บาลีวันละคำ

พินัยกรรม (บาลีวันละคำ 193)

พินัยกรรม

(ภาษาไทยที่มีนัยแห่งบาลี)

อ่านว่า พิ-ไน-กำ

เทียบกลับเป็นบาลี “พินัย” ตรงกับ “วินย” (วิ-นะ-ยะ) เขียนและอ่านแบบไทยว่า “วินัย” แปลง เป็น = พินัย

กรรม” บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กฺรม” (กระ-มะ, ควบ กลืนเสียง ระ ลงคอ) เขียนแบบไทยเป็น “กรรม” (กำ)

วินยกมฺมพินัยกรรม” รูปคำหมดปัญหา แต่ความหมายมีปัญหา

วินย” แปลตามศัพท์ว่า “การนำออก” = ขจัดการทำอะไรตามใจชอบออกไปเสีย

วินยวินัย” โดยความหมายคือ ศีลธรรม, ความประพฤติที่ดี, ประมวลจรรยา, วินัยสงฆ์, กฎ, จรรยาบรรณ

กมฺม – กฺรม – กรรม” แปลว่า การกระทำ

วินยกมฺมวินัยกรรม” จึงมีความหมายว่า การปฏิบัติตามวินัย กล่าวคือ ระเบียบแบบแผนของสังคมนั้นๆ กำหนดให้ทำอะไรอย่างไร ก็ทำตามนั้น สำหรับพระสงฆ์ เช่น ต้องสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน สำหรับชาวบ้าน เช่น ต้องเสียภาษี

แต่ “พินัยกรรม” ในภาษาไทยเป็นภาษากฎหมาย หมายถึง นิติกรรมซึ่งแสดงเจตนากําหนดการเผื่อตาย ในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อบุคคลผู้นั้นตายแล้ว (ภาษาอังกฤษว่า will)

ภาษาก็เหมือนคน : ดูข้างนอกนึกว่า “ใช่” แต่พอเห็นข้างใน …

บาลีวันละคำ (193)

17-11-55

วินย

การขับออก, การเลิก, การทำลาย, การกำจัดออก

วิธีพูดหรือการตัดสิน, ความหมาย, คำพูดโดยเฉพาะ

วินัย, จรรยา, ศีลธรรม, ความประพฤติที่ดี

ประมวลจรรยา, วินัยสงฆ์, กฎ, จรรยาบรรณ หรือพระวินัย

พินัย

  น. เงินค่าปรับเป็นภาคหลวง. (ป., ส. วินย).

พินัยกรรม

  (กฎ) น. นิติกรรมซึ่งบุคคลแสดงเจตนากําหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว. (อ. will).

พินัยหลวง

  น. เงินค่าปรับเป็นของหลวง เช่น ปรับเป็นพินัยหลวง.

พินัยกรรม (ประมวลศัพท์)

หนังสือสำคัญที่เจ้าทรัพย์ทำไว้ก่อนตาย แสดงความประสงค์ว่าเมื่อตายแล้วขอมอบมรดกที่ระบุไว้ในหนังสือสำคัญนั้น ให้แก่คนนั้นๆ, ตามพระวินัย ถ้าภิกษุทำเช่นนี้ ไม่มีผล ต้องปลงบริขาร จึงใช้ได้

วินยกมฺม นป. (พจนานุกรมศัพท์บาลี)

วินยกรรม, การทำตามพระวินัย

วินัยกรรม (ประมวลศัพท์)

การกระทำเกี่ยวกับพระวินัย หรือการปฏิบัติตามวินัย เช่น การอธิษฐานบริขาร การวิกัปบาตรและจีวร การปลงอาบัติ การอยู่ปริวาส เป็นต้น

วินย-, วินัย

  [วินะยะ-] น. ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ, ข้อปฏิบัติ, เช่น วินัยทหาร ทหารต้องยึดมั่นในวินัย; สิกขาบทของพระสงฆ์. (ป., ส.).

วินัยธร

  [วิไนทอน] น. ภิกษุผู้ชํานาญวินัย. (ป.).

วินัยปิฎก

  [วิไนยะปิดก, วิไนปิดก] น. ชื่อปิฎก ๑ ในพระไตรปิฎก.

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย