บาลีวันละคำ

โทวาริก (บาลีวันละคำ 3,263)

โทวาริก

คำวัดๆ แต่น่าใช้แบบบ้านๆ

ภาษาไทยอ่านว่า โท-วา-ริก

บาลีอ่านว่า โท-วา-ริ-กะ

โทวาริก” รากศัพท์มาจาก ทฺวาร + ณิก ปัจจัย

(๑) “ทฺวาร

บาลีมีจุดใต้ ทฺ อ่านว่า ทัว-อา-ระ (เสียง ทัว- รวบกับ อา-) รากศัพท์มาจาก –

(1) ทฺวิ (สอง) + อรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + (อะ) ปัจจัย, ลบ อิ ที่ (ทฺ)-วิ แล้วทีฆะ อะ ที่ เป็น อา (ทฺวิ > ทฺว > ทฺวา)

: ทฺวิ + อรฺ = ทฺวิร + = ทฺวิร > ทฺวร > ทฺวาร แปลตามศัพท์ว่า (1) “ช่องเป็นที่คนสองคนเข้าออก” (คือเข้าคนออกคน) (2) “ช่องเป็นที่เป็นไปแห่งบานสองบาน

(2) ทฺวิ (สอง) + อรฺ ปัจจัย ลบ อิ ที่ (ทฺ)-วิ แล้วทีฆะ อะ ที่ เป็น อา (ทฺวิ > ทฺว > ทฺวา)

: ทฺวิ + อรฺ = ทฺวิร > ทฺวร > ทฺวาร แปลตามศัพท์ว่า “ช่องเป็นที่มีกิจสองอย่าง” (คือเข้าและออก)

(3) ทฺวรฺ (ธาตุ = ระวังรักษา) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ (ทฺ)--(ร) เป็น อา (ทฺวรฺ > ทฺวาร)

: ทฺวรฺ + = ทฺวรณ > ทฺวร > ทฺวาร แปลตามศัพท์ว่า “ช่องเป็นเครื่องระวังรักษา

ทฺวาร” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ประตูนอก, ทวาร, ประตู, ทางเข้าออก (an outer door, a gate, entrance)

(2) ทวาร = ทางเข้าและทางออกของจิตใจ, กล่าวคือ อายตนะ (the doors = inlets & outlets of the mind, viz. the sense organs)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

ทวาร, ทวาร– : (คำนาม) ประตู เช่น นายทวาร; ช่อง ในคํา เช่น ทวารหนัก ทวารเบา ใช้เป็นคําสุภาพ หมายถึง รูขี้ รูเยี่ยว, ทาง เช่น กายทวาร. (ป., ส.).”

(๒) ทฺวาร + ณิก ปัจจัย, ลบ ตามกฎของปัจจัยเนื่องด้วย (บางกรณีไม่ลบ ก็มี แต่น้อย) (ณิก > อิก), ลง โอ อาคมที่ต้นศัพท์ คือ ทฺว– (ทฺว > โท)

: ทฺวาร + ณิก = ทฺวารณิก > ทฺวาริก > โทวาริก (โท-วา-ริ-กะ) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประจำอยู่ที่ประตู

ข้อสังเกต : “ทฺว” (มีจุดใต้ ทฺ) เป็นอักษรควบ มีค่าเท่ากับ 1 พยางค์ เมื่อลง โอ อาคม ก็น่าจะเป็น “ทฺโว” หรือ “โทฺว” (ทัว-โอ) แต่ในที่นี้ท่านปรับ “ทฺว” ให้เป็น 2 อักษร คือเป็น “ทว” (ไม่มีจุดใต้ ทฺ) อ่านว่า ทะ-วะ ( พยางค์หนึ่ง พยางค์หนึ่ง) โอ อาคม จึงลงที่ อักษรเดียว เป็น โทว-

และน่าสังเกตด้วยว่า ศัพท์สังขยาที่แปลว่า “สอง” (จำนวน 2) มีหลายคำ คือ ทฺวิ ทุ ทฺวา พา เทฺว (ทวิ-ทุ-ทวา-พา-ทเว นักเรียนบาลีท่องจำกันมาตั้งแต่เริ่มเรียนไวยากรณ์) เฉพาะ “ทุ” นั้น แผลงเป็น “โท” ได้ดังนั้น “โทวาริก” จึงอาจมี “ทุ-” อยู่ในรูปคำเดิม แล้วแผลง อุ เป็น โอ (ภาษาบาลีไวยากรณ์ว่า “พฤทธิ์ อุ เป็น โอ”) : ทุ > โท นี่คืออีกนัยหนึ่งที่จะอธิบายว่า “โท-” มาจากไหน แต่พึงทราบว่านี่เป็นเพียงอัตโนมติ ชวนคิดเป็นกีฬาทางภาษา อาจไม่ตรงตามหลักไวยากรณ์

โทวาริก” เป็นคุณศัพท์ ใช้ในความหมายว่า นายทวาร, คนรักษาประตู, คนเฝ้าประตู (gatekeeper, janitor)

บาลี “โทวาริก” สันสกฤตเป็น “เทาวาริก

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

เทาวาริก : (คำนาม) ทวารบาล; a porter or doorkeeper.”

คิดไปประสาคนสนใจภาษา :

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน ใช้คำอังกฤษในการแปล “เทาวาริก” ว่า doorkeeper

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ที่ฝรั่งชาติอังกฤษทำ ใช้คำอังกฤษในการแปล “โทวาริก” ว่า gatekeeper

ชวนให้คิดว่า door กับ gate ในภาษาอังกฤษมีความหมายอยู่ในระดับเดียวกัน?

หรือว่าในภาษาอังกฤษนั้น เมื่อพูดว่า door จะหมายถึงประตูแบบหนึ่ง และเมื่อพูดว่า gate ก็จะหมายถึงประตูอีกแบบหนึ่ง?

หรือว่า door กับ gate ในบางกรณีก็หมายถึงประตูแบบเดียวกัน?

อย่างไรก็ตาม คำว่า “โทวาริก” แม้จะออกเสียงง่าย หน้าตาดี แต่ก็ยังไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

…………..

ดูก่อนภราดา!

ทวาร :

: ก่อนเข้าก่อนออกคิดให้รอบคอบ

: เพราะบางช่อง เข้าหรือออกได้ครั้งเดียว

#บาลีวันละคำ (3,263)

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *