บาลีวันละคำ

พาหุสัจจะ ในมงคล 38 (บาลีวันละคำ 3,285)

พาหุสัจจะ ในมงคล 38

เล่าเรียนศึกษามาก

คำในพระสูตร: พาหุสจฺจญฺจ (พา-หุ-สัด-จัน-จะ) 

พาหุสัจจะ” อ่านว่า พา-หุ-สัด-จะ 

แต่ไม่ได้แยกเป็น พาหุ + สัจจะ อย่างที่ตาเห็น!

ตาเห็น :

พาหุ” ตามศัพท์แปลว่า “แขน” แต่จะแปลว่า “มาก” ก็ได้

สัจจะ” แปลว่า “ความจริง” 

แต่ “พาหุสัจจะ” ไม่ได้เป็นอย่างที่ว่านี้

พาหุสัจจะ” เขียนแบบบาลีเป็น “พาหุสจฺจ” อ่านว่า พา-หุ-สัด-จะ รูปคำเดิมเป็น “พหุสฺสุต” (พะ-หุด-สุ-ตะ) รากศัพท์มาจาก พหุ + สุต 

(๑) “พหุ” 

บาลีอ่านว่า พะ-หุ รากศัพท์มาจาก พหฺ (ธาตุ = เจริญ) + อุ ปัจจัย

: พหฺ + อุ = พหุ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เจริญขึ้น” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง มาก, หลาย, ใหญ่, ล้นเหลือ; อุดมสมบูรณ์; อย่างมาก, ยิ่งใหญ่ (much, many, large, abundant; plenty; very, greatly)

(๒) “สุต” 

บาลีอ่านว่า สุ-ตะ รากศัพท์มาจาก สุ (ธาตุ = ฟัง) + ปัจจัย

: สุ + = สุต แปลตามศัพท์ว่า “-อันเขาฟังแล้ว

สุต” ในบาลีใช้เป็นคำกริยาและคุณศัพท์ มีความหมายดังนี้ –

(1) ได้ยิน; เรียนรู้; ได้ฟัง (heard; learned; taught) 

(2) มีชื่อเสียง (renowned) 

: พหฺ + สุต = พหุสุต แปลตามศัพท์ว่า “ได้ฟังมาก” หมายถึง มีความรู้มาก, พหูสูต, ได้สดับมาดี, คงแก่เรียน (having great knowledge, very learned, well-taught) 

โปรดทราบว่า ปกติ “พหุสุต” จะสะกดเป็น “พหุสฺสุต” คือ ซ้อน สฺ ระหว่างคำ (พหุ + สฺ + สุต = พหุสฺสุต

พหุสุต” กลายเป็น “พาหุสจฺจ” ได้อย่างไร? 

กรรมวิธีทางไวยากรณ์ก็คือ พหุสุต + ณฺย ปัจจัย, ลบ (ณฺย > ), ทีฆะต้นศัพท์ คือ อะ ที่ -(หุ–) เป็น อาด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (พหุสุต > พาหุสุต), แปลง ตฺย (คือ ที่ –สุ กับ ที่ลบ ณฺ ออกแล้ว) เป็น จฺจ, แปลง อุ ที่ สุ-(ต) เป็น อะ (สุต > สต)

: พหฺสุต + ณฺย = พหุสุตณฺย > พาหุสุตณฺย > พาหุสุตฺย > พาหุสตฺย > พาหุสจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะแห่งบุคคลผู้ได้ฟังมาก” 

โปรดสังเกตว่า –

รูปคำ “พาหุ-” เกิดจาก “พหุ” ที่แปลว่า มาก ไม่ใช่ “พาหุ” ที่แปลว่า แขน 

รูปคำ “-สจฺจ” เกิดจาก –สุ + แปลง ตฺ กับ เป็น จฺจ ไม่ใช่ “สจฺจ” ที่แปลว่า ความจริง 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “พาหุสจฺจ” ว่า great learning, profound knowledge (ความคงแก่เรียน, ความรู้ลึกซึ้ง) 

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [324] นาถกรณธรรม 10 (ธรรมอันกระทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้ตนเป็นที่พึ่งของตนได้) “นาถกรณธรรม” ข้อ 2 คือ พาหุสจฺจ (Bāhusacca) ขยายความไว้ว่า หมายถึง ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก มีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้ง (great learning)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

พาหุสัจจะ : (คำนาม) ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก. (ป.).”

ขยายความ :

มงคลข้อที่ 7 ในมงคล 38 ตามนัยแห่งมงคลสูตร คำบาลีในพระสูตรว่า “พาหุสจฺจญฺจ” (พา-หุ-สัด-จัน-จะ) แปลว่า “ความเป็นผู้ได้สดับตรับฟังมากประการหนึ่ง” หมายถึง ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก หรือความคงแก่เรียน

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [353] มงคล 38 บอกไว้ว่า –

7. พาหุสจฺจญฺจ (เล่าเรียนศึกษามาก, ทรงความรู้กว้างขวาง, ใส่ใจสดับตรับฟังค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ — Bāhusacca: great learning; extensive learning)

…………..

ในอรรถกถาท่านขยายความ “พาหุสัจจะ = ความเป็นผู้ได้สดับตรับฟังมาก” ไว้ดังนี้ –

…………..

อิติ  พหุสฺสุตสฺส  พาหุสจฺจํ  ปสํสาทิเหตุโต  มงฺคลํ  อกุสลปฺปหานกุสลาธิคมเหตุโตปิ  จ  มงฺคลํ. 

ผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมากมีพาหุสัจจะ ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งอิฐผลมีการยกย่องสรรเสริญเป็นต้น และชื่อว่าเป็นมงคลแม้เพราะเป็นเหตุแห่งการละอกุศลและการบรรลุกุศล ด้วยประการฉะนี้

อนุปุพฺเพน  ปรมตฺถสจฺจสจฺฉิกิริยาเหตุโตปิ  จ  มงฺคลํ. 

อนึ่ง พาหุสัจจะชื่อว่าเป็นมงคลแม้เพราะเป็นเหตุแห่งการทำให้แจ้ง (คือบรรลุถึง) ซึ่งปรมัตถสัจโดยลำดับ

ที่มา: มังคลัตถทีปนี ภาค 1 ข้อ 121, 123 หน้า 139, 140

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ความรู้ที่ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติ

: เหมือนมียาสารพัด แต่มีโรคเต็มตัว

—————–

ตามไปอ่านบาลีวันละคำทั้งหมดได้ที่ลิงก์นี้:

#บาลีวันละคำ (3,285) (ชุดมงคล 38)

10-6-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *