บาลีวันละคำ

วิปาก (บาลีวันละคำ 91)

วิปาก

อ่านว่า วิ-ปา-กะ

ใช้ในภาษาไทยว่า “วิบาก” (วิ-บาก)

วิปากวิบาก” แปลตามรากศัพท์ว่า “สิ่งที่สุกแล้วอย่างไม่เหลือ” = ไม่มีส่วนที่ยังดิบเหลืออยู่

แปลเอาความหมายว่า ผล, การสำเร็จผล, ผลิตผล, ผลที่เกิดจากเหตุ หรือผลของกรรม

ในภาษาไทย มักเข้าใจกันว่า “วิบาก” คือลำบาก เช่น ทางวิบาก วิ่งวิบาก หรือเมื่อทำอะไรแล้วไม่ราบรื่น ต้องประสบกับความทุกข์ยาก เดือดร้อน ก็จะพูดว่าเป็น “วิบากกรรม” และหมายถึงเป็นผลของกรรมชั่ว

วิบาก” ความหมายเดิม ไม่ได้แปลว่า “ลำบาก” แต่หมายถึง “ผลที่เกิดขึ้น” และไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นผลร้าย แม้ผลดี ก็เรียกว่า “วิบาก” เหมือนกัน

คำว่า “วิบาก” ถูกเข้าใจความหมายผิดเพี้ยนไป ก็คงจะต้องพูดว่า “เป็นวิบากของคำว่าวิบาก” นั่นเอง

บาลีวันละคำ (91)

7-8-55

ห้องพระ

15-5-56

ข้อมูลเพิ่มเติม

วิปาก

ผล, การสำเร็จผล, ผลิตผล, ผลที่เกิดจากเหตุ หรือผลของกรรม

วิบาก

  น. ผล, ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วอันทําไว้แต่อดีต, เช่น กุศลวิบาก กรรมวิบาก.ว. ลำบาก เช่น ทางวิบาก วิ่งวิบาก. (ป., ส. วิปาก).

วิบาก

ผล, ผลแห่งกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน

วิปากทุกข์

ทุกข์ที่เป็นผลของกรรมชั่ว เช่น ถูกลงอาชญาได้รับความทุกข์หรือตกอบาย หรือเกิดวิปฏิสารคือ เดือดร้อนใจ

วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย