บาลีวันละคำ

มาตาปิตุอุปัฏฐาน (บาลีวันละคำ 3,291)

มาตาปิตุอุปัฏฐาน 

บำรุงมารดาบิดา

คำในพระสูตร: “มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ” (มา-ตา-ปิ-ตุ-อุ-ปัด-ถา-นัง) 

มาตาปิตุอุปัฏฐาน” อ่านว่า มา-ตา-ปิ-ตุ-อุ-ปัด-ถาน

เขียนแบบบาลีเป็น “มาตาปิตุอุปฏฺฐาน” อ่านว่า มา-ตา-ปิ-ตุ-อุ-ปัด-ถา-นะ

แยกศัพท์เป็น มาตา + ปิตุ + อุปฏฺฐาน 

(๑) “มาตา

มาตา” เป็นศัพท์ที่แจกรูปตามวิภัตติแล้ว ศัพท์เดิมเป็น “มาตุ” อ่านว่า มา-ตุ รากศัพท์มาจาก –

(1) มานฺ (ธาตุ = รัก, ทะนุถนอม) + ราตุ ปัจจัย, ลบ ที่ ราตุ (ราตุ > อาตุ), ลบพยัญชนะที่สุดธาตุและสระ (มานฺ > มา > )

: มานฺ > มา > + ราตุ > อาตุ : + อาตุ = มาตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รักบุตรโดยธรรมชาติ

(2) ปา (ธาตุ = ดื่ม) + ตุ ปัจจัย, แปลง ที่ ปา เป็น (ปา > มา)

: ปา + ตุ = ปาตุ > มาตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังบุตรให้ดื่มนม

มาตุ + สิ วิภัตติ, แปลง อุ กับ สิ เป็น อา = มาตา หมายถึง แม่ (mother) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “มาตา” ไว้ด้วย บอกไว้ว่า –

มาตา : (คำนาม) แม่. (ป.; ส. มาตฺฤ).”

มาตา” คือที่เราแปลงใช้ในภาษาไทยเป็น “มารดา” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “มารดา” ไว้กับคำว่า “มารดร” บอกไว้ว่า –

มารดร, มารดา : (คำนาม) แม่. (ป. มาตา; ส. มาตฺฤ).

(๒) “ปิตุ

อ่านวา ปิ-ตุ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปา (ธาตุ = รักษา, คุ้มครอง) + ริตุ ปัจจัย, ลบ ที่ ริตุ (ริตุ > อิตุ), ลบสระที่สุดธาตุ (ปา > )

: ปา > + ริตุ > อิตุ : + อิตุ = ปิตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้คุ้มครองบุตร

(2) ปิ (ธาตุ = ยินดี, ชอบใจ) + ริตุ ปัจจัย, ลบ ที่ ริตุ (ริตุ > อิตุ), ลบสระที่สุดธาตุ (ปิ > )

: ปิ > + ริตุ > อิตุ : + อิตุ = ปิตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รักบุตร

ปิตุ + สิ วิภัตติ, แปลง อุ กับ สิ เป็น อา = ปิตา หมายถึง พ่อ (father) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “ปิตา” ไว้ด้วย บอกไว้ว่า –

ปิตา : (คำแบบ) (คำนาม) บิดา, พ่อ. (ป.; ส. ปิตฺฤ).”

ปิตา” ใช้ในภาษาไทยเป็น “บิดา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บิดา : (คำนาม) พ่อ (ใช้ในภาษาทางการ), โดยปริยายหมายความว่า ผู้ให้กำเนิด เช่น บิดาแห่งประวัติศาสตร์. (ป. ปิตา; ส. ปิตฤ).”

ในภาษาไทยยังมีใช้อีกรูปหนึ่งเป็น “บิดร” (บิ-ดอน) พจนานุกรมฯ บอกไว้ดังนี้ –

บิดร : (คำแบบ) (คำนาม) พ่อ. (ป. ปิตุ; ส. ปิตฺฤ).”

ข้อสังเกต :

มารดา” (มาตา) พจนานุกรมฯ เก็บรวมไว้กับ “มารดร” เป็น “มารดร, มารดา” 

แต่ “บิดา” (ปิตา) พจนานุกรมฯ ไม่ได้เก็บรวมไว้กับ “บิดร” แต่เก็บแยกเป็น “บิดา” คำหนึ่ง และ “บิดร” อีกคำหนึ่ง

ในที่นี้ “ปิตุ” ไม่ได้แจกวิภัตติเปลี่ยนรูปเป็น “ปิตา” แต่คงรูปเป็น “ปิตุ” 

(๓) “อุปฏฺฐาน

อ่านว่า อุ-ปัด-ถา-นะ รากศัพท์มาจาก อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ฐา (ธาตุ = ตั้งอยู่) + ยุ ปัจจัย, ซ้อน ฏฺ, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) 

: อุป + ฏฺ + ฐา = อุปฏฺฐา + ยุ > อน = อุปฏฺฐาน แปลตามศัพท์ว่า “การเข้าไปยืนอยู่” “ที่เป็นที่เข้าไปยืน” 

อุปฏฺฐาน” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) การสนใจ, การรับใช้, การดูแล, การอุปัฏฐาก, การเอาใจใส่, การปรนนิบัติ (attendance, waiting on, looking after, service, care, ministering) 

(2) การบูชา, การบวงสรวงเทวดา (worship, divine service) 

(3) ห้องเป็นที่บำรุง (a state room) 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุปัฏฐานะ : (คำนาม) การบํารุง, การรับใช้. (ป.).”

การประสมคำ :

มาตา + ปิตา = มาตาปิตา (มา-ตา-ปิ-ตา) แปลว่า “มารดาและบิดา” 

มาตาปิตา + อุปฏฺฐาน = มาตาปิตุอุปฏฺฐาน (มา-ตา-ปิ-ตุ-อุ-ปัด-ถา-นะ) แปลว่า “การบำรุงมารดาและบิดา” 

มาตาปิตุอุปฏฺฐาน” เขียนแบบไทยเป็น “มาตาปิตุอุปัฏฐาน” (มา-ตา-ปิ-ตุ-อุ-ปัด-ถาน)

ขยายความ :

มงคลข้อที่ 11 ในมงคล 38 ตามนัยแห่งมงคลสูตร คำบาลีในพระสูตรว่า “มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ” (มา-ตา-ปิ-ตุ-อุ-ปัด-ถา-นัง) แปลว่า “การบำรุงมารดาและบิดา” หมายถึง การเลี้ยงดูมารดาบิดา คือการที่ลูกเลี้ยงดูพ่อแม่เพราะเห็นว่าพ่อแม่เป็นผู้มีพระคุณแก่ตน

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [353] มงคล 38 บอกไว้ว่า –

11. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ (บำรุงมารดาบิดา — Mātāpituupaṭṭhāna: support of mother and father)

…………..

ในพระไตรปิฎกท่านแสดงวิธีบำรุงมารดาบิดาไว้ดังนี้ –

……………………………….

ปญฺจหิ  โข  คหปติปุตฺต  ฐาเนหิ  ปุตฺเตน  ปุรตฺถิมา  ทิสา  มาตาปิตโร  ปจฺจุปฏฺฐาตพฺพา  ภโต  เนสํ  ภริสฺสามิ  กิจฺจํ  เนสํ  กริสฺสามิ  กุลวํสํ  ฐเปสฺสามิ  ทายชฺชํ  ปฏิปชฺชามิ  อถวา  ปน  เปตานํ  กาลกตานํ  ทกฺขิณํ  อนุปฺปทสฺสามีติ. 

……………………………….

(1) ภโต  เนสํ  ภริสฺสามิ.

ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ

Having been supported by them, I will support them in my turn.

(2) กิจฺจํ  เนสํ  กริสฺสามิ.

ช่วยทำการงานของท่าน

I will do their work for them.

(3) กุลวํสํ  ฐเปสฺสามิ.

ดำรงวงศ์สกุล

I will keep up the honour and the traditions of my family.

(4) ทายชฺชํ  ปฏิปชฺชามิ.

ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท

I will make myself worthy of my heritage.

(5) เปตานํ  กาลกตานํ  ทกฺขิณํ  อนุปฺปทสฺสามิ.

เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

I will make offerings, dedicating merit to them after their death.* (*I will grant donations on their behalf.)

ที่มา: สิงคาลกสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค 

พระไตรปิฎกเล่ม 11 ข้อ 199 

คำแปลและภาษาอังกฤษ: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [265] ทิศ 6

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ลูก-เป็นได้ทุกคน และเป็นกันแล้วทุกคน

: แต่ลูกที่ดี-เป็นได้เพียงบางคน บางคนเป็นแล้ว บางคนยังไม่ได้เป็น

—————–

ตามไปอ่านบาลีวันละคำทั้งหมดได้ที่ลิงก์นี้:

#บาลีวันละคำ (3,291) (ชุดมงคล 38)

16-6-64 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *