บาลีวันละคำ

อาจริย (บาลีวันละคำ 133)

อาจริย

อ่านว่า อา-จะ-ริ-ยะ

ภาษาไทยนิยมใช้ตามรูปสันสกฤต คือ “อาจารฺย” เขียนว่า “อาจารย์” อ่านว่า อา-จาน

อาจริย” ประกอบด้วยคำว่า อา + จรฺ + อิย = อาจริย

อา” เป็นคำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง และเป็นคำแทนคำว่า “อาทิ” = แต่เดิม, เริ่มแรก และ “อาทร” (อา-ทะ-ระ) = เอาใจใส่, ให้ความสำคัญ

จรฺ” เป็นธาตุ (รากศัพท์) = ประพฤติ, บำเพ็ญ, ศึกษา

อิย” เป็นคำปัจจัย = พึง, ควร

อาจริยอาจารฺยอาจารย์” แปลตามศัพท์ว่า

1 ผู้ประพฤติเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่ศิษย์

2 ผู้ยังศิษย์ให้ศึกษามาแต่ต้น

3 ผู้อันศิษย์พึงประพฤติ คือปรนนิบัติด้วยความเอาใจใส่

4 ผู้บำเพ็ญประโยชน์สุขแก่ศิษย์อย่างดียิ่ง

ในทางธรรมจำแนก “อาจารย์” ออกเป็น 4 ประเภท คือ

1 บัพพชาจารย์ (บรรพชาจารย์) = พระที่รับผิดชอบในการบวชเป็นสามเณร

2 อุปสัมปทาจารย์ = พระที่รับผิดชอบในการบวชเป็นภิกษุ

3 นิสสยาจารย์ = พระที่รับผิดชอบในการทำหน้าที่ปกครองสั่งสอนให้การศึกษาอบรมแก่ภิกษุสามเณรที่บวชเข้ามาแล้ว

4 อุทเทศาจารย์ (ธรรมาจารย์) = ผู้สอนธรรม รวมไปถึงผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูสอนวิชาการในทางพระศาสนา

ในภาษาไทย “อาจารย์” ใช้ในความหมายว่า ผู้สั่งสอนวิชาความรู้, ผู้ฝึกมรรยาท, ผู้แนะนำ. เป็นคำเรียกตำแหน่งทางวิชาการ และใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง

บาลีวันละคำ (133)

18-9-55

(ศัพท์วิเคราะห์)

สิสฺสานํ หิตํ อาจรตีติ อาจริโย ผู้ประพฤติเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่ศิษย์

อา บทหน้า จรฺ ธาตุ ในความหมายว่าประพฤติ อิย ปัจจัย

อาทิโต จาเรติ สิกฺขาเปตีติ อาจริโย ผู้ยังศิษย์ให้ศึกษามาแต่ต้น

อา บทหน้า จรฺ ธาตุ ในความหมายว่าศึกษา อิย ปัจจัย

อาทเรน จริตพฺโพ อุปฏฺฐาตพฺโพติ อาจริโย ผู้อันศิษย์พึงประพฤติ คือปรนนิบัติด้วยความเอื้อเฟื้อ

อา + จรฺ + อิย

อา ภุโส สิสฺสานํ หิตสุขํ จรตีติ อาจริโย ผู้บำเพ็ญประโยชน์สุขแก่ศิษย์อย่างดียิ่ง

อา + จรฺ + อิย

อภิมุขํ กตฺวา จริตพฺโพติ อาจริโย ผู้อันศิษย์พึงประพฤติทำไว้ข้างหน้า คือพึงดำเนินตาม

อา แทนศัพท์ อภิมุขํ กตฺวา + จรฺ + อิย

อาปาณโกฏิกํ กตฺวา จริตพฺโพ อุปฏฺฐาตพฺโพติ อาจริโย ผู้อันศิษย์พึงประพฤติ คือพึงปรนนิบัติตลอดชีวิต

อา + จรฺ + อิย

(ศัพท์วิเคราะห์)

อาจริย ป.

อาจารย์, ผู้ฝึกมรรยาท, ผู้สั่งสอน, ผู้แนะนำ.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

อาเจร รูปย่อของ อาจริย (บาลี-อังกฤษ)

อาจารย์

ผู้สั่งสอนวิชาความรู้, ผู้ฝึกหัดอบรมมรรยาท, อาจารย์ ๔ คือ

๑. บัพพาชาจารย์ หรือ บรรพชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา

๒. อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท

๓. นิสสยาจารย์ อาจารย์ ผู้ให้นิสสัย

๔. อุทเทศาจารย์ หรือ ธรรมาจารย์ อาจารย์ผู้สอนธรรม (ประมวลศัพท์)

อาจารย์

  น. ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง. (ส.; ป. อาจริย).

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย