บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

บทความเรื่อง ชุดหมอชีวก

นาคาวโลก

————

ผมกำลังสืบค้นเรื่องของหมอชีวกโกมารภัจที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถาฎีกาต่างๆ การศึกษาสืบค้นนี้ทำให้ต้องพาดพิงไปถึงสถานที่ต่างๆ ที่พัวพันหรือผูกพันอยู่ในประวัติหมอชีวก

สถานที่ที่ผมติดใจอย่างมากก็คือ ชีวกัมพวัน มัททกุจฉิมิคทายวัน แล้วก็เกี่ยวพันไปถึงสถานที่ที่พระเทวทัตกลิ้งหินหมายปลงพระชนม์พระพุทธองค์ อยู่ตรงไหนของเขาคิชฌกูฏ

โดยเฉพาะชื่อสถานที่ “มัททกุจฉิมิคทายวัน” ซึ่งเมื่อพระพุทธองค์ได้รับบาดเจ็บจากการกระทำของพระเทวทัต พวกภิกษุได้พาพระองค์มาพักที่นี่ก่อนที่จะพาต่อไปยังชีวกัมพวัน ผมสงสัยว่าสถานที่ทั้งสองแห่งนี้อยู่ตรงไหนกันแน่ของเมืองราชคฤห์

เคยเขียนขอแรงไปยังญาติมิตร – โดยเฉพาะญาติมิตรที่มีความรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของอินเดีย ท่านที่นิยมไปแสวงบุญที่อินเดีย หลายท่านบอกว่าไปมาแล้วหลายเที่ยว แล้วก็ท่านที่เรียนบาลี ให้ช่วยกันค้นหน่อย

ก็-อย่างว่า อัธยาศัย ความชอบ ของแต่ละท่านไม่เหมือนกัน จะเกณฑ์ให้ท่านเหล่านั้นสนใจเหมือนผมก็คงไม่ได้ อันนี้ไม่ว่ากันอยู่แล้ว ผมก็ต้องงมเอาเองต่อไป

เช่น-ตั้งหลักที่ “มัททกุจฉิมิคทายวัน” เป็น ๑ ในสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงทำ “นิมิตโอภาส” ให้พระอานนท์เกี่ยวกับอานิสงส์ของอิทธิบาทธรรม เพื่อให้พระอานนท์ทูลอาราธนาให้ทรงดำรงพระชนม์อยู่ “ตลอดกัป” ในพระไตรปิฎกระบุชื่อสถานที่พวกนี้ไว้เป็นอันมาก

ค้นไปๆ ก็เลยไปถึงเหตุการณ์ในพรรษาสุดท้ายที่ทรงจำพรรษาที่เขตเมืองเวสาลี ซึ่งมีสถานที่ที่ทรงทำนิมิตโอภาสหลายแห่ง

พระไตรปิฎกบันทึกว่า เมื่อเสด็จออกจากเมืองเวสาลีมีเหตุการณ์ที่เรียกว่า “นาคาวโลก” เกิดขึ้น

ตามไปดูในอรรถกถา ก็เจอคำอธิบายที่น่าสนใจ

เป็นที่มาของเรื่อง “นาคาวโลก” ที่ผมกำลังจะเล่าให้ฟัง

ตามเรื่องที่อรรถกถาอธิบาย ท่านว่าเมื่อพระพุทธองค์เสด็จออกจากประตูเมืองเวสาลี ทรงมีพุทธประสงค์จะทอดพระเนตรเมืองเวสาลีเป็นปัจฉิมทัศนาการ-คือดูเป็นครั้งสุดท้าย

ทันใดนั้นพื้นปฐพีที่ทรงยืนอยู่ก็กระทำอาการดุจแป้นของช่างหม้อ คือหมุนเป็นวงกลม

หมายความว่า พระพุทธองค์ไม่ต้องทรงหันพระองค์กลับมามอง แต่แผ่นดินที่ทรงเหยียบยืนอยู่หมุนกลับมาทำให้องค์ของพระพุทธเจ้าหันกลับมาทางประตูเมืองเวสาลีทำให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรเมืองเวสาลีได้ดังพุทธประสงค์

เหตุการณ์นี้พระไตรปิฎกเรียกว่า “นาคาวโลกิต” ซึ่งภาษาไทยเอามาเรียกว่า “นาคาวโลก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 อธิบายความหมายของคำว่า “นาคาวโลก” ไว้ดังนี้ –

………………..

นาคาวโลก  [-คาวะ-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์ไปทางซ้าย (เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีอย่างไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย).

………………..

ขอเรียนให้ทราบว่า คำอธิบายของพจนานุกรมฯ นี้น่าจะคลาดเคลื่อนจากคำอธิบายของอรรถกถา

คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ภาค ๒ ซึ่งอธิบายมหาปรินิพพานสูตร ในหน้า ๒๗๔ บรรยายเรื่อง “นาคาวโลกิต” ไว้ว่า

………………..

พุทฺธานํ  ปน  สุวณฺณกฺขนฺธํ วิย  เอกาพทฺธานิ  หุตฺวา  ฐิตานิ.  ตสฺมา  ปจฺฉโต  อปโลกนกาเล  น  สกฺกา  โหติ  คีวํ  ปริวตฺเตตุํ.  ยถา  ปน  หตฺถินาโค  ปจฺฉาภาคํ  อปโลเกตุกาโม  สกลสรีเรเนว  ปริวตฺตติ. เอวํ  ปริวตฺเตตพฺพํ  โหติ.

พระอัฐิ (คือกระดูก) ของพระพุทธเจ้าติดเป็นเนื้อเดียวกันเหมือนแท่งทองคำ เพราะฉะนั้น ในเวลาเหลียวหลัง จึงไม่สามารถเอี้ยวพระศอได้ อันว่าพญาช้างประสงค์จะเหลียวดูข้างหลังต้องหันกลับไปทั้งตัวฉันใด พระผู้มีพระภาคก็ต้องทรงหันพระวรกายไปทั้งพระองค์ฉันนั้น

………………..

คนธรรมดาเวลาจะดูอะไรที่อยู่ด้านหลัง ยืนอยู่กับที่ ลำตัวท่อนล่างอยู่ในทิศทางเดิม ลำตัวท่อนบนอาจเอี้ยวไปเล็กน้อย เอี้ยวคอหันไปด้านข้างให้สุดก็สามารถมองเห็นด้านหลังได้

แต่พระพุทธองค์ทรงทำเช่นนั้นไม่ได้ เหตุผลตามคำของอรรถกถาก็คือ “พระอัฐิของพระพุทธเจ้าติดเป็นเนื้อเดียวกันเหมือนแท่งทองคำ”

คือถ้าจะหัน ต้องหันหมดทั้งพระองค์ แบบเดียวกับช้าง

ช้างมันหันเฉพาะคอกลับมาดูข้างหลังไม่ได้ ต้องหันหมดทั้งตัวฉันใด พระพุทธองค์จะทอดพระเนตรด้านหลัง ก็ต้องหันกลับมาทั้งพระองค์ฉันนั้น

และนี่เองคือเหตุผลที่เรียกว่า “นาคาวโลก” ซึ่งแปลว่า “เหลียวมองอย่างช้าง”

คือไม่ใช่เอี้ยวตัวมอง แต่ต้องหันทั้งตัวไปมอง-แบบกลับหลังหัน

อรรถกถาอธิบายต่อไปว่า เมืองอื่นๆ ที่พระพุทธองค์เสด็จผ่านในพรรษาสุดท้าย พระองค์ก็ทอดพระเนตรเป็นปัจฉิมทัศนาการ-คือดูเป็นครั้งสุดท้ายทุกเมือง แต่ไม่ยกขึ้นมาเรียกว่า “นาคาวโลก” เป็นพิเศษ เพราะทรงหมุนพระองค์ไปด้วยพระองค์เอง

แต่เฉพาะที่เมืองเวสาลีเกิดกรณีพิเศษ คือพระพุทธองค์ประทับยืนอยู่กับที่ ไม่ต้องหมุนพระองค์กลับ เพราะพื้นดินตรงที่ทรงยืนอยู่ได้หมุนเป็นวงทำให้พระวรกายทั้งพระองค์หันกลับมาทอดพระเนตรเมืองเวสาลีได้โดยที่ทรงยืนอยู่ในท่าเดิม

เพราะเช่นนี้แหละจึงถือเป็นกรณีพิเศษ ยกขึ้นมาเรียกว่า “นาคาวโลก

อรรถกถาอธิบายต่อไปว่า ทั้งนี้เป็นเพราะทรงมีพุทธประสงค์จะให้ชาวเมืองเวสาลีจดจำเหตุการณ์นี้ไว้เป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะทรงเห็นอนาคตภัยของเมือง

“อนาคตภัย” ที่ว่านี้โยงไปถึงกรณีพระเจ้าอชาตศัตรูมีแผนการจะโจมตียึดครองแคว้นวัชชี (เวสาลีเป็นเมืองหลวงของวัชชี) แต่โจมตีกี่ครั้งก็ไม่สำเร็จ เพราะชาววัชชีดำรงอยู่ในหลักธรรมที่เรียกว่า “วัชชีอปริหานิยธรรม” หรือหลักสามัคคีธรรม

พระเจ้าอชาตศัตรูส่งวัสสการพราหมณ์ไปทูลถามพระพุทธองค์

พระพุทธองค์ไม่ตรัสเรื่องทำศึกสงคราม แต่ตรัสว่า ชาววัชชียังดำรงอยู่ในหลักวัชชีอปริหานิยธรรมอยู่ตราบใด ก็จะยังรักษาบ้านเมืองไว้ได้อยู่ตราบนั้น

วัสสการพราหมณ์จึงทูลพระเจ้าอชาตศัตรูให้ใช้อุบายทำลายสามัคคีธรรมโดยตนเองรับอาสาไปเป็นไส้ศึก

แผนการนี้ใช้เวลา ๓ ปีจึงสำเร็จ

พระพุทธองค์ทรงเห็น “อนาคตภัย” ดังว่านี้ และทรงเห็นว่า ภายใน ๓ ปี ชาววัชชีน่าจะมีเวลาพอที่จะบำเพ็ญบุญกุศลทำที่พึ่งแห่งตนตามแนวทางแห่งธรรมะได้ทัน จึงทรงกระทำให้เกิดกรณี “นาคาวโลก” เพื่อให้ชาววัชชีเห็นเป็นอัศจรรย์

ชาววัชชีก็เห็นเป็นอัศจรรย์จริงๆ ด้วย จึงได้สร้างเจดีย์ชื่อ “นาคาวโลก” ขึ้นไว้ตรงที่เกิดเหตุการณ์หน้าประตูเมือง แล้วชวนกันสักการบูชาพระเจดีย์ทั้งด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา เป็นการเก็บบุญเป็นทุนชีวิตในภายหน้าโดยทั่วกัน

๓ ปีหลังพุทธปรินิพพาน ก็ถึงกาลอวสานของเวสาลีด้วยน้ำมือของพระเจ้าอชาตศัตรูตามแผนของวัสสการพราหมณ์

แต่ชาววัชชีที่หมั่นบำเพ็ญบุญมาตลอด ๓ ปี โดยอาศัยเจดีย์ “นาคาวโลก” เป็นสื่อจูงใจ ก็น่าจะได้สร้างที่พึ่งแห่งตนได้สำเร็จแล้วเป็นจำนวนไม่น้อย

พระมหากรุณาอันมิรู้เสื่อมหาย ทรงบำเพ็ญพุทธกิจเพื่อความสวัสดีแห่งชาวโลกได้ ทั้งๆ ที่เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว

พุทฺธํ วรนฺตํ สิรสา นมามิ.

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๑๔ เมษายน ๒๕๖๓

๑๙:๕๒

ช่วงวันเวลาที่คนไทยต้องร่วมกันให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ของไทยและของโลก

————–

มหาปรินิพพานสูตร

สุตฺต ที. มหาวคฺโค – หน้าที่ 142

           ปริปกฺโก วโย มยฺหํ        ปริตฺตํ มม ชีวิตํ 

           ปหาย โว คมิสฺสามิ        กตํ เม สรณมตฺตโน ฯ 

           อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต        สุสีลา โหถ ภิกฺขโว 

           สุสมาหิตสงฺกปฺปา          สจิตฺตมนุรกฺขถ ฯ 

           โย อิมสฺมึ ธมฺมวินเย       อปฺปมตฺโต วิหริสฺสติ ๑ 

           ปหาย ชาติสํสารํ          ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสตีติ ฯ 

                    ตติยภาณวารํ ฯ ๒ 

     [๑๐๙]  อถโข  ภควา  ปุพฺพณฺหสมยํ  นิวาเสตฺวา  ปตฺตจีวรมาทาย 

เวสาลึ   ปิณฺฑาย   ปาวิสิ   เวสาลิยํ   ปิณฺฑาย   จริตฺวา   ปจฺฉาภตฺตํ 

ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต  นาคาวโลกิตํ๓  เวสาลึ  อปโลเกตฺวา  อายสฺมนฺตํ  อานนฺทํ     อามนฺเตสิ     อิทํ     ปจฺฉิมกํ     อานนฺท    ตถาคตสฺส  เวสาลิยา๔   ทสฺสนํ  ภวิสฺสติ  อายามานนฺท  เยน  ภณฺฑคาโม๕  เตนุปสงฺกมิสฺสามาติ  ฯ  เอวํ  ภนฺเตติ  โข  อายสฺมา  อานนฺโท ภควโต  ปจฺจสฺโสสิ   ฯ   อถโข   ภควา   มหตา   ภิกฺขุสงฺเฆน   สทฺธึ   เยน  ภณฺฑคาโม   ตทวสริ   ฯ   ตตฺร   สุทํ   ภควา  ภณฺฑคาเม  วิหรติ  ฯ  ตตฺร    โข   ภควา   ภิกฺขู   อามนฺเตสิ   จตุนฺนํ   ภิกฺขเว   ธมฺมานํ  อนนุโพธา    อปฺปฏิเวธา    เอวมิทํ    ทีฆมทฺธานํ   สนฺธาวิตํ   สํสริตํ  มมฺเจว  ตุมฺหากฺจ  ฯ  กตเมสํ  จตุนฺนํ  ฯ  อริยสฺส  ภิกฺขเว  สีลสฺส  อนนุโพธา  อปฺปฏิเวธา  เอวมิทํ  ทีฆมทฺธานํ  สนฺธาวิตํ 

#๑ สี. ยุ. วิเหสฺสติ ฯ ม. วิหสฺสติ ฯ ๒ ยุ. ตติยกภาณวารํ นิฏฺฐิตํ ฯ ม. ตติโย 

#ภาณวาโร ฯ ๓ ม. ยุ. นาคาปโลกิตํ ฯ ๔ ยุ. เวสาลิทสฺสนํ ฯ ๕ ม. ภณฺฑคาโม ฯ 

#อิโต ปรํ อีทิสเมว ฯ 

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 291

                        ตายเป็นเบื้องหน้า.   ภาชนะดิน    ที่ช่าง

                        หม้อทำ    ทั้งเล็กทั้งใหญ่   ทั้งสุกทั้งดิบ

                        ทุกชนิดมีความแตกเป็นที่สุดฉันใด  ชีวิต

                        ของสัตว์ทั้งหลาย   ก็ฉันนั้น.

         พระศาสดาได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

                             วัยของเราแก่หง่อมแล้ว   ชีวิตของเรา

                        เป็นของน้อย    เราจักละพวกเธอไป    เรา

                        ทำที่พึ่งแก่ตนแล้ว.

                             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     พวกเธอจงไม่

                        ประมาทมีสติ  มีศีลด้วยดีเถิด   จงเป็นผู้มี

                        ความดำริตั้งมั่นด้วยดี      จงตามรักษาจิต

                        ของตนเถิด.

                             ผู้ใดจักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในธรรม

                        วินัยนี้   ผู้นั้นจักละชาติสงสาร   แล้วการทำ

                        ที่สุดทุกข์ได้.

                                  จบตติยภาณวาร

                                 จตุราริยธรรมกถา

         [๑๐๙]   ครั้งนั้น  เวลาเช้า   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว   ทรงถือ

บาตรและจีวร   เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต     เสด็จเที่ยวบิณฑบาต

ในกรุงเวสาลี   ภายหลังภัต  เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทอดพระเนตรกรุงเวสาลี

เป็นนาคาวโลกแล้ว    ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า   อานนท์   การเห็นกรุงเวสาลี

ของตถาคตครั้งนี้  จักเป็นครั้งสุดท้าย มากันเถิด อานนท์  เราจักไปยังบ้านภัณฑ-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 292

คาม.  ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.  ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า   พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่   เสด็จถึงบ้านภัณฑคามแล้ว.

ได้ยินว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่  ณ  บ้านภัณฑคามนั้น.   ณ  ที่นั่นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า      ภิกษุทั้งหลาย      เพราะไม่รู้แจ้ง

แทงตลอดธรรม ๔ ประการ  เราและพวกเธอเร่ร่อนเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้.

๔ ประการเป็นไฉน.   เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดศีลอันเป็นอริยะ     เราและพวก

เธอเร่ร่อนเที่ยวไปสิ้นกาลนาน  เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดสมาธิอันเป็นอริยะ. . .

ปัญญาอันเป็นอริยะ . . . วิมุตติอันเป็นอริยะ   เราและพวกเธอ    จึงเร่ร่อนเที่ยว

ไปสิ้นกาลนานอย่างนี้.    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    เราได้รู้แจ้งแทงตลอด   ศีลอัน

เป็นอริยะ  สมาธิ  ปัญญา  วิมุตติ    อันเป็นอริยะแล้ว    ภวตัณหาเราถอนเลียแล้ว

ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว  บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.   พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต

ศาสดา   ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว   จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

         [๑๑๐]     ธรรมเหล่านี้คือ  ศีล  สมาธิ   ปัญญา

                     วิมุตติอันยอดเยี่ยม  อันพระโคดมผู้มียศ

                     ตรัสรู้แล้ว    ดังนั้นพระพุทธเจ้าทรงบอก

                     ธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย       เพื่อความรู้ยิ่ง

                     พระศาสดาผู้กระทำ     ซึ่งที่สุดแห่งทุกข์

                     มีพระจักษุปรินิพพานแล้ว.

         [๑๑๑] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับ ณ  บ้านภัณฑคามนั้น

ทรงกระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า    อย่างนี้ศีล   อย่าง

นี้สมาธิ     อย่างนี้ปัญญา      สมาธิอันศีลอบรมแล้วมีผลมาก     มีอานิสงส์มาก

ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว   มีผลมาก   มีอานิสงส์มาก   จิตอันปัญญาอบรมแล้ว

ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ  โดยชอบคือ   กามาสวะ   ภวาสวะ   อวิชชาสวะ.

อรรถกถา

ทีฆนิกายฏฺฐกถา (สุมงฺคลวิลาสินี ๒) – หน้าที่ 274

                *เล่มที่  ๕  มหาควฺควณฺณนา  หน้า  ๒๗๔

                        นาคาปโลกิตวณฺณนา 

        นาคาปโลกิตนฺติ(๒)  ยถา  หิ  มหาชนสฺส  อฏฺฐีนิ  โกฏิยา

โกฏึ  อาหจฺจ  ฐิตานิ  ปจฺเจกพุทฺธานํ  ฯ  องฺกุสกลคฺคานิ  วิย ฯ

น  เอวํ  พุทฺธานํ  ฯ  พุทฺธานํ  ปน  สุวณฺณกฺขนฺธํ  (๓)  วิย 

เอกาพทฺธานิ  หุตฺวา  ฐิตานิ  ฯ  ตสฺมา  ปจฺฉโต  อปโลกนกาเล

น  สกฺกา  โหติ  คีวํ  ปริวตฺเตตต  ฯ  ยถา  ปน  หตฺถินาโค 

ปจฺฉาภาคํ  อปโลเกตุกาโม  สกลสรีเรเนว  ปริวตฺตติ  ฯ  เอวํ 

ปริวตฺเตตพฺพํ  โหติ  ฯ  ภควโต  ปน  นครทฺวาเร  ฐตฺวา  เวสาลึ 

อปโลเกสฺสามีติ  จิตฺเต  อุปฺปนฺนมตฺเต  ภควา  อเนกานิ 

#  ๑.  ม.  ปฏิขาทิสฺสตีติ ฯ  ยุ.  ปฏิสงฺขริสฺสตีติ ฯ  ๒.  สฺยา.  นาคาวดลกิตนฺติ ฯ

๓.  ม.  สงฺขลิกานิ ฯ  ยุ.  สงฺขลิกา ฯ

ทีฆนิกายฏฺฐกถา (สุมงฺคลวิลาสินี ๒) – หน้าที่ 275

                        *เล่มที่  ๕  มหาปรินิพฺพานสุตฺตวณฺณนา  หน้า  ๒๗๕

กปฺปโกฏิสตสหสฺสานิ  (๑)  ปารมิโย  ปูเรนฺเตหิ  ตุเมฺหหิ  น  คีวํ 

ปริวตฺเตตฺวา  อปโลกนกมฺมํ  กตนฺติ  อยํ  มหาปฐวี  (๒)  กุลาลจกฺกํ 

วิย  ปริวตฺเตตฺวา  ภควนฺตํ  เวสาลีนคราภิมุขํ  อกาสิ  ฯ  ตํ 

สนฺธาเยตํ  วุตฺตํ  ฯ 

        นนุ  จ  น  เกวลํ  เวสาลิยาว  ฯ  สาวตฺถีราชคหนาลนฺท-

ปาฏลิคามโกฏิคามนาทิกคามเกสุปิ  ตโต  ตโต  นิกฺขนฺตกาเล 

ตนฺตํ  สพฺพํ  ปจฺฉิมทสฺสนเมว  ฯ  ตตฺถ  ตตฺถ  กสฺมา  นาคาปโลกิตํ 

นาปโลเกสีติ  ฯ  อนจฺฉริยตฺตา  ฯ  ตตฺถ  ตตฺถ  หิ  นิวตฺเตตฺวา 

อปโลเกนฺตสฺเสตํ  น  อจฺฉริยํ  โหติ  ฯ  ตสฺมา  นาปโลเกสิ  ฯ

อปิจ  เวสาลีราชาโน  อาสนฺนวินาสา  ฯ  ติณฺณํ  วสฺสานํ  อุปริ  

วินสฺสิสฺสนฺตีติ  ฯ  (๓)  เต  ตํ  นครทฺวาเร  นาคาปโลกิตํ  นาม  เจติยํ 

กตฺวา  คนฺธมาลาทีหิ  ปูเชสฺสนฺติ  ฯ  ตํ  เนสํ  ทีฆรตฺตํ  หิตาย  

สุขาย  ภวิสฺสตีติ  เตสํ  อนุกมฺปาย  อปโลเกสิ  ฯ 

        ทุกฺขสฺสนฺตงฺกโรติ  (๔)  วฏฺฏทุกฺขสฺส  อนฺตกโร ฯ  จกฺขุมาติ 

ปฺจหิ  จกฺขูหิ  จกฺขุมา ฯ  ปรินิพฺพุโตติ  กิเลสปรินิพฺพาเนน 

ปรินิพฺพุโต ฯ 

#  ๑.  ม.  กปฺปโกฏิสหสฺสานิ ฯ  ๒.  ม.  ปถวี ฯ  ๓.  ม.  ยุ.  อิติสทฺโท  นตฺถิ ฯ

๕.  สฺยา.  ทุกฺขสฺสนฺตงฺกโรติ ฯ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 402

         บทว่า  นาคาวโลกิตํ  ความว่า  เหมือนอย่างว่ากระดูกของมหาชนเอา

ปลายจดปลายตั้งอยู่เหมือนอัฏฐิของพระปัจเจกพุทธเจ้า     ที่เกี่ยวกันเหมือนขอ

ช้าง ฉันใด  อัฏฐิของพระพุทธเจ้าหาเหมือนฉันนั้นไม่.     ด้วยว่าอัฏฐิของพระ

พุทธเจ้าคิดเป็นอันเดียวกัน  เหมือนแท่งทองคำ  เพราะฉะนั้น   ในเวลาเหลียว

หลัง  จึงไม่สามารถเอี้ยวพระศอได้     ก็พระยาช้าง  ประสงค์  จะเหลียวดูช้าง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 403

หลังต้องเอี้ยวไปทั้งตัวฉันใด   พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ต้องทรงเอี้ยวพระวรกายไป 

ฉันนั้น.   แต่พอพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนที่ประตูพระนคร ก็ทรงเกิดความ

คิดว่า   จะทอดทัศนากรุงเวสาลี   แผ่นมหาปฐพีนี้เหมือนจะกราบทูลว่า   ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า   พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาหลายแสนโกฏิกัป    มิได้ทรง

กระทำ     คือเอี้ยวพระศอแลดู       จึงเปรียบเหมือนล้อดิน      กระทำพระผู้มี

พระภาคเจ้าให้บ่ายพระพักตร์มุ่งไปทางกรุงเวสาลี.     ท่านหมายเอาข้อนั้น     จึง

กล่าวว่า  นาคาวโลกิตํ  นี้.

         ถามว่า  การทอดทัศนากรุงเวสาลี      มิใช่เป็นปัจฉิมทัศนะอย่างเดียว

การทอดทัศนาแม้ในกรุงสาวัตถี   กรุงราชคฤห์  เมืองนาลันทา  บ้านปาฏลิคาม

โกฏิคาม   และนาทิกคาม   เวลาเสด็จออกจากที่นั้น   ๆ ทั้งหมดนั้น  ก็เป็นปัจฉิม

ทัศนะทั้งนั้นมิใช่หรือ เหตุไรในที่นั้นๆ จึงไม่เป็นการทอดทัศนาเป็นนาคาวโลก

(คือเป็นปัจฉิมทัศนะ).   ตอบว่า เพราะไม่เป็นอัศจรรย์.    จริงอยู่  พระผู้มีพระ

ภาคเจ้ากลับมาเหลียวดูในที่นั้น   ข้อนั้นไม่น่าอัศจรรย์  เพราะฉะนั้น   จึงไม่ชื่อว่า

ทรงเอี้ยวพระวรกายแลดู.   อนึ่ง เหล่าเจ้าลิจฉวี กรุงเวสาลีใกล้พินาศ จักพินาศ

ไปใน ๓ ปีข้างหน้า   เพราะฉะนั้น    เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น       จึงสร้างเจดีย์ชื่อว่า

นาคาปโลกิตเจดีย์  ใกล้ประตูพระนคร  จักบูชาเจดีย์นั้นด้วยสกัการะมีของหอม

และดอกไม้เป็นต้น       ข้อนั้นก็จะมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขตลอดกาล

นาน   เพราะฉะนั้น    จึงเอี้ยวพระวรกายแลดูเพื่ออนุเคราะห์เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น.

         บทว่า  ทุกฺขสฺสนฺตกโร  ได้แก่กระทำที่สุดแห่ววัฏฏทุกข์.  บทว่า

จกฺขุมา ได้แก่ผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕.   บทว่า  ปรินิพฺพุโต   ได้แก่ปรินิพพาน

ด้วยกิเลสปรินิพพาน.

         บทว่า   มหาปเทเส    ได้แก่โอกาสใหญ่  หรือในข้ออ้างใหญ่

อธิบายว่า  เหตุใหญ่ที่ท่านกล่าวอ้างผู้ใหญ่  เช่นพระพุทธเจ้าเป็นต้น.   บทว่า

——-

นาคาวโลก

 [-คาวะ-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์เหลียวไปข้างหลัง เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีผิดปรกติคล้ายดูอย่างไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่ได้เสด็จมาเห็นอีกต่อไป.

นาคาวโลก

 [-คาวะ-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์ไปทางซ้าย (เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีอย่างไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย).

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *