บาลีวันละคำ

สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ (บาลีวันละคำ 4,094)

สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ

พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ

สาตฺถํ” อ่านว่า สาด-ถัง

สพฺยญฺชนํ” อ่านว่า สับ-เพียน-ชะ-นัง

(๑) “สาตฺถํ

ประกอบด้วยคำว่า + อตฺถํ

(ก) “” อ่านว่า สะ (ไม่ใช่ สอ) ตัดมาจากคำว่า “สห” (สะ-หะ) เป็นคำบุรพบทและอุปสรรค แปลว่า พร้อม, กับ, พร้อมด้วย 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สห” ว่า conjunction with, together, accompanied by (ต่อเนื่อง, ด้วยกัน, ติดตามด้วย)

สห” เมื่อไปประสมข้างหน้าคำอื่น ตัดคำเหลือเพียง “” มีความหมายว่า “พร้อมกับ-(สิ่งนั้น)” หรือ “มี-(สิ่งนั้น)” เช่น – 

ชีว” (ชี-วะ) = ชีวิต

+ ชีว = สชีว แปลว่า “พร้อมกับชีวิต” “มีชีวิต” หมายถึง สิ่งมีชีวิต, สิ่งมีชีวิตที่ยังไม่ตาย, สิ่งมีชีวิตที่ยังเป็นๆ อยู่ (ตรงข้ามกับ-ที่ตายแล้ว)

(ข) “อตฺถํ” รูปคำเดิมเป็น “อตฺถ” อ่านว่า อัด-ถะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อรฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง รฺ ที่ (อ)-รฺ เป็น ตฺ (อรฺ > อตฺ

: อรฺ + = อรถ > อตฺถ แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเครื่องให้ดำเนินไปได้” (2) “สิ่งที่ให้ดำเนินไปตามการณ์” (3) “สิ่งอันบุคคลถึง คือได้รับตามครรลองแห่งเหตุ

(2) อสฺ (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, แปลง ที่ (อ)-สฺ เป็น ตฺ (อสฺ > อตฺ)

: อสฺ + = อสถ > อตฺถ แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเหตุให้มีให้เป็น” (2) “เหตุให้มีศัพท์

(3) อตฺถฺ (ธาตุ = ขอ, ปรารถนา) + (อะ) ปัจจัย

: อตฺถ + = อตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ต้องการ

อตฺถ” (ปุงลิงค์) มีความหมายหลายอย่าง เช่น –

(1) กำไร, ผลประโยชน์, การได้เปรียบ, ความดี (ทางศีลธรรม), พร, สวัสดิภาพ, ผลที่ได้มา, ความรุ่งเรือง, สวัสดิการ (interest, advantage, gain; (moral) good, blessing, welfare; profit, prosperity, well-being)

(2) ความประสงค์, ความต้องการ, ความปรารถนา (need, want)

(3) เนื้อความ, ความหมาย, ความสำคัญ (ของคำพูด), การหมายถึง (sense, meaning, import, denotation, signification)

(4) เรื่องราว, ความเห็น, คดี (affair, cause, case)

อตฺถ” ในภาษาไทยนิยมใช้อิงสันสกฤตเป็น “อรรถ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อรรถ, อรรถ– : (คำนาม) เนื้อความ เช่น แปลโดยอรรถ, คําที่ยังไม่ได้แปลความหมาย เช่น คําอรรถ. (ส. อรฺถ; ป. อตฺถ).”

(๒) “สพฺยญฺชนํ

ประกอบด้วยคำว่า + พฺยญฺชนํ

(ก) “” (ดูข้างต้น)

(ข) “พฺยญฺชนํ” รูปคำเดิมเป็น “พฺยญฺชน” อ่านว่า เพียน-ชะ-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อญฺช (ธาตุ = ไป, ถึง) + ยุ ปัจจัย, แปลง อิ (ที่ วิ) เป็น , เป็น , ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: วิ > วฺย + อญฺช = วฺยญฺช + ยุ > อน = วฺยญฺชน > พฺยญฺชน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องให้ถึงภัตโดยพิเศษ” (คือทำให้รู้รสชาติอาหาร หรือช่วยให้กินอาหารได้อย่างออกรส) หมายถึง เครื่องปรุง, แกง, กับข้าว (condiment, curry)

พฺยญฺชน” ในความหมายนี้มักมาคู่กับ “สูป” (สู-ปะ) คือ น้ำเนื้อต้ม, ซุป, แกง (broth, soup, curry)

ตามความเข้าใจทั่วไป สูป กับ พฺยญฺชน เมื่อพูดควบคู่กัน จะแยกความหมายกันชัดเจน คือ :

สูป” หมายถึง กับข้าวชนิดที่เป็นน้ำ ( = น้ำๆ)

พฺยญฺชน” หมายถึง กับข้าวชนิดที่ไม่เป็นน้ำ ( = แห้งๆ)

(2) วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อญฺช (ธาตุ = ประกาศ) + ยุ ปัจจัย, แปลง อิ (ที่ วิ) เป็น , เป็น , ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: วิ > วฺย + อญฺช = วฺยญฺช + ยุ > อน = วฺยญฺชน > พฺยญฺชน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ประกาศความหมาย

พฺยญฺชน” ตามรากศัพท์ข้อนี้ มีความหมายดังนี้ :

(1) ตัวหนังสือ (letter) 

ความหมายนี้มักมาคู่กับ “อตฺถ” > อรรถะ (อัด-ถะ) ซึ่งแปลว่า เนื้อความ, ความหมาย, ความสำคัญ, การหมายถึง (sense, meaning, import (of a word), denotation, signification) เช่นในคำว่า –

– แปล “โดยพยัญชนะ” (according to the letter, by letter, orthographically)

– แปล “โดยอรรถ” (according to its meaning, by the correct sense)

(2) เครื่องบ่งชี้, เครื่องหมาย, คุณลักษณะติดตัว, เครื่องหมายเฉพาะ, ลักษณะพิเศษ (sign, mark, accompanying attribute, distinctive mark, characteristic), เครื่องหมายเพศ เช่น –

ปุริสวฺยญฺชน = อวัยวะเพศของบุรุษ (membrum virile)

อุภโตพฺยญฺชนก = มีลักษณะของทั้งสองเพศ, กะเทย (having the characteristics of both sexes, hermaphrodite) 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ อนึ่ง ความหมายของคำไทยบางคำโปรดเทียบเคียงกับคำอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน)

วฺยญฺชน : (คำนาม) ‘วยัญชน, พยัญชนะ,’ เครื่องหมาย; ลักษณะ, ลิงค์หรือเครื่องหมายบอกลักษณะ; เครา; ส่วน- ภาค- หรือองค์ที่ลับ; อุปสกร, เครื่องชูรสอาหาร (ได้แก่-น้ำสอซ, น้ำปลา, น้ำพริก, ฯลฯ); อักษรตัวหนึ่งในหมวดพยัญชนะ (อันมิใช่สระ); สาลังการพจน์หรืออุปมาโวหาร; บริภาษณ์; a token; an insignia; the beard; A privy part; sauce or condiment; a consonant; a figurative expression; an irony, a sarcasm.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “พยัญชนะ” ไว้ว่า –

(1) เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับเสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก.

(2) ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, รูปพยัญชนะ ก็เรียก, ตัวหนังสือ เช่น แปลโดยพยัญชนะ.

(3) กับข้าวที่ไม่ใช่แกง, คู่กับ สูปะ ซึ่งหมายถึง แกง. (ป. พฺยญฺชน, วฺยญฺชน; ส. วฺยญฺชน).

(4) ลักษณะของร่างกาย.

สรุปว่า “พยัญชนะ” ไม่ได้หมายถึงตัวหนังสืออย่างเดียวดังที่เรามักคุ้นกัน

ในที่นี้ “พฺยญฺชน” หมายถึง ตัวหนังสือ (letter) 

การประยมคำ :

+ อตฺถ = สาตฺถ (สาด-ถะ) แปลตามศัพท์ว่า “เป็นไปกับด้วยความหมาย” 

+ พฺยญฺชน = สพฺยญฺชน (สับ-เพียน-ชะ-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “เป็นไปกับด้วยอักษร” หรือ “เป็นไปกับด้วยถ้อยคำ

สาตฺถ” และ “สพฺยญฺชน” ในที่นี้ เป็นคำที่ยกมาจากบททำวัตรเช้า เป็นคำขยายคำว่า “ธมฺมํ” (ซึ่งพระธรรม) “สาตฺถ” และ “สพฺยญฺชน” จึงต้องประกอบลิงค์ วจนะ วิภัตติ ให้ตรงกับ “ธมฺมํ” คือแจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) เอกวจนะ ปุงลิงค์

วิภัตตินามที่สอง เอกวจนะ คือ “อํ” (อัง)

สาตฺถ + อํ = สาตฺถํ (สาด-ถัง)

สพฺยญฺชน + อํ = สพฺยญฺชนํ (สับ-เพียน-ชะ-นัง)

ขยายความ :

สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ” ที่เราสวดกันคุ้นปากก็คือ พุทธาภิถุติในบททำวัตรเช้า มีข้อความตอนหนึ่งว่า –

…………..

โย  ธมฺมํ  เทเสสิ  อาทิกลฺยาณํ  มชฺเฌกลฺยาณํ  ปริโยสานกลฺยาณํ  สาตฺถํ  สพฺยญฺชนํ  เกวลปริปุณฺณํ  ปริสุทฺธํ  พฺรหฺมจริยํ  ปกาเสสิ.

พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

…………..

หมายเหตุ: ถ้อยคำในบททำวัตรเช้าตอนนี้ ต้นฉบับเป็นพุทธพจน์ มีในคัมภีร์มหาขันธกะ วินัยปิฎก มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 4 ข้อ 32

…………..

จะเห็นได้ว่า หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า –

ไม่ใช่มุ่งจะเอาแต่สารธรรม (สาตฺถํ) 

หากแต่ถ้อยคำก็ต้องไม่ผิดเพี้ยนด้วย (สพฺยญฺชนํ)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: พร้อมทั้งอรรถ คือมีสาระ

: พร้อมทั้งพยัญชนะ คือถ้อยคำถูกต้อง

#บาลีวันละคำ (4,094)

28-8-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *