บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

บทความเรื่อง กระบือบอด

อรรถกถาคันธารวรรคที่  ๒

                        อรรถกถาคันธารชาดกที่  ๑

         พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    ณ   พระวิหารเชตวัน      ทรงปรารภ

เภสัชชสันนิธิการสิกขาบท   สิกขาบทว่าด้วยการทำการสะสมเภสัช  แล้ว

จึงตรัสเรื่องนี้    มีคำเริ่มต้นว่า    หิตฺวา    คามสหสฺสานิ     ดังนี้

         ก็เรื่องเกิดขึ้นแล้วที่กรุงราชคฤห์.     ความพิสดารว่า     เมื่อท่าน

ปิลินทวัจฉะไปพระราชวังเพื่อปล่อยคนตระกูลผู้รักษาอาราม   แล้วสร้าง

ปราสาททองถวายพระราชาด้วยกำลังฤทธิ์     คนทั้งหลายเลื่อมใสพากัน

ส่งเภสัชทั้ง  ๕ ไปถวายพระเถระ.  ท่านแจกจ่ายเภสัชเหล่านั้นแด่บริษัท

แต่บริษัทของท่านมีมาก   พวกเขาเก็บของที่ได้  ๆ   มาไว้เต็มกระถางบ้าง

หม้อบ้าง   ถลกบาตรบ้าง.   คนทั้งหลายเห็นเข้าพากันยกโทษว่า    สมณะ

เหล่านี้มักมาก   เป็นผู้รักษาคลังภายใน.   พระศาสดาทรงสดับความเป็น

ไปนั้นแล้ว   จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า   ก็แลเภสัชที่เป็นของควรลิ้มของ

ภิกษุผู้เป็นไข้เหล่านั้นใดดังนี้เป็นต้น      ตรัสว่า     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

บัณฑิตสมัยก่อน  เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ  บวชเป็นนักบวชใน

ลัทธิภายนอก แม้รักษาเพียงศีล ๕ ก็ไม่เก็บก้อนเกลือไว้ เพื่อประโยชน์

ในวันรุ่งขึ้น    ส่วนเธอทั้งหลายบวชในศาสนา    ที่นำออกจากทุกข์เห็น

ปานนี้   เมื่อพากันทำการสะสมอาหารไว้  เพื่อประโยชน์แก่วันที่ ๒  วัน

ที่  ๓   ชื่อว่าทำสิ่งที่ไม่สมควร       แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

         ในอดีตกาล      พระโพธิสัตว์ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าคันธาระ

ในคันธารรัฐ   เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ   โดยพระราชบิดาทิวงคตแล้ว

ทรงครองราชย์โดยธรรม.   แม้ในมัชฌิมประเทศ   พระเจ้าวิเทหะก็ทรง

ครองราชย์ในวิเทหรัฐ.   พระราชาทั้ง  ๒  พระองค์นั้น    ทรงเป็นพระ-

สหายที่ไม่เคยเห็นกัน   แต่ก็ทรงมีความคุ้นเคยกันอย่างมั่นคง.  คนสมัย

นั้นมีอายุยืนดำรงชีวิตอยู่ได้ถึง ๓ แสนปีดังนั้นในวันอุโบสถกลางเดือน

พระจ้าคันธาระก็ทรงสมาทานศีลเป็นครั้งคราว  แล้วเสด็จไปประทับบน

พระบวรบัลลังก์ภายในชั้นที่โอ่โถง  ทรงตรวจดูโลกธาตุด้านทิศตะวันออก

ทางสีหปัญชรที่เปิดไว้    ตรัสถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรมแก่เหล่าอำมาตย์

ขณะนั้นพระราหูได้บดบังดวงจันทร์เต็มดวง   เหมือนกระโดดโลดเต้นไป

ในท้องฟ้า.   แสงจันทร์อันตรธานหายไป.         อำมาตย์ทั้งหลายไม่เห็น

แสงพระจันทร์            จึงทูลพระราชาถึงภาวะที่ดวงจันทร์ถูกราหูยึดไว้

พระราชาทรงทอดพระเนตรพระจันทร์   ทรงพระดำริว่า   พระจันทร์นี้

เศร้าหมองอับแสงไปเพราะสิ่งเศร้าหมองที่จรมา.     แม้ข้าราชบริพารนี้ก็

เป็นเครื่องเศร้าหมองสำหรับเราเหมือนกัน แต่การที่เราจะเป็นผู้หมดสง่า

ราศรีเหมือนดวงจันทร์ที่ถูกราหูยึดไว้นั้น ไม่สมควรแก่เราเลย. เราจักละ

ราชสมบัติออกบวช   เหมือนดวงพระจันทร์สัญจรไปในท้องฟ้าที่บริสุทธิ์ 

ฉะนั้น.    จะมีประโยชน์อะไรด้วยผู้อื่นที่เราตักเตือนแล้ว      เราจักเป็น

เสมือนผู้ไม่ข้องอยู่ด้วยตระกูลและหมู่คณะ  ตักเตือนตัวเองเท่านั้นเที่ยวไป

นี้เป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับเรา   แล้วทรงมอบราชสมบัติให้แก่เหล่าอำมาตย์

ด้วยพระดำรัสว่า        ท่านทั้งหลายจงพากันแต่งตั้งผู้ที่ท่านทั้งหลายต้อง

ประสงค์ให้เป็นพระราชาเถิด.    พระราชาในคันธารรัฐนั้นทรงสละราช-

สมบัติเสด็จออกทรงผนวชเป็นฤๅษี    ยังฌานและอภิญญาให้เกิดขึ้นแล้ว

ทรงเอิบอิ่มด้วยความยินดีในฌาน      สำเร็จการอยู่ในท้องถิ่นดินแดนหิม-

พานต์.    ฝ่ายพระเจ้าวิเทหะตรัสถามพวกพ่อค้าทั้งหลายว่า    พระราชา

พระสหายของเราสบายดีหรือ ?        ทรงทราบว่าพระองค์เสด็จออกทรง

ผนวชแล้วทรงดำริว่า  เมื่อสหายของเราทรงผนวชแล้ว  เราจักทำอย่างไร

กับราชสมบัติ   แล้วจึงทรงสละราชสมบัติในมิถิลนครกว้างยาว  ๗ โยชน์

คลังที่เต็มเพียบอยู่ในหมู่บ้าน  ๑๖,๐๐๐  หมู่บ้าน   ในวิเทหรัฐประมาณ

๓๐๐  โยชน์และหญิงฟ้อน    ๑๖,๐๐๐  นาง ไม่ทรงคำนึงถึงพระราชโอรส และพระราชธิดา  เสด็จสู่ท้องถิ่นดินแดนหิมพานต์ทรงผนวชแล้ว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *