บาลีวันละคำ

โสภา (บาลีวันละคำ 3,277)

โสภา

แล้วยังพาคำงามๆ มาด้วยอีกหลายคำ

อ่านตรงตัวว่า โส-พา

โสภา” เป็นคำบาลี รากศัพท์มาจาก สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, ง่าย) + ภา (ธาตุ = รุ่งเรือง, สว่าง) + กฺวิ ปัจจัย, แผลง อุ ที่ สุ เป็น โอ (สุ > โส), ลบ กฺวิ

: สุ + ภา = สุภา + กฺวิ = สุภากฺวิ > สุภา > โสภา แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่รุ่งเรืองดี” หมายถึง ความงดงาม, ความเปล่งปลั่ง, ความสวยงาม (splendour, radiance, beauty)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “โสภา” รวมไว้กับคำว่า “โสภ-” และ “โสภี” บอกความหมายไว้ดังนี้ –

โสภ-, โสภา, โสภี : (คำวิเศษณ์) งาม เช่น สาวโสภา, (ภาษาปาก) งาม, ดี, เช่น พูดอย่างนี้ไม่โสภาเลย. (ป. สุภ; ส. ศุภ).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า “โสภ-, โสภา, โสภี” บาลีเป็น “สุภ” สันสกฤตเป็น “ศุภ

สุภ” บาลีอ่านว่า สุ-พะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สุ (คำอุปสรรค = ดี,งาม) + ภา (ธาตุ = รุ่งเรือง) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบสระที่สุดธาตุ (ภา > )

: สุ + ภา = สุภา + กฺวิ = สุภากฺวิ > สุภา > สุภ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่รุ่งเรืองด้วยดี

(2) สุภฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (อะ) ปัจจัย

: สุภฺ + = สุภ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งดงาม

(3) สุ (คำอุปสรรค = ดี,งาม) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบสระที่สุดธาตุ (ภู > )

: สุ + ภู = สุภู + กฺวิ = สุภูกฺวิ > สุภู > สุภ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นโดยสภาวะที่งดงาม

สุภ” ใช้เป็นคุณศัพท์หมายถึง –

(1) เจิดจ้า, สว่าง, งดงาม (shining, bright, beautiful)

(2) ได้ฤกษ์, โชคดี, น่าพึงใจ (auspicious, lucky, pleasant)

สุภ” ใช้เป็นคำนามหมายถึง สวัสดิภาพ, ความดี, ความพึงใจ, ความสะอาด, ความสวยงาม, สุขารมณ์ (welfare, good, pleasantness, cleanliness, beauty, pleasure)

สุภ” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สุภ– : (คำนาม) ความงาม, ความดีงาม, ความเจริญ. (ป.; ส. ศุภ).”

ขีด – หลังคำ “สุภ-” หมายความว่า มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย ไม่ใช่เดี่ยวๆ

บาลี “สุภ” สันสกฤตเป็น “ศุภ” (ศุ ศาลา)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

(1) ศุภ : (คำวิเศษณ์) เปนสุขหรือมีสุข, มีโชคหรือเคราะห์ดี, มีหรือเป็นมงคล; งาม; วิศิษฏ์; คงแก่เรียน; happy, fortunate, auspicious; handsome, beautiful; splendid; learned.

(2) ศุภ : (คำนาม) มงคล; ศุภโยค, โชคหรือเคราะห์ดี; สุข; นักษัตรโยคอันหนึ่ง; คณะเทพดา; ข้าวหลาม; อาภา; โสภาหรือความงาม; auspiciousness; good junction or consequence, good fortune; happiness; one of the astronomical Yogas; an assemblage of the gods; bamboo-manna; light; beauty.

ศุภ” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศุภ– : (คำนาม) ความงาม, ความดีงาม, ความเจริญ. (ส.; ป. สุภ).”

โปรดสังเกตว่า ทั้ง “สุภ” บาลี และ “ศุภ” สันสกฤต เมื่อใช้ในภาษาไทย พจนานุกรมฯ ให้คำนิยามตรงกัน

บาลีมี “โสภา” (โส– ส เสือ) สันสกฤตก็มี “โศภา” (โศ– ศ ศาลา)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

โศภา : (คำนาม) อาโลกหรืออาภา; ความงาม; วิเศษคุณ ( = คุณอันวิเศษ); light; beauty; distinguished merit.”

โศภา” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โศภา : (คำวิเศษณ์) งาม, ดี. (ส. ว่า สว่าง, ความงาม).”

นอกจากนี้ยังมี “โสภณ” อีกคำหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

โสภณ” บาลีอ่านว่า โส-พะ-นะ รากศัพท์มาจาก สุภฺ (ธาตุ = งาม) + ยุ ปัจจัย, แผลง อุ ที่ สุ-(ภฺ) เป็น โอ (สุภฺ > โสภ), แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง เป็น

: สุภฺ + ยุ > อน = สุภน > โสภน > โสภณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งดงาม

โสภณ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ความงาม, เครื่องประดับ (beauty, ornament)

(2) ประดับ, ส่องแสง, ทำให้สวยงาม (adorning, shining, embellishing)

(3) ดี (good)

บาลี “โสภณ” ในภาษาไทยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้สั้นๆ ว่า –

โสภณ : (คำวิเศษณ์) งาม. (ป.; ส. โศภน).”

บาลี “โสภณ” สันสกฤตเป็น “โศภน” (โศ– ศ ศาลา –ภน น หนู สะกด)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

โศภ, โศภน : (คุณศัพท์) งาม; สุกใส; แต่งตัวหรู; เปนมงคล; handsome; bright; richly dressed; auspicious.”

สันสกฤต “โศภน” ในภาษาไทยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โศภน, โศภะ : (คำนาม) ความงาม, ความดี. (ส.; ป. โสภณ).”

โปรดสังเกตว่า “โสภณ” บาลี เมื่อใช้ในภาษาไทย พจนานุกรมฯ บอกว่าเป็นคำวิเศษณ์ แต่ “โศภน” สันสกฤต เมื่อใช้ในภาษาไทย พจนานุกรมฯ บอกว่าเป็นคำนาม

เป็นอันว่า “โสภา” คำเดียวพ่วงคำอื่นๆ เข้ามาด้วยอีกหลายคำ คือ “โศภา” “สุภ” “ศุภ” “โสภณ” “โศภน

นอกจากนี้ยังมี “โสภี” “โศภี” “โศภิน” “โศภิต” “โศภิษฐ์” ซึ่งมีความหมายในทางเดียวกัน ท่านที่สนใจพึงศึกษาหารายละเอียดด้วยตนเองต่อไปได้อีก

…………..

ความง่ายคือความงาม:

แต่งตัวเรียบง่าย เป็นความงาม

อธิบายเรื่องยากให้เข้าใจง่าย เป็นความงาม

ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เป็นความงาม

กินง่าย อยู่ง่าย ก็ยิ่งเป็นความงาม

ยังมีสิ่งง่ายๆ อีกหลายๆ อย่าง ที่มีความงามอยู่ในตัว

ดูก่อนภราดา!

: แต่ไม่ว่าเรื่องไหนๆ ในกาลไหนๆ

: ความมักง่าย ไม่เคยเป็นความงามเลย

—————–

ตามไปอ่านบาลีวันละคำทั้งหมดได้ที่ลิงก์นี้:

#บาลีวันละคำ (3,277)

2-6-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *