “อัตต” ตัดตัวสะกดออกตามหลักนิยมของไทย จึงเป็น “อัต” แต่ยังคงอ่านว่า อัด-ตะ-

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำนี้ไว้ในรูป “อัต-” ขีดหลังคำหมายความว่า สะกดเช่นนี้เมื่อมีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย

พจนานุกรมฯ บอกไว้ว่า –

อัต– : (คำนาม) ตน, ตัวเอง. (ป. อตฺต; ส. อาตฺมนฺ).”

บาลี “อตฺต” สันสกฤตเป็น “อาตฺมนฺ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “อาตฺมนฺ” ในสันสกฤตไว้ว่า –

อาตฺมนฺ : (คำนาม) วิญญาณ; อารมณ์; พระพรหม; the soul; the natural temperament or disposition; Brahmā.”

(๒) “ภาพ

บาลีเป็น “ภาว” อ่านว่า พา-วะ รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว

: ภู + = ภูณ > ภู > โภ > ภาว แปลว่า ความมี, ความเป็น, ภาวะ, ธรรมชาติ (being, becoming, condition, nature)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภาว-, ภาวะ : (คำนาม) ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ. (ป., ส.).”

ในภาษาไทยแปลง เป็น ภาว” จึงเป็น “ภาพ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภาพ, ภาพ– : (คำนาม) ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).”

อตฺต + ภาว = อตฺตภาว (อัด-ตะ-พา-วะ) แปลทับศัพท์ว่า “อัตภาพ” (one’s own nature) ในบาลีมีความหมายว่า –

(๑) ตนเอง, ความเป็นตนเองหรือปัจเจกชน, บุคลิกภาพ, ชีวิต, รูป, ลักษณะ (person, personality, individuality, living creature; form, appearance)

(๒) ชีวิต, การกลับมาเกิด (life, rebirth)

บาลี “อตฺตภาว” สันสกฤตเป็น “อาตฺมภาว” (body)

ขยายความ :

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อตฺตภาว” ว่า one’s own nature และขยายความไว้ดังนี้ –

(๑) person, personality, individuality, living creature; form, appearance (ตนเอง, ความเป็นตนเองหรือปัจเจกชน, บุคลิกภาพ, ชีวิต, รูป, ลักษณะ)

(๒) life, rebirth (ชีวิต, การกลับมาเกิด)

(๓) character, quality of heart (ลักษณะ, คุณภาพของจิตใจ)

บาลี “อตฺตภาว” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อัตภาพ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อัตภาพ : (คำนาม) ตน, ลักษณะความเป็นตัวตนหรือบุคคล. (ป. อตฺตภาว).”

ในภาษาไทย คำว่า “อัตภาพ” มักใช้พูดในเชิงธรรมะหรือธรรมดา เช่น ทำมาหากินไปตามอัตภาพ กินอยู่ใช้สอยตามควรแก่อัตภาพ สุขบ้างทุกข์บ้างไปตามอัตภาพ

…………..

ดูก่อนภราดา!

คนส่วนมากทุ่มเทเอาใจใส่ดูแลสุขภาพร่างกาย-

คือ “อัตภาพ” กันอย่างเต็มที่

แต่มักลืมนึกถึงหลักความจริงที่ว่า –

: อัตภาพเป็นที่พึ่งให้เราได้อย่างนานที่สุดก็แค่ตาย

(และส่วนมากยังไม่ทันตายก็พึ่งไม่ได้แล้ว)

: แต่บุญกุศลเป็นที่พึ่งให้เราเลยตายไปอีกเป็นอเนกชาติ

#บาลีวันละคำ (3,178)

23-2-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย