บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

บทความเรื่อง กระบือบอด

                        ท่านละทิ้งหมู่บ้านที่บริบูรณ์   ๑๖,๐๐๐  หมู่

           และคลังที่เต็มด้วยทรัพย์มาแล้ว   บัดนี้ยังจะทำ

           การสะสมอยู่อีก.

         บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า   โกฏฺาคารานิ  ได้แก่คลังทองคลัง

เงินคลังแก้วมีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น     ทั้งคลังผ้าและคลังข้าว

เปลือก.    บทว่า    ผีตานิ    ความว่า   เต็มแล้ว.   บทว่า    สนฺนิธินฺทานิ

กุพฺพสิ  ความว่า   บัดนี้    ท่านยังจะทำการสะสมเพียงเกลือ  ด้วยคิดว่า

จักใช้พรุ่งนี้   จักใช้วันที่  ๓.

         วิเทหดาบส    ถูกตำหนิอยู่อย่างนี้     ทนคำตำหนิไม่ได้    กลาย

เป็นปฏิปักษ์ไป   เมื่อจะแย้งว่า  ข้าแต่ท่านอาจารย์  ท่านไม่เห็นโทษของ

ตัวเอง  เห็นแต่โทษของผมอย่างเดียว  ท่านดำริว่า  เราจะประโยชน์อะไร

ด้วยคนอื่นที่ตักเตือนเรา   เราจักเตือนตัวเราเอง   ทอดทิ้งราชสมบัติออก

บวชแล้ว แต่วันนี้เหตุไฉนท่านจึงตักเตือนผม  จึงได้กล่าวคาถาที่  ๒ ว่า:-

                        ท่านละทิ้งอยู่คือคันธารรัฐ  หนีจากการ

           ปกครอง      ในราชธานีที่มีทรัพย์พอเพียงแล้ว

           บัดนี้   ยังจะปกครองในที่นี้อีก.

         บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า    ปสาสนิโต    ความว่า   จากการ

ตักเตือนและการพร่ำสอน. บทว่า  อิธ   ทานิ  ความว่า  เหตุไฉน   บัดนี้

ท่านจึงตักเตือนในที่นี้   คือในป่าอีก.

         พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว  ได้กล่าวคาถาที่  ๓  ว่า :-

                        ดูก่อนท่าน  วิเทหะ        เรากล่าวธรรม

           ความจริง   เราไม่ชอบอธรรมความไม่จริง  เมื่อ

           เรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่   บาปก็ไม่เปรอะเปื้อน

           เรา.

         บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า    ธมฺม   ได้แก่สภาวะความเป็นเอง

คือเหตุที่บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น  ทรงพรรณนาสรรเสริญ

แล้ว.   บทว่า   อธมฺโม   เม  น   รุจฺจติ   ความว่า    ธรรมดาอธรรมไม่ใช่

สภาวะความเป็นเอง      เราก็ไม่ชอบใจแต่ไหนแต่ไรมา.       บทว่า   

ปาปมุปลิมฺปติ  ความว่าเมื่อเรากล่าวสภาวะนั่นเองหรือเหตุนั่นแหละอยู่

ขึ้นชื่อว่าบาปจะไม่ติดอยู่ในใจ.    ธรรมดาการให้โอวาทนี้เป็นประเพณี

ของพระพุทธเจ้า     พระปักเจกพุทธเจ้าและพระสาวกและโพธิสัตว์ทั้ง

หลาย.    ถึงคนพาลจะไม่รับเอาโอวาทที่ท่านเหล่านั้นให้แล้ว     แต่ผู้ให้

โอวาทก็ไม่มีบาปเลย.   เมื่อจะแสดงอีกจึงกล่าวคาถาว่า :-

                        ผู้มีปัญญา  คนใดมักชี้โทษมักพูดบำราบ

           คนควรมองให้เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์  ควรคบ

           บัณฑิตเช่นนั้น   เพราะว่า   เมื่อคบบัณฑิตเช่น

           นั้น  จะมีแต่ความดีไม่มีความชั่ว     คนควรตัก

           เตือน  ควรพระสอนและควรห้ามเขาจากอสัต-

           บุรุษ     เพราะและเป็นที่รักของเหล่าสัตบุรุษ

           ไม่เป็นที่รักของเหล่าอสัตบุรุษ.

         วิเทหดาบสฟังถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว  กล่าวว่า   ข้าแต่

ท่านอาจารย์    บุคคลแม้เมื่อกล่าวถ้อยคำที่อิงประโยชน์   ก็ไม่ควรกล่าว

กระทบเสียดแทงผู้อื่น   ท่านกล่าวคำหยาบคายมาก       เหมือนโกนผม

ด้วยมีดโกนไม่คม     แล้วจึงกล่าวคาถาที่  ๔  ว่า :-

                        คนอื่นได้รับความแค้นเคือง  เพราะคำพูด

           อย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าคำนั้นจะมีประโยชน์

           มาก  บัณฑิตก็ไม่ควรพูด.

         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า   เยนเกนจิ   ความว่า  ด้วยเหตุ  แม้

ประกอบด้วยธรรม. บทว่า  ลภติ   รุปฺปนํ   ความว่า  ได้รับความกระทบ

กระทั่ง   ความแค้นเคืองคือความเดือดดาล.   บทว่า   นตํ   ภาเสยฺย    มี

เนื้อความว่า        เพราะฉะนั้น      บุคคลไม่ควรกล่าววาจาที่เป็นเหตุให้

ประทุษร้ายบุคคลอื่นนั้นที่มีประโยชน์มาก  คือแม้ที่อิงอาศัยประโยชน์

ตั้งมากมาย.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *