สาร (บาลีวันละคำ 155)
สาร
อ่านว่า สา-ระ
ในภาษาไทยใช้ทั้ง สาร (สาน) และ สาระ
“สาร” หมายถึงแก่น, ชั้นในที่สุดและส่วนที่แข็งที่สุดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, แก่นหรือแกนของไม้, ส่วนสำคัญ, ส่วนที่ดีที่สุด, ใจความสำคัญของเรื่อง, เนื้อแท้, ประเสริฐยิ่ง, แข็งแรง, คุณค่า
“สาร” ที่หมายถึง “คุณค่า” มีใช้กับคำบางคำที่ควรทราบ เช่น
– อปฺปสาร = มีค่าน้อย
– อสาร, นิสฺสาร = ไม่มีค่า
– มหาสาร = มีค่ามาก (คนละคำกับ “มหาศาล”)
– สตฺตสาร = ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก, คนดี
“สาร” ที่ใช้ในภาษาไทยและกลายความหมาย “ไปคนละเรื่อง” กับ “สาร” ในภาษาบาลี ก็คือ –
1 .ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, หนังสือ, จดหมาย (= สาสน)
2 .ช้างใหญ่ (= ช้างสาร)
3 .ข้าวที่สีหรือตําเอาเปลือกออกแล้ว (= ข้าวสาร, บางท่านลากเข้าความว่า “ข้าวสาร” = แก่นข้าว)
พระพุทธวจนะ (ธรรมบท) :
อสาเร สารมติโน สาเร จาสารทสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา.
อสารพาลว่าสารเพ็ญ สารเห็นเป็นอสารผิด
คิดพลาดเพราะขาดพิศ จึงไป่พบประสบสาร
บาลีวันละคำ (155)
10-10-55
สาร ป. (พจนานุกรมศัพท์บาลี)
แน่น, เนื้อแท้.
สาร (บาลี-อังกฤษ)
[เวท. สาร นปุํ. Vedic sāra nt.]
– 1. สำคัญ, ประเสริฐยิ่ง, แข็งแรง essential, most excellent, strong องฺ.2/110; วิ.4/214; ชา.3/368; ปุ.53.
– 2. (ปุํ.) ชั้นในที่สุด และส่วนที่แข็งที่สุดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, แก่นหรือแกนของไม้ (ดู เผคฺคุ ด้วย) (m.) the innermost, hardest part of anything, the heart or pith of a tree (see also pheggu) ม.1/111; ชา.1/331; มิลินฺ.413; ไม้ชนิดดีพิเศษ most excellent kind of wood วิ.2/110; ที.2/182,187; สตฺตสารา ผู้ที่เลือกแล้ว, คนดี the elect, the salt of the earth ม.3/69.
– 3. แก่นสาร, ส่วนสำคัญ, ส่วนที่ดีที่สุด (โดยทั่ว ๆ ไปอยู่ท้ายสมาส) substance, essence, choicest part (generally at the end of comp.)วิ.1/184; องฺ.2/141; สํ.3/83,140; สุตฺ.นิ.5,330,364; ธ.11; เปต.อ.132,211 (จนฺทน-). สาเร ปติฏฺฐิโต ตั้งขึ้นหรือมีรากฐานอยู่บนสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ). sāre patiṭṭhito established, based, on what is essential ม.1/31; องฺ.2/183.
– 4. คุณค่า value มิลินฺ.10; อปฺปสาร มีค่าน้อย appasāra of small value ที.2/346.
– อสาร ไม่มีราคา worthless สุตฺ.นิ.937; นิสฺสาร แปลอย่างเดียวกัน nissāra the same ชา.2/163 (ปราศจากแก่นสาร pithless); มหาสาร มีคุณค่ามาก mahāsāra of high value ชา.1/384,463.
สาร+อาทายินฺ ถือเอาสิ่งที่มีสาระ acquiring what is essential สํ.4/250.
สาร+คนฺธ ไม้แก่นจันทน์ the odour of the heart of a tree ธ.ส.625.
สาร+คพฺภ ขุมทรัพย์ a treasury ชา.3/408; 5/331.
สาร+คเวสินฺ หาไม้แข็ง searching for hard wood ม.1/111,233; สารปริเยสน การแสวงหาสิ่งที่มีสาระ sārapariyesana the same ibid.
สาร+ทารุ ไม้ที่แข็งแรงและทนทาน strong, durable wood ชา.2/68.
สาร+ภณฺฑ(ก) ห่อของสิ่งของที่ดีที่สุดของตน a bundle of one’s best things ชา.2/225.
สาร+ภูมิ ดินดี good soil ชา.2/188.
สาร+มญฺชูสา กล่องที่ทำด้วยไม้ที่เลือกคัดแล้ว a box made of choice wood ชา.4/335.
สาร+มย ทำด้วยไม้แข็งหรือแก่นไม้ being of hard or solid wood ชา.3/318 (อ. สารรุกฺขมยฺ, “ของแก่นไม้” trsln C. sārarukkhamaya, “of sāra wood” trsln).
สาร+สุวณฺณ ทองคำแท้ sterling gold สุตฺ.นิ.อ.448 (ในการอธิบายถึงชื่อ พระเจ้าพิมพิสาร in expln of name Bimbisāra).
สาร+สูจิ เข็มที่ทำด้วยไม้แข็ง a needle made of hard wood ชา.1/9.
สาร ๑, สาร- ๑
[สาน, สาระ-] น. แก่น, เนื้อแท้, มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็น แก่นสาร; ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน. (ป., ส.).
สาร ๒
[สาน] น. สิ่งที่มีองค์ประกอบเป็นอย่างเดียวกัน มีสมบัติเฉพาะของตนเอง และไม่สามารถใช้วิธีกลใด ๆ มาแบ่งแยกให้เป็นส่วนอื่นที่มีองค์ประกอบและสมบัติแตกต่างออกไปได้; (โบ) เรียกธาตุจําพวกหนึ่งและธาตุที่เข้าแทรกในต้นไม้ว่า สาร.
สาร ๓
น. ช้างใหญ่ ใช้ว่า ช้างสาร.
สาร ๔
น. ข้าวที่สีหรือตําเอาเปลือกออกแล้ว เรียกว่า ข้าวสาร.
สาร- ๒
[สาระ-] คําประกอบหน้าคํา แปลว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุก, เช่น สารทิศ ว่า ทุกทิศ, สารทุกข์ ว่า ทุกข์ทั้งหมด, สารเลว ว่า เลวทั้งสิ้น. (เลือนมาจาก สรฺว ในสันสกฤต เช่น สรฺวงฺค เป็น สารพางค์ หรือ สรรพางค์).
สาระ 4 (ประมวลธรรม)
[218] ธรรมขันธ์ 5 (กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหัวข้อใหญ่ — bodies of doctrine; categories of the Teaching)
1. สีลขันธ์ (กองศีล, หมวดศีล ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปาติโมกขสังวร กายสุจริต สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นต้น — body of morals; virtue category)
2. สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ, หมวดสมาธิ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นต้น — body of concentration; concentration category)
3. ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา, หมวดปัญญา ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ธัมมวิจยะ วิมังสา ปฏิสัมภิทา สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น— body of wisdom or insight; understanding category)
4. วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ, หมวดวิมุตติ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ปหาน วิราคะ วิโมกข์ วิสุทธิ สันติ นิโรธ นิพพาน เป็นต้น — body of deliverance; deliverance category)
5. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ (กองวิมุตติญาณทัสสนะ, หมวดธรรมเกี่ยวกับการรู้ การเห็นในวิมุตติ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ เป็นต้น — body of the knowledge and vision of deliverance; knowing-and-seeing-of-deliverance category)
ธรรมขันธ์ 4 ข้อต้น เรียกอีกอย่างว่า สาระ 4 (แก่น, หลักธรรมที่เป็นแกน, หัวใจธรรม — essences)
D.III.279;
A.lll.134;
A.II.140 ที.ปา. 11/420/301;
องฺ.ปญฺจก. 22/108/152;
องฺ.จตุกฺก. 21/150/189.
ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อยhttps://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/354698657957211