บาลีวันละคำ

อนาลโย (บาลีวันละคำ 3,200)

อนาลโย

ผู้ไม่มีความอาลัย

อ่านว่า อะ-นา-ละ-โย

อนาลโย” รูปคำเดิมเป็น “อนาลย” อ่านว่า อะ-นา-ละ-ยะ รากศัพท์มาจาก + อาลย

(๑) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นคำจำพวก “นิบาต” คำจำพวกนี้ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ อาจเปลี่ยนรูปโดยวิธีสนธิกับคำอื่นบ้าง แต่คงถือว่าเป็นคำเดิมเพราะเวลาแปลต้องแยกคำออกเป็นคำเดิมเสมอ

นักเรียนบาลีมักท่องจำรวมกับคำอื่นในกลุ่มเดียวกันว่า “ ไม่ โน ไม่ มา อย่า เทียว” ( [นะ] = ไม่, โน = ไม่, มา = อย่า, [วะ] = เทียว)

” เป็นนิบาตบอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(๒) “อาลย

บาลีอ่านว่า อา-ละ-ยะ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, มาก, ยิ่ง) + ลิ (ธาตุ = ติดใจ, ติดแน่น) + ปัจจัย, ลบ , แปลง อิ ที่ ลิ เป็น (ลิ > ลย)

: อา + ลิ = อาลิ + = อาลิณ > อาลิ > อาลย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ติดใจยินดีแห่งผู้คน” “สิ่งที่ใจไปติดแน่นอยู่

นักภาษาอธิบาย “อาลย” เป็นรูปธรรมว่า เหมือน “คอน” ที่นกเกาะนอน เท้านกจะต้องยึดแน่นอยู่กับคอนนั้น มิเช่นนั้นก็ตก อาการที่จับติดแน่นไม่ยอมปล่อยนั่นเองคือ “อาลัย

ตามรากศัพท์เช่นนี้ “อาลัย” ในทางรูปธรรมจึงหมายถึงสถานที่พักอาศัย, ที่อยู่, แหล่งรวมของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น –

ชลาลัย = แหล่งรวมแห่งน้ำ คือแม่น้ำ หรือทะเล

บรรณาลัย = แหล่งรวมแห่งหนังสือ คือสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ต่างๆ ทางศาสนา, ห้องสมุด

อาลย” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) คอนสำหรับนกหรือไก่เกาะหรือนอน (ความหมายเดิม), สถานที่พักอาศัย, บ้านเรือน (roosting place, perch, abode settling place, house)

(2) เกาะเกี่ยวอยู่, ความรักใคร่, ความต้องการ, ตัณหา, ราคะ (hanging on, attachment, desire, clinging, lust)

(3) การแสร้งทำ, มารยา, ข้อแก้ตัว (pretence, pretext, feint)

บาลี “อาลย” ภาษาไทยใช้เป็น “อาลัย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) อาลัย ๑ : (คำกริยา) ห่วงใย, พัวพัน, ระลึกถึงด้วยความเสียดาย.น. ความห่วงใย, ความพัวพัน, ความระลึกถึงด้วยความเสียดาย. (ป., ส. อาลย).

(2) อาลัย ๒ : (คำนาม) ที่อยู่, ที่พัก, เช่น ชลาลัย = ที่อยู่แห่งนํ้า หมายถึง ทะเล แม่น้ำ เป็นต้น หิมาลัย = ที่อยู่แห่งหิมะ เป็นชื่อของเทือกเขาสูงอยู่ทางทิศเหนือของอินเดีย ยอดเขามีหิมะปกคลุมตลอดปี.

+ อาลย

ตามกฎไวยากรณ์บาลี :

(1) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ท่านให้แปลง “” เป็น “” (อะ)

เช่น + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

(2) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ท่านให้แปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ)

ในที่นี้ “อาลย” ขึ้นต้นด้วยสระ (อา-) ดังนั้นจึงต้องแปลง “” เป็น “อน

+ อาลย : > อน + อาลย = อนาลย (อะ-นา-ละ-ยะ) แปลว่า “ผู้ไม่มีความอาลัย” หมายถึง ไม่มีความยึดติดในสิ่งใดๆ

อนาลย” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกวจนะ (เอกพจน์) ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “อนาลโย” (อะ-นา-ละ-โย)

ความรู้แบบลักจำเอาง่ายๆ :

ฉายาพระมักเป็น “อะ-การันต์” คือคำที่ลงท้ายด้วยเสียงสระ อะ เช่น ชุตินฺธร (ชุ-ติน-ทะ-ระ) ภูริทตฺต (พู-ริ-ทัด-ตะ) ปยุตฺต (ปะ-ยุด-ตะ) เมื่อแจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง พยางค์ท้ายก็จะเปลี่ยนรูปเป็น “สระ-โอ” ดังที่เราเห็นกันทั่วไป เช่น –

ชุตินฺธร” เป็น “ชุตินฺธโร” (ชุ-ติน-ทะ-โร)

ภูริทตฺต” เป็น “ภูริทตฺโต” (พู-ริ-ทัด-โต)

ปยุตฺต” เป็น “ปยุตฺโต” (ปะ-ยุด-โต)

และ “อนาลย” เป็น “อนาลโย” (อะ-นา-ละ-โย)

ขยายความ :

คำว่า “อนาลโย” ที่เราคุ้นกันดี คือนามฉายาหลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นพระภิกษุคณะธรรมยุติกนิกาย ได้รับความเคารพนับถือจากพุทธศาสนิกชนในฐานะพระนักปฏิบัติ หลวงปู่ขาวเกิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2431 ที่หนองบัวลำภู อุปสมบทเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2462 อายุ 30 จาริกปฏิบัติธรรมไปตามที่ต่างๆ ในที่สุดพำนักจำพรรษาที่วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อ พ.ศ.2501 จวบจนมรณภาพเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2526 อายุ 94 พรรษา 64

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ระเบียบวินัยต้อง “ยึดถือ” ไว้เป็นประจำ

: ความหมายเป็นคนละคำกับความไม่ “ยึดติด”

#บาลีวันละคำ (3,200)

17-3-64

ความคิดเห็นท้ายโพสต์

C-Mon Amonsak Sreesukglang

อยากให้อาจารย์อธิบายเรื่องฉายาพระที่ลงท้ายด้วย อี ต่อด้วยครับ ว่าทำไมจึงเป็นอี มีหลักอย่างไร เช่น เทสรังสี เขมรังสี วชิรเมธี ญาณสิริ ฯลฯ

อนาลโย

25/9/2015 09:45

AunWisan Shrisopha

    บุญ ไม่ได้มาจาก ปุร  ธาตุในความเต็มหรือ ช่วยอธิบายด้วย

    ทองย้อย แสงสินชัย

    25/9/2015 12:01

    รับการบ้านครับผม

    วันพฤหัสบดี

    5/11/2015 06:17

    AunWisan Shrisopha

    มุสาวาทา มีวิเคราะห์ว่าไงครับ

    วันนี้

8/11/2015  14:42

    AunWisan Shrisopha

    อนาลโย วิเคราะว่าอะไรครับ

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน

#บาลีวันละคำ (3,200)

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย