บาลีวันละคำ

ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ (บาลีวันละคำ 3,974)

ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ

1 ในพุทธกิจ 5 ประการ

…………..

พุทธกิจ 5 ประการปรากฏตามคำบาลีแต่งเป็นคาถาดังนี้ –

ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ

สายณฺเห ธมฺมเทสนํ

ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ

อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ

ปจฺจูเสว คเต กาเล 

ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ.

เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาต

เวลาเย็น แสดงพระธรรมเทศนา

เวลาย่ำค่ำ ประทานโอวาทแก่ภิกษุ

เวลาเที่ยงคืน พยากรณ์ปัญหาแก่เทวดา

เวลาใกล้รุ่ง ตรวจดูหมู่สัตว์ที่สมควรจะโปรด

หมายเหตุ: คำบาลีนี้ยังไม่พบที่มาว่าอยู่ในคัมภีร์อะไร หรือท่านผู้ใดเป็นผู้รจนาขึ้น ข้อความมีเพียงแค่นี้หรือมีมากกว่านี้ ท่านผู้ใดทราบ ขอความกรุณาให้ข้อมูลด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

…………..

ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ” เขียนแบบคำอ่านว่า “ปุพพัณฺเห ปิณฑะปาตัญจะ” คำบาลีที่ควรศึกษาคือ “ปุพฺพณฺเห” และ “ปิณฺฑปาต

(๑) “ปุพฺพณฺเห

รูปคำเดิมเป็น “ปุพฺพณฺห” อ่านว่า ปุบ-พัน-หะ ประกอบด้วยคำว่า ปุพฺพ + อห 

(ก) “ปุพฺพ” อ่านว่า ปุบ-พะ รากศัพท์มาจาก ปุพฺพฺ (ธาตุ = เต็ม) + (อะ) ปัจจัย

: ปุพฺพฺ + = ปุพฺพฺ แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนที่เต็ม” หมายถึง อดีต, แต่ก่อน, ก่อน (previous, former, before)

ปุพฺพ” สันสกฤตเป็น “ปูรฺว” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปูรฺวฺว, ปูรฺว : (คำวิเศษณ์) ประถม, แรก, ก่อน; ฝ่ายตวันออก; ทั้งสิ้น, สกล; first, former, prior, initial; eastern, entire; – (คำบุรพบท) ข้างน่า; before, in front of; – (คำนามพหูพจน์) บรรพบุรุษ; ทิศตวันออก; โบราณคดี; ancestors, fore-fathers; the east; an ancient tradition.”

ในภาษาไทยใช้ตามบาลีเป็น “บุพ-” หรือ “บุพพ-” ก็มี ใช้อิงสันสกฤตเป็น “บุรพ-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และแผลงเป็น “บรรพ” เขียนเป็น บรรพ์ (การันต์ที่ ) ก็มี

บุพ-” และ “บุรพ-” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

(1) บุพ-, บุพพ– : (คำวิเศษณ์) ก่อน, ทีแรก; เบื้องต้น, เบื้องหน้า. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว).

(2) บุรพ– : (คำวิเศษณ์) บุพ. (ส. ปูรฺว; ป. ปุพฺพ).

(ข) “อห” อ่านว่า อะ-หะ รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + หา (ธาตุ = ละ, ทิ้ง) + (อะ) ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือ อา ที่ หา (หา > ), แปลง เป็น  

: + หา = นหา > นห + = นห > อห (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ไม่ละการย้อนกลับมา” หมายถึง วัน (a day)

ปุพฺพ + อห แปลง อห เป็น อณฺห

: ปุพฺพ + อห = ปุพฺพห > ปุพฺพณฺห (ปุบ-พัน-หะ) แปลตามศัพท์ว่า “เบื้องต้นแห่งวัน” หมายถึง ส่วนแรกของวัน, ก่อนเที่ยง, เวลาเช้า (the former part of the day, forenoon, morning)

ปุพฺพณฺห” แจกด้วยวิภัตตินามที่เจ็ด (สัตตมีวิภัตติ) นปุงสกลิงค์ เอกวจนะ เปลี่ยนรูปเป็น “ปุพฺพณฺเห” (สะกดเป็น ปุพฺพเณฺห ก็มี) แปลว่า “ในเวลาเช้า

(๒) “ปิณฺฑปาต

อ่านว่า ปิน-ดะ-ปา-ตะ ประกอบด้วยคำว่า ปิณฺฑ + ปาต 

(ก) “ปิณฺฑ” (ปิน-ดะ) รากศัพท์มาจาก ปิณฺฑฺ (ธาตุ = รวบรวม, ทำให้เป็นกอง) + (อะ) ปัจจัย 

: ปิณฺฑฺ + = ปิณฺฑ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขารวมกัน” 

ปิณฺฑ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) ก้อน, ก้อนกลม, มวลที่หนาและกลม (a lump, ball, thick & round mass)

(2) ก้อนข้าว, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ถวายพระหรือให้ทาน, ทานที่ให้เป็นอาหาร (a lump of food, esp. of alms, alms given as food) 

(3) กองรวม, การสะสม, รูปหรือแบบอัดกันแน่น, กอง (a conglomeration, accumulation, compressed form, heap) 

(ข) “ปาต” (ปา-ตะ) รากศัพท์มาจาก ปตฺ (ธาตุ = ตกไป) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ต้นธาตุเป็น อา (ปตฺ > ปาต

: ปตฺ + = ปตณ > ปต > ปาต (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ตกไป” หมายถึง (1) การตก (fall) (2) การโยน, การขว้าง (throwing, a throw)

ปิณฺฑ + ปาต = ปิณฺฑปาต (ปิน-ดะ-ปา-ตะ) แปลตามศัพท์ว่า “การตกของก้อนข้าว” “การโยนก้อนข้าว” หมายถึง ทำอาหารให้ตกลงไปในบาตร, อาหารที่บิณฑบาตได้มา (alms-gathering, food received in the alms-bowl)

ปิณฺฑปาต” ในภาษาไทยใช้เป็น “บิณฑบาต” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

บิณฑบาต : (คำนาม) อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. (คำกริยา) กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานํามาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).”

เป็นอันว่า ในภาษาไทย “บิณฑบาต” มี 2 ความหมาย คือ –

(1) อาหาร

(2) กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานํามาใส่บาตร คือที่พูดกันสั้นๆ “ออกบิณฑบาต”

ขยายความ :

คำบาลีที่ยกขึ้นข้างต้นเป็น “ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ” คำว่า “ปิณฺฑปาต” เปลี่ยนรูปเป็น “ปิณฺฑปาตญฺจ” แยกศัพท์เป็น ปิณฺฑปาตํ + ตามรูปศัพท์เช่นนี้แสดงว่า “ปิณฺฑปาต” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) 

” เป็นคำจำพวกนิบาต แปลว่า และ-, -ด้วย (and)

ปิณฺฑปาตํ + แปลงนิคหิตเป็น ญฺ จึงได้รูปเป็น “ปิณฺฑปาตญฺจ” อ่านว่า ปิน-ดะ-ปา-ตัน-จะ 

ที่รู้ว่า “ปิณฺฑปาตํ” เป็นทุติยาวิภัตติ เพราะ “ปิณฺฑปาต” เป็นปุงลิงค์ ถ้าแจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกวจนะ จะต้องเปลี่ยนรูปเป็น “ปิณฺฑปาโต” 

ปิณฺฑปาต” เปลี่ยนรูปเป็น “ปิณฺฑปาตํ” มีได้วิภัตติเดียว คือ ทุติยาวิภัตติ เอกวจนะ ที่บอกได้เช่นนี้เพราะสูตรการเปลี่ยนรูปเมื่อแจกวิภัตติของศัพท์ที่เป็น “อะ-การันต์ ในปุงลิงค์” (“ปิณฺฑปาต” เป็น อะ-การันต์ ในปุงลิงค์) กำหนดไว้เช่นนั้น 

และที่รู้ได้ว่ากำหนดไว้เช่นนั้น ก็เพราะนักเรียนบาลีต้องท่องจำสูตรการเปลี่ยนรูปได้แม่นยำตั้งแต่เริ่มเรียนบาลีไวยากรณ์

และนี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมเรียนบาลีจึงต้องมีการท่องจำ

นักการศึกษาที่รังเกียจและตำหนิการท่องจำ ถ้ามีวิธีการอย่างอื่น จะใช้วิธีการอย่างอื่นก็ได้ แต่ต้องนำไปสู่ผลที่ต้องการอย่างเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อเห็นรูปศัพท์คำบาลี ต้องสามารถบอกได้ว่า รูปคำเดิมคืออะไร แจกด้วยวิภัตติอะไรจึงเปลี่ยนรูปเป็นอย่างนี้ และศัพท์ที่เปลี่ยนรูปอย่างนี้แปลว่าอะไร ถ้าสามารถตอบคำถามพวกนี้ได้โดยไม่ต้องอาศัยการท่องจำเป็นพื้นฐาน ก็สามารถใช้วิธีเช่นนั้นได้เต็มที่ ไม่ได้ขัดข้องแต่ประการใด กลับจะยิ่งดีเสียอีก ที่นักเรียนไม่ต้องเปลืองสมองไปกับการท่องจำ

…………..

สรุป :

“พุทธกิจ” คือ หน้าที่ของพระพุทธเจ้าตามที่ผู้รู้ท่านประมวลไว้มี 5 ประการ พระพุทธเจ้าต้องทรงปฏิบัติทุกวันตั้งแต่รุ่งเช้าของวันหนึ่งจนถึงรุ่งสางของอีกวันหนึ่ง

พุทธกิจประการแรกของวัน คำบาลีว่า “ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ” แปลความว่า “เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาต” รายละเอียดของศัพท์มีดังที่แสดงมา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: พระพุทธองค์ยังเสด็จออกบิณฑบาตทุกเช้า

: สาวกของพระพุทธเจ้าไฉนจึงจะไม่ควรออกบิณฑบาต

#บาลีวันละคำ (3,974)

30-4-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *