บาลีวันละคำ

กนฺตาร (บาลีวันละคำ 154)

กนฺตาร

อ่านว่า กัน-ตา-ระ

ในภาษาไทยใช้ว่า “กันดาร” (อ่านว่า กัน-ดาน) และเข้าใจความหมายกันว่า หมายถึงป่าดง, ทางลําบาก, อัตคัด, ฝืดเคือง, หายาก เช่น กันดารข้าว กันดารน้ำ, ลําบาก, แห้งแล้ง คํานี้มักใช้แก่เวลา ท้องที่ หรือถิ่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น คราวกันดาร ทางกันดาร ที่กันดาร

“กนฺตาร” แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ภูมิประเทศเป็นที่ข้ามไปได้ด้วยน้ำ” (คือต้องมีน้ำติดไปด้วย)

(2) “ภูมิประเทศเป็นที่ยังน้ำดื่มให้ข้ามไปด้วย” (คือต้องขนน้ำดื่มไปด้วย)

(3) “ภูมิประเทศที่พึงข้ามได้ด้วยน้ำ” (ถ้าไม่เอาน้ำไปด้วยก็ผ่านไปไม่ได้)

(4) “ภูมิประเทศที่ตัดการไปมาประจำเพราะมีภัยเฉพาะหน้า”

(5) “ภูมิประเทศอันน้ำทำลาย” (คือขาดน้ำจนผู้คนไม่ไป)

สมัยโบราณ เหตุกันดารที่รู้กันดีมี 5 อย่าง คือ

1. โจรกันดาร เนื่องมาจากโจรผู้ร้าย

2. วาฬกันดาร เนื่องมาจากสัตว์ร้าย

3. นิรุทกกันดาร เนื่องมาจากขาดน้ำ

4 .อมนุสกันดาร เนื่องมาจากอมนุษย์

5. ทุพภิกขกันดาร เนื่องมาจากขาดอาหาร

ในทางธรรม การเวียนว่ายตายเกิดอันมีกิเลสเป็นเหตุและมีทุกข์เป็นผล ท่านเรียกว่า “มหากันดาร”

บาลีวันละคำ (154)

9-10-55

กนฺตาร คุณ. ป. (พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ทางทุรกันดาร, ยากที่จะผ่านได้.

กนฺตาร  (ศัพท์วิเคราะห์)

– เกน ปานีเยน ตรนฺติ อติกฺกมนฺติ ยํ โส กนฺตาโร ภูมิประเทศเป็นที่ข้ามไปได้ด้วยน้ำ คือต้องมีน้ำติดไปด้วย

ก บทหน้า ตรฺ ธาตุ ในความหมายว่าข้าม ณ ปัจจัย ลงนิคหิตอาคม

– กํ ปานียํ ตาเรนฺติ เอตฺถาติ กนฺตาโร ภูมิประเทศเป็นที่ยังน้ำดื่มให้ข้ามไปด้วย คือต้องขนน้ำดื่มไปด้วย

– เกน อุทเกน ตริตพฺโพ อติกฺกมิตพฺโพ กนฺตาโร ภูมิประเทศที่พึงข้ามได้ด้วยน้ำ

– สปฺปฏิภยตฺตา กนฺตติ ฉินฺทติ นิจฺจคมนาคมนเมตฺถาต กนฺตาโร ภูมิประเทศที่ตัดการไปมาประจำเพราะมีภัยเฉพาะหน้า

กติ ธาตุ ในความหมายว่าตัด อาร ปัจจัย ลงนิคหิตอาคม ลบ อิ ที่สุดธาตุ

– เกน อุทเกน ทรียติ ปทาลียตีติ กนฺตาโร ภูมิประเทศอันน้ำทำลาย คือขาดน้ำจนผู้คนไม่ไป

ก บทหน้า ทรฺ ธาตุ ในความหมายว่าทำลาย ณ ปัจจัย ลงนิคหิตอาคม แปลง ท เป็น ต

สมัยโบราณ เหตุกันดารที่รู้กันดีมี 5 อย่าง คือ

1. โจรกันดาร เนื่องมาจากโจรผู้ร้าย

2 .วาฬกันดาร เนื่องมาจากสัตว์ร้าย

3 .นิรุทกกันดาร เนื่องมาจากขาดน้ำ

4. อมนุสกันดาร เนื่องมาจากอมนุษย์

5. ทุพภิกขกันดาร เนื่องมาจากขาดอาหาร

(ตรวจดูใน ชาตก, จูฬนิเทส, สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ พุทธคุณกถา ฯลฯ)

(๑) บทว่า กนฺตารมคฺค    ได้แก่หนทางกันดารหรือ

หนทางคราวกันดาร.  บทว่า  กนฺตาร  ได้แก่กันดาร ๕ อย่าง   คือ โจร-

กันดาร  พาฬกันดาร  อมนุสสกันดาร  นิรุทกกันดาร  อัปปภักขกันดาร.

บรรดากันดาร ๕ อย่างนั้น ที่ที่มีโจรภัย  ชื่อว่าโจรกันดาร  ที่ที่มีสัตว์ร้าย 

มีราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้น  ชื่อว่า พาฬกันดาร.  ที่ที่มีภัยโดยอมนุษย์

มียักษิณีชื่อว่า พลวามุข เป็นต้น  ชื่อว่า  อมนุสสกันดาร.  ที่ที่ไม่มี

น้ำดื่มหรืออาบ  ชื่อว่า  นิรุทกกันดาร.  ที่ที่ไม่มีสิ่งที่จะเคี้ยวหรือกิน  โดย

ที่สุดแม้เพียงหัวเผือกเป็นต้นก็ไม่มี  ชื่อว่า  อัปปภักขกันดาร.  อนึ่ง  ใน

ที่ใดมีภัยทั้ง  ๕ อย่างนี้อยู่   ที่นั้น  ชื่อว่ากันดารโดยแท้.   กันดารทั้ง  ๕ 

นี้นั้น  พึงผ่านไปเสียโดย ๑-๒-๓ วันก็มี.  ทางนั้นท่านไม่ประสงค์ในที่นี้

แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาทางกันดารประมาณ  ๑๐๐ โยชน์  ซึ่งไม่มีน้ำและ

มีอาหารน้อย   ทางในคราวกันดารเห็นปานนี้   ชื่อว่า ทางกันดาร. 

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๒๖ หน้า 311

(๒) คำว่า  พระศาสดา  คือ  พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำพวก  นายหมู่ย่อม

พาพวกให้ข้ามกันดารคือ  ให้ข้ามผ่านพ้นกันดารคือโจร  กันดารคือสัตว์ร้าย

กันดารคือทุพภิกขภัย   กันดารคือที่ไม่มีน้ำ  ให้ถึงภูมิสถานปลอดภัยฉันใด

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำพวก    ย่อมนำสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามกันดารคือ   ให้

 ข้ามผ่านพ้นกันดารคือ  ชาติ  ชรา  พยาธิ  มรณะ  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์

โทมนัสและอุปายาส  และกันดารคือราคะ  โทสะ   โมหะ  มานะ  ทิฏฐิ   กิเลส

และทุจริต  และที่รกชัฏคือ  ราคะ  โทสะ  โมหะ  มานะ  ทิฏฐิ  กิเลส  ทุจริต

ให้ถึงอมตนิพพานอันเป็นภูมิสถานปลอดภัย   ฉันนั้นเหมือนกัน   ด้วยเหตุ

อย่างนี้ดังนี้    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า  เป็นผู้นำพวก.

ขุททกนิกาย จูฬนิเทส พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๖๗ หน้า 487

กันดาร

  [-ดาน] ว. อัตคัด, ฝืดเคือง, เช่น กันดารข้าว กันดารน้ำ, ลําบาก, แห้งแล้ง, คํานี้มักใช้แก่เวลา ท้องที่ หรือถิ่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น คราวกันดาร ทางกันดาร ที่กันดาร.น. ป่าดง, ทางลําบาก. (ป. กนฺตาร).

กันดาร (ประมวลศัพท์)

อัตคัด, ฝืดเคือง, หายาก, ลำบาก, แห้งแล้ง, ทางที่ผ่านไปยาก

เบี้ยกันดาร

  (กฎ) น. เงินที่จ่ายช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างประจําเนื่องจากการปฏิบัติราชการประจําในท้องที่กันดารหรือในโรงเรียนที่กันดาร.

(โพสต์ใน facebook)

เบี้ยกันดาร (คำที่ใช้ในกฎหมาย) = เงินที่จ่ายช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างประจําเนื่องจากการปฏิบัติราชการประจําในท้องที่กันดารหรือในโรงเรียนที่กันดาร. (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542) ตามไปเปิดมาให้ครับ

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย