บาลีวันละคำ

โภคทรัพย์ (บาลีวันละคำ 3,256)

โภคทรัพย์

คืออะไร

อ่านว่า โพก-คะ-ซับ

ประกอบด้วยคำว่า โภค + ทรัพย์

(๑) “โภค

บาลีอ่านว่า โพ-คะ รากศัพท์มาจาก ภุชฺ (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย, ลบ ณ, แผลง อุ ที่ ภุ-(ชฺ) เป็น โอ, แปลง เป็น

: ภุชฺ + = ภุชณ > ภุช > โภช > โภค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันคนใช้สอย” หรือ “สิ่งที่ต้องใช้สอย

โภค” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การเสพหรือบริโภค (enjoyment)

(2) สมบัติ, ความร่ำรวย (possession, wealth)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โภค, โภค-, โภคะ : (คำนาม) สมบัติ เช่น ถึงพร้อมด้วยโภคะ.ก. กิน, ใช้สอย. (ป., ส.).”

(๒) “ทรัพย์

บาลีเป็น “ทพฺพ” (ทับ-พะ) รากศัพท์มาจาก ทุ (ธาตุ = รู้, เจริญ; ไป, เป็นไป) + อพฺพ ปัจจัย, แปลง อุ ที่ ทุ เป็น (ทุ > )

: ทุ > + อพฺพ = ทพฺพ (นปุงสกลิงค์; คุณศัพท์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้” “ผู้เจริญ” “สิ่งที่เป็นไป” (คือของธรรมดาที่มีทั่วไป)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ทพฺพ” ไว้ดังนี้ –

(1) material, substance, property; something substantial, a worthy object (วัสดุ, สิ่งของ, สมบัติ; ของที่มีแก่นสาร, สิ่งที่มีคุณค่า)

(2) a tree, shrub, wood (ต้นไม้, พุ่มไม้, ไม้)

(3) tree-like, wooden (เหมือนต้นไม้, ทำด้วยไม้)

(4) fit for, able, worthy, good (เหมาะสำหรับ, สามารถ, ทรงคุณค่า, ดี)

ในที่นี้ “ทพฺพ” ใช้ในความหมายว่า (1) วัสดุ, สิ่งของ, สมบัติ; ของที่มีแก่นสาร, สิ่งที่มีคุณค่า (2) ต้นไม้, พุ่มไม้, ไม้

บาลี “ทพฺพ” สันสกฤตเป็น “ทฺรวฺย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “ทฺรวฺย” ไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

(1) (คำนาม) ‘ทรัพย์,’ สมบัติ, พัสดุ, สิ่งของ; มูลธาตุ, อันท่านพึงนับว่ามีอยู่เก้าอย่าง, คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม, อากาศ, เวลา, ทิคัมพร, อาตมัน, พุทธิหรือโพธ; ทองเหลือง; เดิมภัณฑ์; เภสัช, ยา; การฉาบทาหรือเจิมจุรณ์; ครั่ง; สรรชรส, ยางไม้; สุรา, เหล้า; ความสุภาพเรียบร้อยหรืออหังการ; wealth, property, substance, thing; elementary substance, nine kinds of which are reckoned, viz. earth, water, fire, air, ether, time, space, soul and intellect; brass; a stake or wager; a drug or medicament; anointing or plastering; lac, the animal dye; gum, resin; spirituous liquor; modesty or propriety;

(2) (คำคุณศัพท์) เหมาะ, งาม, ควร, สม, ชอบ; อันเนื่องจากหรือเป็นสัมพันธินแก่ต้นพฤกษ์; fit, proper, becoming, suitable, right; derived from or relating to a tree.

บาลี “ทพฺพ” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ทรัพย์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทรัพย-, ทรัพย์ : (คำนาม) เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ถือว่ามีค่า อาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).”

โภค + ทรัพย์ = โภคทรัพย์ 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

โภคทรัพย์ : (คำนาม) ทรัพย์สิ่งของที่ใช้อุปโภคบริโภค.”

จะเห็นได้ว่า ทั้ง “โภค” “ทรัพย์” และ “โภคทรัพย์” มีความหมายแทบจะไม่ต่างกัน

อภิปรายขยายความ :

ในคำสรุปอานิสงส์ศีลวรรคหนึ่งที่ว่า “สีเลน โภคสมฺปทา” (สีเลนะ โภคะสัมปะทา) มีคำแปลว่า “ถึงพร้อมด้วยโภคะ เพราะศีล” คือ ศีลเป็นเหตุให้ถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์ นักอธิบายธรรมะบางกลุ่มมักอธิบายขยายความไปว่า ศีลเป็นเหตุให้ร่ำรวย

นักขบธรรมะแสดงความเห็นในเชิงแย้งว่า คนถือศีลแต่ไม่ร่ำรวย หรือถึงกับยากจนด้วยซ้ำ ก็มีอยู่ทั่วไป การอธิบายขยายความเช่นนั้นจะไม่ขัดแย้งกับความเป็นจริงไปดอกหรือ หรือกล่าวตรงๆ ก็ว่า-อานิสงส์ของศีลข้อนี้ไม่เป็นความจริงนั่นเอง

จึงมีผู้รู้ออกมาไขความว่า “สีเลน โภคสมฺปทา” ไม่ได้หมายความว่า คนเราจะร่ำรวยหรือมีทรัพย์สมบัติมากมายก็เพราะถือศีล

โภคสมฺปทา” ในที่นี้หมายถึง การเข้าถึงคุณค่าของโภคะ คือการกินการใช้โภคทรัพย์อย่างคุ้มกับคุณค่าของทรัพย์ เช่น ไม่กินทิ้งกินขว้าง ไม่ฟุ่มเฟื่อยเกินจำเป็น ไม่หว่านโปรยทรัพย์ไปในทางที่ไร้ประโยชน์หรือไม่มีสาระที่แท้จริง ตลอดจนไม่ใช้จ่ายอย่างกระเบียดกระเสียรเกินควรทั้งที่สามารถแสวงหาความสุขจากทรัพย์ได้ตามควรแก่ฐานะ รวมความว่า ใช้จ่ายโภคทรัพย์คุ้มค่าถูกท่าถูกทาง บุคคลจะใช้ทรัพย์ให้คุ้มค่าดังที่กล่าวมานี้ได้เป็นอย่างดี-ถ้ามีศีล

คนจน ถ้ามีศีล ก็มีความสุขจากโภคทรัพย์ตามที่มีได้

คนรวย ถ้าไม่มีศีล ก็หาความสุขจากโภคทรัพย์ที่มีมากนั้นไม่ได้

คนมีศีลจึงมีความสุขจากโภคทรัพย์ได้เต็มที่ตามคุณค่าของทรัพย์ที่ตนมี

อานิสงส์ศีลข้อที่ว่า “สีเลน โภคสมฺปทา” มีความหมายที่สมเหตุสมผลดังแสดงมานี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: มีศีล แม้มีทรัพย์น้อยก็สุขได้เต็มที่

: ศีลไม่มี แม้มีทรัพย์มากก็สุขน้อย

#บาลีวันละคำ (3,256)

12-5-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *