บาลีวันละคำ

วัฏสงสาร (บาลีวันละคำ 3,205)

วัฏสงสาร

หาจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดมิได้

อ่านว่า วัด-ตะ-สง-สาน

ประกอบด้วย วัฏ + สงสาร

(๑) “วัฏ

บาลีเป็น “วฏฺฏ” อ่านว่า วัด-ตะ รากศัพท์มาจาก วฏฺฏ (ธาตุ = หมุน, วน) + (อะ) ปัจจัย

: วฏฺฏ + = วฏฺฏ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่กลม” “สิ่งที่หมุนเวียน

วฏฺฏ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) รอบ, กลม, วงกลม (round, circular; circle)

(2) หมุนไป, วงรอบของความเป็นอยู่, วัฏสงสาร, วิวัฒน์ (rolling on, the round of existences, cycle of transmigrations, evolution)

บาลี “วฏฺฏ” ภาษาไทยใช้เป็น “วัฏฏะ” และตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง ใช้เป็น “วัฏ-” (กรณีมีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วัฏ-, วัฏฏะ : (คำแบบ) (คำนาม) วงกลม; การหมุน, การเวียนไป, รอบแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย.ว. กลม, เป็นวง. (ป.; ส. วฺฤตฺต).”

(๒) “สงสาร

บาลีเป็น “สํสาร” อ่านว่า สัง-สา-ระ รากศัพท์มาจาก สํ (พร้อมกัน) + สรฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, บรรลุ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (สรฺ > สาร)

: สํ + สรฺ = สํสรฺ + = สํสรณ > สํสร > สํสาร (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การท่องเที่ยวไปจากที่นี้ๆ ด้วยอำนาจกรรมกิเลส

สํสาร” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การเดินทาง, การโยกย้าย (faring on, transmigration)

(2) การเคลื่อนไป, การหมุนเวียน (moving on, circulation)

สํสาร” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สังสาร” แต่มักเพี้ยนเป็น “สงสาร” (สง-สาน)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แปล “สงสาร” เป็นอังกฤษตามความหมายเดิมในบาลีไว้ดังนี้ –

สงสาร (Saŋsāra, Saŋsāracakka): lit. faring on; the Round of Rebirth; the Round of Existence; the Wheel of Rebirth; the Wheel of Life; the Life Process; Rebirth process; the Process of Birth and Death.

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) สงสาร ๑, สงสาร– : (คำนาม) การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด; โลก. (ป., ส. สํสาร).

(2) สงสาร ๒ : (คำกริยา) รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.

วฏฺฏ + สํสาร = วฏฺฏสํสาร > วัฏสังสาร > วัฏสงสาร (วัฏ ตัด ออกตัวหนึ่งตามหลักนิยมของไทย) แปลตามศัพท์ว่า “วงกลมแห่งการท่องเที่ยว

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วัฏสงสาร : (คำนาม) การเวียนว่ายตายเกิด, สงสารวัฏ หรือ สังสารวัฏ ก็ว่า. (ป.).”

วัฏสงสาร ปฏัก ตัวเดียว และไม่ต้องมีสระ อะ ที่ “วัฏ-”

คือไม่ใช่ “วัฏฏสงสาร” และไม่ใช่ “วัฏฏะสงสาร

แต่คือ “วัฏสงสาร

ข้อสังเกต :

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ไม่มีคำว่า “สังสาร” แต่มีคำว่า “สังสารวัฏ

พจนานุกรมฯ มีคำว่า “สงสาร” และมีคำว่า “สงสารวัฏ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สังสารวัฏ : (คำนาม) การเวียนว่ายตายเกิด, สงสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร ก็ว่า. (ป. สํสารวฏฺฏ).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ขยายความไว้ดังนี้ –

(1) สังสารวัฏ : วังวนแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกหรือในภพต่างๆ, โดยใจความ ก็ได้แก่ “สังสาระ” นั่นเอง.

(2) สังสาระ : การเที่ยวเร่ร่อนไปในภพ คือภาวะแห่งชีวิต ที่ถูกพัดพาให้ประสบสุขทุกข์ ขึ้นลง เป็นไปต่างๆ ตามกระแสแห่งอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน, การว่ายวนอยู่ในกระแสแห่งกิเลส กรรม และวิบาก, การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกหรือในภพต่างๆ, ว่าโดยสภาวะ ก็คือ ความสืบทอดต่อเนื่องไปแห่งขันธ์ทั้งหลายนั่นเอง; นิยมพูดว่า สังสารวัฏ.

…………..

สรุปว่า ในภาษาไทย คำนี้มีทั้ง –

วัฏสงสาร” (วัด-ตะ-สง-สาน)

สงสารวัฏ” (สง-สา-ระ-วัด)

สังสารวัฏ” (สัง-สา-ระ-วัด)

แต่ไม่มี “วัฏสังสาร” (วัด-ตะ-สัง-สาน)

ในคัมภีร์บาลี มีคำว่า “สํสารวฏฺฏ” (สัง-สา-ระ-วัด-ตะ) แต่ยังไม่พบคำว่า “วฏฺฏสํสาร” (วัด-ตะ-สัง-สา-ระ)

…………..

ในวัฏสงสารอันยาวนานไกล

ไม่มีใครที่ไม่เคยเกิดเป็นอะไรกันมาก่อน

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าท่านเกลียดใครสักคน

: จะต่างอะไรกับท่านเกลียดตัวตนของท่านเอง

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

#บาลีวันละคำ (3,205)

22-3-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย