บาลีวันละคำ

ศาลาธรรมสพน์ (บาลีวันละคำ 194)

ศาลาธรรมสพน์

อ่านว่า สา-ลา-ทำ-มะ-สบ

คำว่า “ศาลา” เป็นรูปสันสกฤต บาลีเป็น “สาลา” (สันสกฤต ค บาลี ล) เป็นคำธรรมดาที่เข้าใจกันทั่วไปแล้ว

ธรรมสพน์” เป็นคำที่ค่อนข้างแปลก ประกอบด้วยคำว่า ธรรม + สพน์

ธรรม” บาลีเป็น “ธมฺม” (ทำ-มะ) ก็คุ้นหูคุ้นตากันดี แต่ “สพน์” นั้นมาลึกหน่อย บาลีก็คือ “สวน” (สะ-วะ-นะ) แปลว่า “การฟัง”

ธมฺม + สวน ตามหลักบาลีต้องเป็น “ธมฺมสฺสวน” (ทำ-มัด-สะ-วะ-วะ) เขียนแบบไทย “ธรรมสวน” แปลงรูปอีกชั้นหนึ่ง เป็น แล้วการันต์ที่ สำเร็จเป็น “ธรรมสพน์” แปลว่า “ฟังธรรม

ศาลาธรรมสพน์” ก็คือ ศาลาฟังเทศน์ คำนี้เป็นชื่อแขวง (ตำบล) ในท้องที่เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ชื่อเดิมคือ “ศาลาทำศพ” คำไทยๆ นี่เอง เพราะเป็นที่ใช้เผาศพคนงานที่เสียชีวิตในการขุดคลองมหาสวัสดิ์ ภายหลังมีผู้เห็นว่าฟังแล้วไม่เป็นมงคล จึงแปลงรูปเสียใหม่ เป็น “ศาลาธรรมสพน์

ทำศพ” (ทำ-สบ) คือ เผาผี กลายเป็น “ธรรมสพน์” (ทำ-มะ-สบ) คือ ฟังเทศน์

มองในแง่ภาษา ควรชมว่าแปลงคำได้เก่ง แต่มองในแง่ภูมินามวิทยา น่าจะเป็นการทำลายประวัติของสถานที่ให้เสียไป

คนเรานี่ชอบกล : แม้จะรู้ว่าหลบไม่พ้น ก็ยังพยายามที่จะเลี่ยง

บาลีวันละคำ (194)

18-11-55

สาลา = ศาลา, โรงเรือน, ที่พัก, ที่อาศัย (ศัพท์วิเคราะห์)

สลติ คจฺฉติ เอตฺถาติ สาลา โรงเรือนเป็นที่ผู้คนไปหา

สลฺ ธาตุ ในความหมายว่าไป ณ ปัจจัย อา อิต. พฤทธิ์ อ เป็น อา

สาลา (บาลี-อังกฤษ)

(อิต.) [เทียบ เวท. ศาลา, เทียบ Gr….กระท่อม, Lat. cella cell, Ohg. halla, E. hall] [cv. Vedic śālā, cp. Gr. kali/a hut, Lat. cella cell, Ohg. halla, E. hall] a large (covered & enclosed)

ห้องโถง (มีหลังคาและมีฝาล้อมรอบ), ห้องใหญ่, บ้าน; เพิง, โรงสัตว์ (ม้า, ช้าง ฯลฯ) a large (covered & enclosed) hall, large room, house; shed, stable etc., ดังที่พบจากตัวอย่างต่อไปนี้ as seen fr. foll. examples:

ศาลา

  น. อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรือเพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาวัด ศาลาที่พัก ศาลาท่านํ้า, โดยปริยายหมายถึงอาคารหรือสถานที่บางแห่ง ใช้เพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาพักร้อน ศาลาสวดศพ. (ส.; ป. สาลา).

ศาลาธรรมสพน์ แขวง ขึ้นเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย