บาลีวันละคำ

ประเพณี – ประเวณี (บาลีวันละคำ 3,247)

ประเพณีประเวณี

ไทยกับบาลีเหมือนกันหรือต่างกัน

ประเพณี” และ “ประเวณี” บาลีเป็น “ปเวณี” (ปะ-เว-นี) รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + วี (ธาตุ = ทอ, ถัก, สืบต่อ) + ณี ปัจจัย, แผลง อี ที่ วี เป็น เอ (วี > เว)

: + วี = ปวี + ณี = ปวีณี > ปเวณี แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ถักไปเรื่อย” (2) “การสืบต่อไปเรื่อยๆ

ข้อควรสังเกต :

(1) ปกติ ปัจจัยที่เนื่องด้วย (คือมี อยู่ในรูปปัจจัย เช่นในที่นี้ ณี ปัจจัย ก็คือ + อี = ณี) เมื่อลงแล้วมักลบ คงไว้แต่แต่สระที่ อาศัย เช่น ณี ถ้าลบ ก็จะเหลือแต่ อี แต่เฉพาะในคำนี้ลง ณี ปัจจัยแล้วคง ไว้

(2) ศัพท์ว่า “ปเวณี” ท่านมักรัสสะ อี เป็น อิ ใช้เป็น “ปเวณิ” โดยมาก

ปเวณี” หรือ “ปเวณิ” (อิตถีลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ม้วนผม, คือผมที่ถักเฉยๆ โดยไม่มีการตกแต่งอย่างใด (a braid of hair, i. e. the hair twisted & unadorned)

(2) เสื่อหรือสิ่งทอ, เครื่องลาด (a mat, cover)

(3) ประเพณี, ขนบธรรมเนียม, ความเคยชินหรือกิจวัตร, ประเพณีที่มีมานาน (custom, usage, wont, tradition)

(4) การสืบสกุล, เชื้อสาย, พันธุ์, เชื้อชาติ (succession, lineage, breed, race)

บาลี “ปเวณี” และ “ปเวณิ” สันสกฤตเป็น “ปฺรเวณิ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “ปฺรเวณิ” และ “ปฺรเวณี” บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปฺรเวณิ, ปฺรเวณี : (คำนาม) ‘ประเวณิ, ประเวณี,’ เกศอันตะบิดและไม่ได้ตกแต่ง (ดั่งสตรีที่สามีไม่อยู่บ้านตะบิดไว้กระนั้น); เครื่องช้าง; the hair twisted, and undecorated (as worn by women in the absence of their husbands); the elephant’s housings.”

โปรดสังเกตว่า สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายไว้ 2 อย่าง คือ the hair (ผม) และ the elephant’s housings (เครื่องช้าง) แต่ไม่มีความหมายว่า custom หรือ tradition (ประเพณี)

ในภาษาไทย เราเอามาใช้เป็น “ประเพณี” และ “ประเวณี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

(1) ประเพณี : (คำนาม) สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).

(2) ประเวณี : (คำนาม) การเสพสังวาส, การร่วมรส, ในคําว่า ร่วมประเวณี; ประเพณี เช่น ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทําร้ายเมื่อภายหลัง. (อภัย). (คำกริยา) ประพฤติผิดเมียผู้อื่น เรียกว่า ล่วงประเวณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).

อภิปรายขยายความ :

โปรดสังเกตว่า ในภาษาไทย “ประเพณี” และ “ประเวณี” น้ำหนักของความหมายแตกต่างกันมาก คือ “ประเพณี” น้ำหนักอยู่ที่แบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีต แต่ “ประเวณี” น้ำหนักอยู่ที่การเสพสังวาสและการร่วมรส เช่นคำว่า ร่วมประเวณี ค้าประเวณี เราไม่พูดว่า ร่วมประเพณี ค้าประเพณี

ที่ใช้ว่า “ประเวณี” หมายถึงการเสพสังวาสนั้น ทำให้เห็นเค้าความจริงว่า การที่เสพสังวาสกันไม่ว่าจะในหมู่มนุษย์หรือสัตว์ เจตนารมณ์ของธรรมชาติก็คือเพื่อให้มีเชื้อสายสืบต่อไปเป็นประมาณ อื่นจากนั้นเป็นการกระทำที่เกินเลยไปจากเจตนารมณ์ของ “ประเวณี

อนึ่ง “ประเพณี” และ “ประเวณี” ในภาษาไทยไม่ได้ใช้ในความหมายว่า ม้วนผมหรือมวยผมเหมือนในบาลีสันสกฤต

…………..

ดูก่อนภราดา!

เหตุ: คือไม่ศึกษาเรียนรู้เรื่องเก่า

ผล: คือไม่รู้จักโคตรเหง้าของตัวเอง

อนาคต: คือแม่แต่กางเกงก็จะไม่มีติดกาย

#บาลีวันละคำ (3,247)

3-5-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *