บทความเรื่อง กระบือบอด
ลำดันนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาที่ ๕ แก่วิเทหดาบสนั้น
ว่า :-
ผู้ถูกตักเตือน จะแค้นเคืองหรือไม่แค้น
เคืองก็ตามเถิด หรือจะเขี่ยทิ้งเหมือนโปรย
แกลบทิ้งก็ตาม เมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่
ขึ้นชื่อว่าบาป ย่อมไม่เปรอะเปื้อนเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาม ความว่า. โดยส่วนเดียว. มี
คำอธิบายว่า บุคคลผู้ทำกรรมไม่สมควร เมื่อถูกตักเตือนว่า ท่านทำกรรม
ไม่ควรแล้ว จะโกรธโดยส่วนเดียวก็ตาม หรือไม่โกรธก็ตาม. อีก
อย่างหนึ่งเขาจะเขี่ยทิ้งเหมือนกำแกลบหว่านทิ้งก็ตาม แต่ว่าเมื่อเรากล่าว
คำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อว่าบาปย่อมไม่มี.
ก็แหละพระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้ดำรงอยู่ในข้อ
ปฏิบัติที่สมควรแก่โอวาทของพระสุคตนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เราตถาคต
จักไม่ทะนุถนอมเลย เหมือนช่างหม้อทะนุถนอมภาชนะดินเหนียวที่
ยังดิบ ๆ ฉะนั้น เราตถาคตจักบำราบเอาบำราบเอา ผู้ใดหนักแน่นเป็น
สาระ ผู้นั้นก็จักดำรงอยู่ได้ เมื่อจะตักเตือนวิเทหดาบสอีก เพื่อแสดง
ให้เห็นว่า ท่านตักเตือนบำราบแล้ว ตักเตือนบำราบอีก จึงรับบุคคล
ทั้งหลายผู้เช่นกับภาชนะดินที่เผาสุกแล้วไว้ เหมือนช่างหม้อเคาะดูแล้ว
เคาะดูอีก ไม่รับเอาภาชนะดินที่ยังดิบไว้ รับเอาเฉพาะภาชนะดินที่เผา
สุกแล้วเท่านั้นไว้ฉะนั้นดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาไว้ว่า :-
ถ้าสัตว์เหล่านี้ไม่มีปัญญาของตนเอง หรือ
วินัยที่ศึกษาดีแล้วไซร้ คนจำนวนมากก็จะ
เที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในป่า
ฉะนั้น แต่เพราะเหตุที่ธีรชนบางเหล่า ศึกษาดี
แล้วในสำนักอาจารย์ฉะนั้น ธีรชนผู้มีวินัยที่
ได้แนะนำแล้ว จึงมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไปอยู่.
คาถานี้มีเนื้อความว่า ดูก่อนสหายวิเทหะ เพราะว่าถ้าหากสัตว์
เหล่านี้ ไม่มีปัญญาหรือไม่มีวินัยคืออาจารบัญญัติ ที่ศึกษาดีแล้วเพราะ
อาศัยเหล่าบัณฑิตผู้ให้โอวาทไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้คนเป็นอันมาก ก็จะ
เป็นเช่นท่านเที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอด ไม่รู้ที่ ๆ เป็นที่โคจรหรือ
อโคจร มีสิ่งที่น่ารังเกียจหรือไม่มีสิ่งที่น่ารังเกียจ เที่ยวไปในพงหญ้า
และเถาวัลย์เป็นต้น แต่เพราะเหตุที่สัตว์ บางพวกในโลกนี้ ที่
ปราศจากปัญญาของตนศึกษาดีแล้ว ด้วยอาจารบัญญัติในสำนักอาจารย์
เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีวินัยที่แนะนำแล้ว เพราะตนเป็นผู้ที่
อาจารย์แนะนำแล้ว ด้วยวินัยที่เหมาะสม คือเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว
ได้แก่เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิเที่ยวไปดังนี้. ด้วยคาถานี้ท่านคันธารดาบส
แสดงคำนี้ไว้ว่า จริงอยู่ คนนี้เป็นคฤหัสถ์ ก็ศึกษาสิกขาที่สมควรแก่
ตระกูลของตน เป็นบรรพชิตก็ศึกษาสิกขาที่สมควรแก่บรรพชิต อธิบาย
ว่า ฝ่ายคฤหัสถ์เป็นผู้ศึกษาดีในกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น ที่
เหมาะสมแก่ตระกูลของตนแล้วเที่ยว ก็จะเป็นผู้มีความเป็นอยู่สมบูรณ์
มีใจมั่นคงเที่ยวไป. ส่วนบรรพชิต เป็นผู้ศึกษาดีในอาจาระมีการก้าวไป
ข้างหน้าและการถอยกลับเป็นต้น และในอธิสีลสิกขา อธิจิตสิกขาและ
อธิปัญญาสิกขาทั้งหลายที่เหมาะสมแก่บรรพชิต ที่น่าเลื่อมใสแล้วก็เป็น
ผู้ปราศจากความฟุ้งซ่านมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไป. เพราะว่าในโลกนี้ :-
ความเป็นพหูสูต ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑
วาจาที่เป็นสุภาษิต ๑ สามอย่างนี้เป็นมงคลอัน
สูงสุดดังนี้.
วิเทหดาบสได้ฟังคำนั้นแล้ว ไหว้ขอขมาพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่
ท่านอาจารย์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอท่านจงตักเตือนจงพร่ำสอนเราเถิด
เรากล่าวกะท่านเพราะความเป็นผู้ไม่มีความยับยั้งใจโดยกำเนิด ขอท่าน
จงให้อภัยแก่เราเถิด. ท่านทั้ง ๒ นั้นอยู่สมัครสมานกันแล้วได้พากันไปป่า
หิมพานต์อีกนั่นแหละ ณ ที่นั้นพระโพธิสัตว์ได้บอกกสิณบริกรรมแก่
วิเทหดาบส. ท่านสดับแล้วยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น. ทั้ง ๒
ท่านนั้นเป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมแล้ว ได้เป็นผู้มีพรหมโลก เป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกไว้ว่า วิเทหราชาในครั้งนั้น ได้แก่พระอานนท์ในบัดนี้ ส่วน
คันธารราชา ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาคันธารชาดกที่ ๑
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๕๙ หน้า ๓๒๐-๓๓๑