บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

บทความเรื่อง กระบือบอด

เสวยผลไม้ตามที่มี   ประทับอยู่ไม่เป็นประจำเที่ยวสัญจรไป.   ทั้ง  ๒  ท่านนั้น

ประพฤติพรตและอาจาระสม่ำเสมอ  ภายหลังได้มาพบกันแต่ก็ไม่รู้จักกัน

ชื่นชมกันประพฤติพรตและอาจาระสม่ำเสมอกัน.     ครั้งนั้นวิเทหะดาบส

ทำการอุปัฏฐากท่านคันธารดาบส   ในวันเพ็ญวันหนึ่ง    เมื่อท่านทั้ง  ๒

นั้น      นั่งกล่าวกถาที่ประกอบด้วยธรรมกัน   ณ  ควงไม้ต้นใดต้นหนึ่ง

พระราหูบดบังดวงจันทร์   ที่ลอยเด่นอยู่ท้องฟ้า.    ท่านวิเทหดาบสคิดว่า

แสงพระจันทร์หายไปเพราะอะไรหนอ จึงมองดูเห็นพระจันทร์ถูกราหูยึด

ไว้  จึงเรียนถามว่า  ข้าแต่ท่านอาจารย์อะไรหนอนั้น  ได้บดบังพระจันทร์

ทำให้หมดรัศมี.   ท่านคันธารดาบสตอบว่า   ดูก่อนอันเตวาสิก    นี้ชื่อว่า

ราหูเป็นเครื่องเศร้าหมองอย่างหนึ่งของพระจันทร์  ไม่ให้พระจันทร์ส่อง

แสงสว่าง     แม้เราเห็นดวงจันทร์ถูกราหูบังแล้ว   คิดว่า     ดวงจันทร์ที่

บริสุทธิ์นี้      ก็กลายเป็นหมดแสงไป      เพราะเครื่องเศร้าหมองที่จรมา

ราชสมบัตินี้ก็เป็นเครื่องเศร้าหมองแม้สำหรับเรา        เราจักบวชอยู่จน

กระทั้งราชสมบัติ จะไม่ทำให้เราอับแสง  เหมือนราหูบังดวงจันทร์  แล้ว

ทำดวงจันทร์ที่ถูกราหูบังนั่นเองให้เป็นอารมณ์    ทอดทิ้งราชสมบัติใหญ่

หลวงบวชแล้ว.

         วิเทหดาบสถามว่า  ข้าแต่ท่านอาจารย์  ท่านเป็นพระเจ้าคันธาระ

หรือ ?     คันธารดาบส   ถูกแล้วผมเป็นพระเจ้าคันธาระ.

         วิ.   ข้าแต่ท่านอาจารย์     กระผมเองก็ชื่อว่าพระเจ้าวิเทหะ    ใน

มิถิลนครในวิเทหรัฐ  พวกเราเป็นสหายที่ยังไม่เคยเห็นกันมิใช่หรือ ?

         คัน.   ก็ท่านมีอะไรเป็นอารมณ์  จึงออกบวช ?

         วิ.  กระผมได้ทราบว่าท่านบวชแล้ว   คิดว่า   ท่านคงได้เห็นคุณ

มหันต์ของการบวชแน่นอน   จึงทำท่านนั่นแหละให้เป็นอารมณ์  แล้ว

สละราชสมบัติออกบวช.

         ตั้งแต่นั้นมาดาบสทั้ง  ๒  นั้น    สมัครสมานกันชื่นชมกันเหลือ

เกิน   เป็นผู้มีผลไม้เท่าที่หาได้เป็นโภชนาหาร   ท่องเที่ยวไป.     ก็แหละ

ทั้ง ๒ ท่านอยู่ด้วยกัน  ณ ที่นั้นมาเป็นเวลานาน  จึงพากันลงมาจากป่า

หิมพานต์    เพื่อต้องการลิ้มรสเค็มรสเปรี้ยว    ลุถึงชายแดนตำบลหนึ่ง

คนที่ทำลายเลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน      ถวายภิกษารับปฏิญญาแล้ว

พากันสร้างที่พักกลางคืนเป็นต้นให้ท่านอยู่ในป่า     แม้ในระหว่างทางก็

พากันสร้างบรรณศาลาไว้ในที่ ๆ มีน้ำสะดวกเพื่อต้องการให้ท่านทำภัตกิจ

ท่านพากันเที่ยวภิกขาจารที่บ้านชายแดนนั้นแล้ว    นั่งฉันที่บรรณศาลา

หลังนั้นแล้ว       จึงไปที่อยู่ของตน.      คนแม้เหล่านั้นเมื่อถวายอาหาร

ท่าน    บางครั้งก็ถวายเกลือใส่ลงในบาตร     บางคราวก็ห่อใบตองถวาย

บางคราวก็ถวายอาหารที่มีรสไม่เค็มเลย.    วันหนึ่งพวกเขาได้ถวายเกลือ

จำนวนมาก   ในห่อใบตองแก่ท่านเหล่านั้น.   วิเทหดาบสถือเอาเกลือไป

ด้วย    เวลาภัตกิจของพระโพธิสัตว์ก็ถวายจนพอ   ฝ่ายตนเองก็หยิบเอา

ประมาณพอควร    ที่เกินต้องการก็ห่อใบตองแล้วเก็บไว้ที่ต้นหญ้า   ด้วย

คิดว่า     จักใช้ในวันที่ไม่มีเกลือ   อยู่มาวันหนึ่งเมื่อได้อาหารจืด   ท่าน

วิเทหดาบสถวายภาชนะภิกษาแก่ท่านคันธาระแล้ว   นำเกลือออกมาจาก

ระหว่างต้นหญ้าแล้วกล่าวว่า   ข้าแต่ท่านอาจารย์    นิมนต์ท่านรับเกลือ.

คันธารดาบสถามว่า   วันนี้คนทั้งหลายไม่ได้ถวายเกลือ    ท่านได้มาจาก

ไหน ?

         วิ.  ข้าแต่ท่านอาจารย์ ในวันก่อนคนทั้งหลายได้ถวายเกลือมาก

กระผมจึงเก็บเกลือที่เกินความต้องการไว้ด้วยตั้งใจว่า       จักใช้ในวันที่

อาหารมีรสจืด.

         พระโพธิสัตว์จึงต่อว่า วิเทหดาบสว่า   โมฆบุรุษเอ๋ย   ท่านละทิ้ง

วิเทหรัฐประมาณ  ๓  ร้อยโยชน์มาแล้ว   ถึงความไม่มีกังวลอะไร  บัดนี้

ยังเกิดความทะยานอยากในก้อนเกลืออีกหรือ   เมื่อจะตักเตือนท่าน   จึง

ได้กล่าวคาถาที่  ๑ ว่า :-

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *